เมนู

มีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น. ถามว่า ธรรมบางเหล่า สัมปยุตด้วยธรรม
บางเหล่าไม่มีหรือ. ตอบว่า ใช่ (ไม่มี) เพราะปฏิเสธปัญหานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวอรรถแห่งสัมปโยค ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลายมีการ
เกิดพร้อมกันเป็นต้น อย่างนี้ว่า ธรรมบางเหล่าสหรคต เกิดพร้อม ระคนกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน มีอยู่มิใช่หรือ
เพราะฉะนั้น ธรรมชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบแล้วด้วย
การทำทั่ว โดยชอบ คือ มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเหล่านี้.

ว่าด้วยวิปากติกะที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งวิบาก ต่อไป
ชื่อว่า วิบาก เพราะอรรถว่า เป็นผลของกุศล และอกุศลกรรม
ทั้งหลายซึ่งพิเศษกว่ากันและกัน คำว่า วิบากนี้ เป็นชื่อของอรูปธรรมทั้งหลายของ
ที่ถึงความเป็นวิบาก. บทว่า วิปากธมฺมธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายของ
วิบากรรมทั้งหลาย คือ ธรรมทั้งหลายอันยังวิบากให้เกิดขึ้น เหมือนสัตว์
ทั้งหลายมีความเกิดและความแก่เป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่ความเกิดและความแก่
ท่านเรียกว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา อธิบายว่า ธรรม
ทั้งหลายมีวิบากเป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่วิบาก เพราะความที่ธรรมเหล่านี้
ยังวิบากให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้. บทที่ 3 ท่านกล่าวไว้โดยการปฏิเสธ
สภาวะทั้งสอง.

ว่าด้วยอุปาทินนติกะที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอุปาทินนุปาทานิยธรรมต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทินนะ เพราะกรรมประกอบด้วยตัณหาเป็นต้น
ด้วยสามารถกระทำให้เป็นอารมณ์ ยืดถือเอาแล้ว คือ ถือเอาโดยความเป็นผล.

ที่ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่อุปทานทั้งหลาย โดย
เข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วสัมพันธ์กับอุปาทาน. คำว่า อุปาทานิยะ นี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของอุปาทาน. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทา-
นิยะ
เพระอรรถว่า เป็นอุปาทินนะด้วยเป็นอุปาทานิยะด้วย คำว่า อุปา-
ทินนุปาทานิยะ
นี้ เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้น
ด้วยกรรมที่มีอาสวะ. ใน 2 บทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความอันประโยชน์เกื้อกูล
แก่การปฏิเสธโดยนัยนี้.

ว่าด้วยสังกิลิฏฐติกะที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง.
อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือให้สัตว์เร่าร้อน. ที่ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ เพราะ
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ย่อม
ควรแก่สังกิเลสโดยทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป หรือว่าเข้าไปประกอบใน
สังกิเลส โดยความไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้น. คำว่า สังกิเล-
สิกะ
นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสังกิเลส. ชื่อว่า
สังกิลิฏฐสังกิเลสกะ เพราะอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังกิลิฎฐะด้วยเป็น
สังกิเลสิกะด้วย สอง บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในติกะต้นนั่นแหละ.

ว่าด้วยวิตักกติกะที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งวิตักกะ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกะ เพราะเป็นไปกับด้วยวิตก คือเป็นไปอยู่
ด้วยสู่มารถแห่งสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า สวิจาระ เพราะเป็นไปกับด้วยวิจาระ