เมนู

ว่าด้วยปัญญาบารมีที่เป็นปรมัตถ์



อนึ่ง ชื่อว่า ปริมาณอัตภาพที่บำเพ็ญปัญญาบารมีที่มีคุณนับไม่ได้
คือ ในกาลที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต ในกาลที่เสวยพระชาติเป็น
บัณฑิตนามว่ามหาโควินท์ ในกาลเสวยพระชาติเป็นกุททาลบัณฑิต ในกาล
เสวยพระชาติเป็นอรกบัณฑิต ในกาลเสวยพระชาติเป็นโพธิปริพาชก ในกาล
เสวยพระชาติเป็นมโหสธบัณฑิต.
ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต ในสัตตุภัสตุชาดก
แสดงอยู่ซึ่งงูพิษในถุง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
เราใช้ปัญญาพิจารณาอยู่ จึงช่วย
พราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ ปัญญาของเราไม่มี
ใครเสมอ นั่นเป็นปัญญาบารมีโดยของเรา
ดังนี้
ชื่อว่า การบำเพ็ญปัญญาเป็นปรมัตถบารมีโดยส่วนเดียว.

ว่าด้วยวิริยบารมีเป็นต้นที่เป็นปรมัตถ์



อนึ่ง ชื่อปริมาณอัตภาพที่บำเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น เป็นคุณนับไม่
ได้ก็เหมือนกัน. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหาชนกผู้ข้ามมหาสมุทร
ที่กล่าวไว้ในมหาชนกชาดก อย่างนี้ว่า
มนุษย์ทั้งหลายมองไม่เห็นฝั่ง พากัน
ตายไปในท่ามกลางมหาสมุทร จิตของเรา
มิได้เปลี่ยนเป็นอื่น นั่นเป็นวิริยบารมีของ
เรา
ดังนี้
ชื่อว่า การบำเพ็ญวิริยะเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส ทรงอดกลั้นอยู่ซึ่ง
ทุกข์ใหญ่ ดุจไม่มีจิตใจ ที่กล่าวไว้ในขันติวาทิชาดก อย่างนี้ว่า
เมื่อพระเจ้ากาสิราช ใช้ขวานอัน
คมฟันเราผู้คล้ายกับไม่มีจิต เราก็ไม่โกรธ
นั่นเป็นขันติบารมีของเรา
ดังนี้
ชื่อว่า ความบำเพ็ญขันติเป็นปรมัตถบารมี โดยส่วนเดียว.
เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตตโสม ได้สละชีวิต
รักษาความสัตย์ที่กล่าวไว้ในมหาสุตตโสมชาดก อย่างนี้ว่า
เราสละชีวิตของเราตามรักษาอยู่ซึ่ง
วาจาสัตย์ ให้ปล่อยกษัตริย์ 101 พระองค์
นั่นเป็นสัจจบารมีของเรา
ดังนี้
ชื่อว่า บำเพ็ญสัจจบารมีเป็นปรมัตถบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ ทรงสละแม้ชีวิตอธิษ-
ฐานวัตร กล่าวไว้ในมูคปักขชาดก (ชาดกว่าด้วยบุคคลผู้เป็นใบ้และพิการ)
อย่างนี้ว่า
พระมารดาพระบิดามิใช่เป็นผู้น่า
เกลียดชังของเรา อิสริยะใหญ่ก็มิได้เป็นที่
เกลียดชังของเรา แต่พระสัพพัญญุตญาณ
เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้น การอธิษฐาน
จึงเป็นวัตรของเรา
ดังนี้
ชื่อว่า อธิษฐานบารมีเป็นปรมัตถบารมี.

เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราชผู้มีได้เห็นแม้แก่ชีวิต
ของพระองค์ ทรงเจริญเมตตา ที่กล่าวไว้ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า
ใคร ๆ ย่อมไม่ดุร้ายกับเรา แม้เราก็
ไม่กลัวใคร ๆ ในกาลนั้นเราได้กำลังเมตตา
อุปถัมภ์แล้ว ย่อมยินดีในป่าใหญ่
ดังนี้
ชื่อว่า ได้บำเพ็ญเมตตาบารมีเป็นปรมัตถบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนักบวช ชื่อว่า โลมหังสะ ไม่ละ
ความเป็นอุเบกขาในพวกเด็กชาวบ้านผู้ยังความทุกข์แสะความสุขให้เกิดขึ้น
ด้วยการถ่มน้ำลายรดเป็นต้น และด้วยการนำดอกไม้ของหอมมาให้เป็นต้น
ตามที่กล่าวไว้ในโลมหังสชาดก อย่างนี้ว่า
เรานอนในป่าช้า มีกระดูกศพเป็น
หมอนหนุน พวกเด็กชาวบ้านเข้าไปแสดง
รูปไม่น้อย
ดังนี้
ชื่อว่า อุเบกขาบารมีเป็นปรมัตถบารมี. ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนเนื้อความ
พิสดารพึงถือในจริยาปิฎก.
พระโพธิสัตว์ ครั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ใน
อัตภาพของพระเวสสันดร ได้สร้างบุญเป็นอันมากอันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่
ไหว ตามที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
แผ่นดินนี้ ไม่มีจิต ไม่ทราบถึง
ความสุขและทุกข์ แม้กระนั้นก็ยังไหวถึง
7 ครั้ง เพราะกำลังทานของเรา.

