เมนู

อรรถว่า ทุกขปัจจัย ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
(การสั่งสมบาป เป็นปัจจัยแห่งทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจยฐาน ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตตุํ
ยาว ทุกฺขา นิรยา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานปัจจัยแห่งทุกข์จนกระทั่ง
ถึงนรกด้วยการบอกเล่านี้ กระทำไม่ได้ง่าย). แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้พึงทราบ
ว่าเป็นทุกขเวทนาเท่านั้น.

ว่าด้วยความหมายของศัพท์



ก็พึงทราบวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ในที่นี้
ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย.
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก.
ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ทุกข์ และไม่ใช่สุข.
อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเชื่อมบท.
ธรรมมีสุขเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้
คือ ย่อมเสวยรสชองอารมณ์. บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนามีความเสวย
อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ ทุกขเวทนา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นลักษณะ อทุกขมสุขเวทนามีการเสวยอารมณ์ผิดแปลกจากเวทนา
ทั้งสอง.

ว่าด้วยสัมปยุตตะ



ก็สัมปยุตศัพท์ ในบทแห่งเวทนา 3 นี้ พึงทราบดังนี้
ชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบด้วยการกระทำต่าง ๆ
โดยชอบ. ถามว่า การกระทำต่าง ๆ อย่างไร ตอบว่า ด้วยการทำทั้งหลาย

มีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น. ถามว่า ธรรมบางเหล่า สัมปยุตด้วยธรรม
บางเหล่าไม่มีหรือ. ตอบว่า ใช่ (ไม่มี) เพราะปฏิเสธปัญหานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวอรรถแห่งสัมปโยค ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลายมีการ
เกิดพร้อมกันเป็นต้น อย่างนี้ว่า ธรรมบางเหล่าสหรคต เกิดพร้อม ระคนกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน มีอยู่มิใช่หรือ
เพราะฉะนั้น ธรรมชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบแล้วด้วย
การทำทั่ว โดยชอบ คือ มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นเหล่านี้.

ว่าด้วยวิปากติกะที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งวิบาก ต่อไป
ชื่อว่า วิบาก เพราะอรรถว่า เป็นผลของกุศล และอกุศลกรรม
ทั้งหลายซึ่งพิเศษกว่ากันและกัน คำว่า วิบากนี้ เป็นชื่อของอรูปธรรมทั้งหลายของ
ที่ถึงความเป็นวิบาก. บทว่า วิปากธมฺมธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายของ
วิบากรรมทั้งหลาย คือ ธรรมทั้งหลายอันยังวิบากให้เกิดขึ้น เหมือนสัตว์
ทั้งหลายมีความเกิดและความแก่เป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่ความเกิดและความแก่
ท่านเรียกว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา อธิบายว่า ธรรม
ทั้งหลายมีวิบากเป็นสภาวะ มีปกติตกไปสู่วิบาก เพราะความที่ธรรมเหล่านี้
ยังวิบากให้เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้. บทที่ 3 ท่านกล่าวไว้โดยการปฏิเสธ
สภาวะทั้งสอง.

ว่าด้วยอุปาทินนติกะที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งอุปาทินนุปาทานิยธรรมต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า อุปาทินนะ เพราะกรรมประกอบด้วยตัณหาเป็นต้น
ด้วยสามารถกระทำให้เป็นอารมณ์ ยืดถือเอาแล้ว คือ ถือเอาโดยความเป็นผล.