เมนู

นี้นั้น เป็นชื่อเหตุแห่งความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขปัจจยฐาน ดังในประโยค
มีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว สุขา
สคฺคา น เต สุขํ ปชานนฺติ เย น ปสฺสนฺติ นนฺทนํ
(ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ด้วยการบอกเล่านี้ มิใช่
ทำได้โดยง่าย และคำว่า เทวดาเหล่าใด ไม่เห็นนันทนวัน . .. เทวดาเหล่านั้น
ย่อมไม่รู้ฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข) ใช้ในอรรถว่า อัพยาปัชฌะ ดัง
ประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา (ธรรมเหล่านี้ เป็น
เครื่องอยู่ ไม่เบียดเบียนในปัจจุบัน) ใช้ในอรรถว่า นิพพาน ดังในประโยคว่า
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (พระนิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง) แต่ในที่นี้ สุขศัพท์นี้
ใช้ในสุขเวทนาเท่านั้น. เวทนาศัพท์ใช้ในอรรถว่า เสวยอารมณ์เท่านั้น ดัง
ประโยคมีอาทิว่า วิทิตา เม เวทนา อุปฺปชฺชนติ (เวทนาของเราตถาคต
กำลังปรากฏเกิดขึ้น) ย่อมสมควร.

ว่าด้วยทุกขเวทนา



ทุกขศัพท์ ท่านใช้ในอรรถหลายอย่าง มีคำว่า ทุกขเวทนา ทุกขวัตถุ
ทุกขารัมมณา ทุกขปัจจยฐานะ
เป็นต้น.
จริงอยู่ ทุกขศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ดังในประโยค
มีอาทิว่า ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละทุกขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า
ทุกขวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นที่ตั้ง
ของทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข
มหาลิ รูปํ ทุกขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาโวกฺกนฺตํ
(ดูก่อนมหาลิ
ก็เพราะเหตุรูปอารมณ์เป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์) ใช้ใน