เมื่อสิ้นพระชนมายุแล้ว ก็ทรงจุติจากโลกนี้ บังเกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นดุสิต
พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทวดาอื่นในดุสิตนั้น ด้วยฐานะ 10 ประการ ทรงเสวย
ทิพยสมบัติตลอดพระชนมายุ 57 โกฏิ 6 ล้านปี โดยการนับปีของมนุษย์ บัดนี้
อีก 7 วัน จักถึงการสิ้นอายุขัย เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดบุพนิมิต 5 เหล่านี้ คือ
1. ผ้าทั้งหลายเศร้าหมอง
2. ทิพยมาลาเหี่ยวแห้ง
3. พระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะ
4. พระฉวีวรรณะในสรีระปราศจากไป
5. ทรงเบื่อหน่ายทิพยอาสน์
เหล่าเทวดาเห็นนิมิตเหล่านั้น ก็พากันสลดใจกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลายเอ๋ย สวรรค์จักว่างเปล่าหนอ ดังนี้ ครั้นทราบว่าพระมหาสัตว์บำเพ็ญ-
บารมีเต็มแล้ว จึงคิดว่า บัดนี้ พระโพธิสัตว์นี้จะไม่ทรงอุบัติขึ้นเทวโลกอื่นๆ
จึงทรงอุบัติในมนุษยโลกแล้วบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า พวกมนุษย์จักพากัน
ทำบุญเป็นอันมาก จุติแล้ว ๆ ก็จักยังเทวโลกให้บริบูรณ์ ดังนี้ จึงพากัน
กราบทูลเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นพระพุทธเจ้าดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า
ในกาลที่เราตถาคตเป็นเทพบุตร
นามว่า สันดุสิต อยู่ในพวกเทพชั้นดุสิต
เหล่าเทวดามีประมาณหนึ่งหมื่นพากันมา
ประนมอัญชลีวิงวอนเราว่า ข้าแต่พระมหา-
วีรเทพ กาลนี้ เป็นเวลาสมควรแล้ว ที่
พระองค์จักทรงอุบัติในครรภ์พระมารดา
ตรัสรู้อมตบท โปรดชาวโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก
ดังนี้.

พระองค์จึงทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ 5 เหล่านี้ คือ กาล ทวีป ประเทศ
ตระกูล และกำหนดอายุพระพุทธมารดา ตกลงพระทัยแล้ว จึงเสด็จจุติจากดุสิต
มาถือปฏิสนธิในศากยสกุล ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยสมบัติมากมายในศากย-
สกุลนั้น ทรงถึงความเป็นหนุ่มสง่างามตามลำดับ ในระหว่างนี้พึงทราบความ
พิสดารบทแห่งพระสูตรทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติ
สัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิตแล้วก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา และพึง
ทราบด้วยสามารถแห่งอรรถกถาของบทพระสูตรเหล่านั้นเถิด.
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเสวยสิริราชสมบัติเช่นกับเทวโลกในปราสาททั้ง
3 อันสมควรแก่ฤดูทั้ง 3 ในสมัยที่เสด็จไปทรงเล่นกีฬาในพระอุทยานได้
ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 3 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ตามลำดับ ทรง
สลดพระทัยก็เสด็จกลับจากพระอุทยาน ได้ทรงเห็นบรรพชิตในครั้งที่ 4 ได้ยัง
พอพระทัยในการบรรพชาให้เกิดขึ้นแล้วเสด็จไปพระอุทยาน ยังกาลเวลาล่วงไป
ในพระอุทยานนั้น ทรงประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณีมงคล เป็นผู้อันวิสสุกรรม-
เทพบุตรแปลงเพศเป็นช่างกัลบกมาประดับตกแต่งพระองค์ ทรงสดับข่าวว่า
ราหุลกุมารประสูติแล้ว ทรงทราบถึงความสิเนหาในบุตรมีความรุนแรง จึง
ทรงพระดำริว่า เราจักตัดมันเสียก่อนที่เครื่องผูกนี้จักเจริญ ดังนี้ จึงเสด็จเข้า
ไปสู่พระนครในเวลาเย็น ได้ทรงสดับพระคาถาอันพระธิดาของพระเจ้าอา
พระนามว่า กิสาโคตมี ภาษิตว่า
นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา
นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปติ

บุรุษเช่นนี้เป็นบุตรของมารดาใด
มารดานั้นเป็นผู้ดับได้แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้

เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นเป็นผู้ดับได้
แล้วแน่ บุรุษเช่นนี้เป็นสามีของภรรยาใด
ภรรยานั้น เป็นผู้ดับได้แล้วแน่
ดังนี้
ทรงพระดำริว่า พระนางนี้ให้เราได้ฟังนิพพุตบท จึงเปลื้องสร้อยมุกดาหาร
มีค่าประมาณหนึ่งแสนจากพระศอส่งประทานแก่พระนางกิสาโคตมีนั้น แล้ว
เสด็จเข้าไปสู่ที่ประทับของพระองค์ ทรงประทับนั่งบนพระแท่นสิริไสยาสน์
ทรงทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกของหญิงนักฟ้อนทั้งหลายเพราะอำนาจ
แห่งความหลับ มีพระทัยเบื่อหน่าย ปลุกนายฉันนะให้ตื่นขึ้นแล้ว ตรัสสั่งให้
นำม้ากัณฐกะมา ทรงเสด็จขึ้นประทับม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเป็นสหายมี
เหล่าเทพเจ้าหมื่นโลกธาตุแวดล้อมเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ โดยราตรีที่ยัง
เหลือนั้นนั่นแหละ ทรงเสด็จผ่านมหาอาณาจักรไป 3 แว่นแคว้น ทรงผนวช
ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา แล้วเสด็จไปตามลำดับถึงกรุงราชคฤห์ เสด็จเที่ยวไป
เพื่อบิณฑะในกรุงราชคฤห์นั้น ประทับนั่งที่เงื้อมปัณฑวบรรพต ผู้อันพระราชา
มคธทูลเชิญให้ครองราชสมบัติ ทรงปฏิเสธราชสมบัตินั้น ทรงเป็นผู้มีปฏิญญา
อันพระเจ้ามคธนั้นถือเอาแล้ว เพื่อให้พระองค์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
เสด็จมายังแว่นแคว้นของพระองค์ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสและอุททก
ดาบส ยังไม่ทรงพอพระทัยด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุในสำนักของดาบสเหล่านั้น
จึงทรงตั้งมหาปธาน (ความเพียรใหญ่) ถึง 6 พรรษา ครั้นถึงวันเพ็ญเดือนหก
เวลาเช้าทรงเสวยข้าวปายาสที่นางสุชาดาชาวเสนานิคมถวาย แล้วเสด็จไปลอย
ถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปสิ้นส่วนแห่งวันด้วยสมาบัติ
ต่าง ๆ ณ ชัฏแห่งมหาวันใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในเวลาเย็นทรงรับหญ้า
กำมือหนึ่งที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย เป็นผู้มีคุณอันกาฬนาคราชสรรเสริญแล้ว

ทรงก้าวขึ้นสู่มณฑลแห่งต้นโพธิ์ ทรงลาดหญ้าทั้งหลายแล้วทรงทำปฏิญญาว่า
เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเราจักพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ
ความไม่ถือมั่น แล้วประทับนั่งโพธิบัลลังก์ มีพระพักตร์มุ่งคือทิศปาจีน เมื่อ
พระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตนั่นแหละ ก็ทรงกำจัดมารและเสนามารแล้ว ใน
ปฐมยามทรงบรรลุบุพเพนิวาสญาณ ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ
ในที่สุดแห่งปัจฉิมยาม ทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณอันประดับด้วยคุณของ
พระพุทธเจ้าทั้งปวงมีทศพลญาณและเวสารัชชญาณเป็นต้นนั้นแหละ ชื่อว่า
ทรงบรรลุสมุทร คือ นัยแห่งพระอภิธรรมนี้ พึงทราบอธิคมนิทานของ
พระอภิธรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอธิคมนิทาน

ว่าด้วยเทศนานิทาน



พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพระอภิธรรมด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรง
ประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียวล่วงไป 1 สัปดาห์ ทรงเพ่งต้นโพธิ์ไม่กระพริบ
พระเนตรล่วงไป 1 สัปดาห์ ทรงเดินจงกรมล่วงไป 1 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 4
ทรงพิจารณาพระอภิธรรมที่ทรงบรรลุ ด้วยการตรัสรู้พระสยัมภูญาณ แล้วทรง
ให้สัปดาห์ทั้ง 3 แม้อื่นอีกล่วงไปที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ควงไม้มุจจลินท์
และที่ควงไม้ราชายตนะ ในสัปดาห์ที่ 8 ทรงกลับไปประทับนั่งที่ควงไม้อช-
ปาลนิโครธ ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย เพราะทรงพิจารณาถึงธรรม
เป็นสภาวะลึกซึ้ง เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันสหัมบดีพรหม ซึ่งมีมหาพรหม
หนึ่งหมื่นเป็นบริวารมาทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
ทรงรับการเชื้อเชิญของมหาพรหมแล้วทรงตรวจดูว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใคร
ก่อนหนอ ทรงทราบว่าอาฬารดาบสและอุททกดาบสทำกาละแล้ว จึงทรงระลึก