เมนู

จริงอยู่ ธรรมเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี ศัพท์
เหล่านั้นทั้งหมด เมื่อกล่าวแยกกัน บัณฑิตทั้งหลายในโลก ก็รับรองเพียง
ส่องความหมายของตน ๆ เมื่อกล่าวรวมกัน ก็ยอมรับเนื้อความที่เสมอกับของตน
และความที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกำหนดถึงเนื้อความที่เป็นอัน
เดียวกันและต่างกันในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ และกระทำให้เป็นข้อที่ควร
ตำหนิ คำทั้งหมดนั้น จึงไม่ใช่เหตุสำคัญด้วยประการฉะนี้. การพรรณนาตาม
บทกุสลติกะเพียงเท่านี้ก่อน. แม้ติกะและทุกะที่เหลือ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.

ว่าด้วยสุขเวทนาติกะที่ 2



ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงข้อที่แตกต่างกันเท่านั้น.
เบื้องต้นนี้ สุขศัพท์ ในคำว่า สุขาย เวทนา เป็นต้น ท่านใช้ในความหมาย
หลายอย่างมีคำว่า สุขเวทนา สุขมูล สุขารมณ์ สุขเหตุ สุขปัจจยฐาน
อัพยาปัชฌะ
และนิพพาน เป็นต้น.
จริงอยู่ สุขศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า สุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า
สุขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า สุขมูล ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก
(ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นมูลแห่งความสุข การปราศจาก
ความกำหนัดเป็นมูลแห่งความสุขในโลก) ใช้ในอรรถว่า สุขารมณ์ ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ สุขํ สุขานุปติตํ สุขา-
โวกฺกนฺตํ
(ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปมีอารมณ์เป็นสุข มีสุขตามสนอง
หยั่งลงสู่ความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขเหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺเสตํ
ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญทั้งหลาย

นี้นั้น เป็นชื่อเหตุแห่งความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขปัจจยฐาน ดังในประโยค
มีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว สุขา
สคฺคา น เต สุขํ ปชานนฺติ เย น ปสฺสนฺติ นนฺทนํ
(ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การถึงฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข ด้วยการบอกเล่านี้ มิใช่
ทำได้โดยง่าย และคำว่า เทวดาเหล่าใด ไม่เห็นนันทนวัน . .. เทวดาเหล่านั้น
ย่อมไม่รู้ฐานะอันเป็นปัจจัยของความสุข) ใช้ในอรรถว่า อัพยาปัชฌะ ดัง
ประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา (ธรรมเหล่านี้ เป็น
เครื่องอยู่ ไม่เบียดเบียนในปัจจุบัน) ใช้ในอรรถว่า นิพพาน ดังในประโยคว่า
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (พระนิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง) แต่ในที่นี้ สุขศัพท์นี้
ใช้ในสุขเวทนาเท่านั้น. เวทนาศัพท์ใช้ในอรรถว่า เสวยอารมณ์เท่านั้น ดัง
ประโยคมีอาทิว่า วิทิตา เม เวทนา อุปฺปชฺชนติ (เวทนาของเราตถาคต
กำลังปรากฏเกิดขึ้น) ย่อมสมควร.

ว่าด้วยทุกขเวทนา



ทุกขศัพท์ ท่านใช้ในอรรถหลายอย่าง มีคำว่า ทุกขเวทนา ทุกขวัตถุ
ทุกขารัมมณา ทุกขปัจจยฐานะ
เป็นต้น.
จริงอยู่ ทุกขศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทุกขเวทนา ดังในประโยค
มีอาทิว่า ทุกฺขสฺส จ ปหานา (เพราะละทุกขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า
ทุกขวัตถุ ดังในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นที่ตั้ง
ของทุกข์) ใช้ในอรรถว่า ทุกขารมณ์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข
มหาลิ รูปํ ทุกขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาโวกฺกนฺตํ
(ดูก่อนมหาลิ
ก็เพราะเหตุรูปอารมณ์เป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม หยั่งลงสู่ความทุกข์) ใช้ใน