เมนู

เป็นต้น ชื่อว่า ปิฏิฐทุกะ เพราะท่านดังไว้ในที่สุดแห่งอภิธรรมมาติกา. ส่วน
ทุกะ 42 มีคำว่า วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา เป็นต้น
ชื่อว่า สุตตันตทุกะ ติกะและทุกะเหล่านี้ แม้ทั้งหมด พึงทราบว่าท่านกำหนด
ไว้ 15 ปริจเฉท ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยสัปปเทสะ และนิปปเทสะ



ก็ติกะและทุกะเหล่านี้ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้แล้วยังแยกออกเป็น 2
โกฏฐาส คือ สัปปเทสะ (แสดงไว้ไม่หมด) และนิปปเทสะ (แสดงโดย
สิ้นเชิง) เท่านั้น. จริงอยู่ บรรดาส่วนทั้ง 2 นั้น ติกะ 9 และทุกะ 71 ชื่อว่า
สัปปเทสะ เพราะท่านกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรมไว้ยังไม่หมด. ติกะ 13
ที่เหลือ และทุกะ 71 ชื่อว่า นิปปเทสะ. บรรดาธรรมทั้ง 2 นั้น ติกะ 9
เหล่านั้น คือ เวทนาติกะ วิตักกติกะ ปีติติกะ อุปปันติกะ อตีตติกะ
และอารัมมณาติกะ ชื่อว่า สัปปเทสะ. ในทุกะทั้งหลาย ในที่สุดแห่ง
โคจฉกะ 9 มีเหตุโคจฉกะเป็นต้น มีอุปาทานโคจฉกะเป็นที่สุด มีโคจฉกะละ
3 ทุกะ ในที่สุดแห่งกิเลสทุกะ มีโคจฉกะละ 4 ทุกะ มหันตรทุกะอย่างละ 2
คือ จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตสํสฏฺฐา
ธมฺมา จิตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา
และในสุตตันตทุกะทั้งหลายเว้นทุกะ 4 เหล่านี้
คือ อธิวจนทุกะ นิรุตติทุกะ ปัญญัตติทุกะ นามรูปทุกะ ก็ทุกะ 38 ที่เหลือ
เหล่านั้น ชื่อว่า สัปปเทสะ บัณฑิตพึงทราบติกะและทุกะที่เหลือตามที่กล่าว
แล้วแม้ทั้งหมดว่าเป็น นิปปเทสะ ดังนี้.

อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ 1

*

บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา
เป็นต้นนี้. กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ
ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก
. จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า
ความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ กจฺจิ โภโต
อนามยํ
(ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่
ท่านผู้เจริญบ้างหรือ). ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิ
ว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช
กายสมาจาโร อนวชฺโช...
(ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศล
เป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
ในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ). ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมี
อาทิว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ กุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตา
จตุริตฺถิโย
(ท่านเป็นผู้ฉลาดในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง 4 คน
ศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง). ใช้ในอรรถว่า สุขวิบาก
* ได้แก่กุศลจิต 21 เจตสิก 38 แจกเป็นขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 สัจจะ 2 คือ เจตสิก
38 นั้น เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ 36 เป็นสังขารขันธ์
กุศลจิต 21 เป็นวิญญาณขันธ์. ได้อายตนะ 2 คือ กุศลจิต 21 เป็นมนายตนะ เจตสิก 38
เป็นธัมมายตนะ ได้ธาตุ 2 คือ กุศลจิต 21 เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก 38 เป็นธรรมธาตุ
ได้สัจจะ 2 คือ โสกิยกุศลจิต 17 เจตสิก 38 เป็นทุกขสัจจะ องค์มรรค 8 ในปฐมฌานมรรค
หรือองค์มรรค 7 ในทุติยฌานมรรคขึ้นไปเป็นมัคคสัจจะ ส่วนธรรมที่เหลือในกุศลบทนี้ 29
เป็นสัจจวิมุตติ (พ้นจากสัจจะ 4) คือ โลกุตรจิต 4 ตามลักษณะจิตนับเป็น 1 เจตสิกที่
เหลือจากองค์มรรค 8 อีก 24 รวมมัคคจิตตุปบาท 29.