เมนู

อรรถกถามาติกานุบุพบท

*

บัดนี้ ถึงโอกาสการกล่าวอภิธรรมกถาตามที่ข้าพเจ้าให้ปฏิญญาไว้
อย่างนี้ว่า
เมื่อข้าพเจ้ากล่าวอภิธรรมกถานี้อยู่
ด้วยอาการอย่างนี้ ขอสาธุชนทั้งหลายอย่า
ฟุ้งซ่าน จงตั้งใจสดับฟัง เพราะกถาเช่นนี้
หาฟังได้ยากนัก
.
ในอภิธรรมกถานั้น ปกรณ์ 7 มีอภิธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า
อภิธรรม แม้ในธรรมสังคณีก็จำแนกเป็น 4 กัณฑ์ มีจิตตุปปาทกัณฑ์เป็นต้น
ถึงจิตตุปปาทกัณฑ์นั้นมีมาติกาเป็นเบื้องต้น ถึงมาติกานั้นก็ยังแบ่งเป็น 2 คือ
ติกมาติกา และทุกมาติกา. ในมาติกาทั้ง 2 อย่างนั้น ติกมาติกาเป็นเบื้องต้น
แม้ในติกมาติกาก็มีกุศลติกะเป็นเบื้องต้น ถึงในกุศลติกะก็มีบทนี้ว่า กุสลา
ธมฺมา
เป็นเบื้องต้น เพราะฉะนั้น
ตั้งแต่แต่นี้ไป ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
จงมีจิตสงบ ตั้งใจสดับฟังอภิธรรมกถาอัน
ลึกซึ้งนี้ ซึ่งข้าพเจ้าจะกล่าวอยู่ให้ดีเถิด
.
* เริ่มอธิบายติกมาติกา 22 ติกะ.

ติกะที่ได้ชื่อเพราะบทเบื้องต้น ว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา
อพฺยากตา ธมฺมา
นี้ ชื่อว่า กุศลติกะก่อน ติกะที่ได้ชื่อเพราะบททั้งปวงว่า
สุขาย เวทนา สมฺปยุตฺตา ธมฺมา ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา
ธมฺมา อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา
นี้ ชื่อว่า เวทนาติกะ
บัณฑิตพึงทราบชื่อติกะและทุกะ แม้มาติกาทั้งปวงด้วยสามารถแห่งบทเบื้องต้น
หรือบททั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
ติกะและทุกะเหล่านั้นแม้ทั้งหมดท่านแยกไว้ 15 ปริจเฉท คือ ติกะ
มี 1 ปริจเฉท ทุกะมี 14 ปริจเฉท. ทุกะ 6 มีคำว่า เหตู ธมฺมา น เหตู
ธมฺมา
เป็นต้น เรียกว่า เหตุโคจฉกะ เพราะท่านตั้งไว้เหมือนพวงดอก-
กรรณิการ์โดยการเกี่ยวเนื่องกันและกันทั้งโดยคัมภีร์ และโดยอรรถกถา ต่อจาก
นั้นไป ทุกะ 7 ทุกะ มีคำอาทิว่า สปฺปจฺจยา ธมฺมา อปฺปจฺจยา ธมฺมา
ดังนี้เป็นทุกะไม่เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน พึงทราบว่า เป็นจูฬันตรทุกะ เพราะ
ท่านเลือกทุกะที่เหมือนกันล้วนตั้งไว้ตามลำดับของโคจฉกะ และเพราะเป็นทุกะ
ที่น้อยกว่าในระหว่างทุกะเหล่าอื่น. ต่อจากนั้น พึงทราบว่าเป็นอาสวโคจฉกะ
ด้วยสามารถแห่งทุกะ 6 มีอาสวทุกะเป็นต้น. พึงทราบสัญโญชนโคจฉกะด้วย
สามารถแห่งทุกะ 6 มีสัญโญชนทุกะเป็นต้น.อนึ่ง พึงทราบคัณฐโคจฉกะ
โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ และนีวรณโคจฉกะ ด้วยสามารถแห่งทุกะ 6 มี
คัณฐะ โอฆะ โยคะ และนีวรณทุกะเป็นต้น. พึงทราบปรามาสโคจฉกะ ด้วย
สามารถแห่งทุกะ 5 มีปรามาสทุกะเป็นต้น. ต่อจากนั้น ทุกะ 14 มีคำเป็นต้น
ว่า สารมฺมณา ธมฺมา ชื่อว่า มหันตรทุกะ จากนั้นทุกะ 8 มีกิเลสทุกะ
เป็นต้น ชื่อว่า กิเลสทุกะ. ต่อจากนั้น ทุกะ 18 มี ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา

เป็นต้น ชื่อว่า ปิฏิฐทุกะ เพราะท่านดังไว้ในที่สุดแห่งอภิธรรมมาติกา. ส่วน
ทุกะ 42 มีคำว่า วิชฺชาภาคิโน ธมฺมา อวิชฺชาภาคิโน ธมฺมา เป็นต้น
ชื่อว่า สุตตันตทุกะ ติกะและทุกะเหล่านี้ แม้ทั้งหมด พึงทราบว่าท่านกำหนด
ไว้ 15 ปริจเฉท ดังพรรณนามาฉะนี้.

ว่าด้วยสัปปเทสะ และนิปปเทสะ



ก็ติกะและทุกะเหล่านี้ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้แล้วยังแยกออกเป็น 2
โกฏฐาส คือ สัปปเทสะ (แสดงไว้ไม่หมด) และนิปปเทสะ (แสดงโดย
สิ้นเชิง) เท่านั้น. จริงอยู่ บรรดาส่วนทั้ง 2 นั้น ติกะ 9 และทุกะ 71 ชื่อว่า
สัปปเทสะ เพราะท่านกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรมไว้ยังไม่หมด. ติกะ 13
ที่เหลือ และทุกะ 71 ชื่อว่า นิปปเทสะ. บรรดาธรรมทั้ง 2 นั้น ติกะ 9
เหล่านั้น คือ เวทนาติกะ วิตักกติกะ ปีติติกะ อุปปันติกะ อตีตติกะ
และอารัมมณาติกะ ชื่อว่า สัปปเทสะ. ในทุกะทั้งหลาย ในที่สุดแห่ง
โคจฉกะ 9 มีเหตุโคจฉกะเป็นต้น มีอุปาทานโคจฉกะเป็นที่สุด มีโคจฉกะละ
3 ทุกะ ในที่สุดแห่งกิเลสทุกะ มีโคจฉกะละ 4 ทุกะ มหันตรทุกะอย่างละ 2
คือ จิตฺตสมฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตวิปฺปยุตฺตา ธมฺมา จิตฺตสํสฏฺฐา
ธมฺมา จิตฺตวิสํสฏฺฐา ธมฺมา
และในสุตตันตทุกะทั้งหลายเว้นทุกะ 4 เหล่านี้
คือ อธิวจนทุกะ นิรุตติทุกะ ปัญญัตติทุกะ นามรูปทุกะ ก็ทุกะ 38 ที่เหลือ
เหล่านั้น ชื่อว่า สัปปเทสะ บัณฑิตพึงทราบติกะและทุกะที่เหลือตามที่กล่าว
แล้วแม้ทั้งหมดว่าเป็น นิปปเทสะ ดังนี้.