เมนู

อรรถว่า ทุกขปัจจัย ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
(การสั่งสมบาป เป็นปัจจัยแห่งทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขปัจจยฐาน ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตตุํ
ยาว ทุกฺขา นิรยา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานปัจจัยแห่งทุกข์จนกระทั่ง
ถึงนรกด้วยการบอกเล่านี้ กระทำไม่ได้ง่าย). แต่ในที่นี้ ทุกขศัพท์นี้พึงทราบ
ว่าเป็นทุกขเวทนาเท่านั้น.

ว่าด้วยความหมายของศัพท์



ก็พึงทราบวจนัตถะ (ความหมายของคำ) ในที่นี้
ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย.
ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก.
ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะอรรถว่า ไม่ใช่ทุกข์ และไม่ใช่สุข.
อักษรท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเชื่อมบท.
ธรรมมีสุขเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า เวทนา เพราะอรรถว่า ย่อมรู้
คือ ย่อมเสวยรสชองอารมณ์. บรรดาเวทนาเหล่านั้น สุขเวทนามีความเสวย
อารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นลักษณะ ทุกขเวทนา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นลักษณะ อทุกขมสุขเวทนามีการเสวยอารมณ์ผิดแปลกจากเวทนา
ทั้งสอง.

ว่าด้วยสัมปยุตตะ



ก็สัมปยุตศัพท์ ในบทแห่งเวทนา 3 นี้ พึงทราบดังนี้
ชื่อว่า สัมปยุตตะ เพราะอรรถว่า ประกอบด้วยการกระทำต่าง ๆ
โดยชอบ. ถามว่า การกระทำต่าง ๆ อย่างไร ตอบว่า ด้วยการทำทั้งหลาย