เมนู

นิทานกถา


เพราะการพรรณนาอรรถนี้ ท่านกล่าวแสดงนิทาน 3 เหล่านี้ คือ
ทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไกล อวิทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไม่ไกล สันติเก
นิทาน นิทานมีในที่ใกล้ เป็นอันผู้ฟังทั้งหลายย่อมรู้แจ้งด้วยดีตั้งแต่เริ่มเรื่อง
ฉะนั้น พึงทราบการจำแนกนิทานเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.
กถามรรคตั้งแต่พระมหาโพธิสัตว์ทรงสะสมบารมี ในศาสนาของ
พระทุศพลพระนามว่าทีปังกรจนกระทั่งทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ชื่อว่า
ทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้วตั้งแต่สวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมณฑล ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน. กถามรรคที่เป็นไปแล้ว
ตั้งแต่มหาโพธิมณฑลจนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชื่อว่า สันติเกนิทาน.
ในนิทาน 3 อย่างนี้ เพราะทูเรนิทานและอวิทูเรนิทาน เป็นสรรพสาธารณะ
ฉะนั้น นิทานเหล่านั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัยกล่าวไว้พิสดารแล้วใน
อรรถกถาชาดก นั่นแล. แต่ในสันติเกนิทานมีความต่างออกไป ดังนั้น
พึงทราบกถาโดยสังเขปแห่งนิทานแม้ 3 อย่าง ตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้.
ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกร พระพุทธเจ้าผู้
เป็นที่พึ่งของโลก เป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ สมควรแก่
อภินิหารของพระองค์ ทรงยังบารมีที่สะสมมาเพื่อพระสัพพัญญุตญาณให้ถึง
ที่สุด เสด็จอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลาเพื่อให้เกิดความเป็นพระพุทธะ
ทรงดำรงอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนั้นตราบเท่าถึงอายุขัย จุติจากนั้นแล้วทรง

ถือปฏิสนธิในตระกูลศากยราช ทรงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ทรงเจริญ
ด้วยสิริโสภาคอันยิ่งใหญ่ ถึงความเป็นหนุ่มโดยลำดับ เมื่อพระชนม์ 29
พรรษา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงเริ่มทำความเพียรใหญ่อยู่ถึง 6 ปี
ประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิในวันวิสาขบูรณมี เมื่อดวงอาทิตย์ตกทรงกำจัด
มารและพลมาร ในปฐมยามทรงได้บุพเพนิวาสญาณ ( ระลึกชาติได้) ใน
มัชฌิมยาม ทรงได้ทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ทรงยังกิเลสพันห้าร้อยให้สิ้น
ไป ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.
แต่นั้นทรงประทับอยู่ ณ แถว ๆ นั้นล่วงไป 7 สัปดาห์ แล้วเสด็จไป
ยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันกรุงพาราณสี ในวันอาสาฬหบูรณมี ( ขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 8 ) ยังพรหม 18 โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุขให้ดื่ม
อมตธรรม ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ยังเวไนยสัตว์มีพระยสะเป็นต้น
ให้ตั้งอยู่ในอรหัตผล แล้วทรงมอบให้พระอรหันต์ 60 รูป ทั้งหมดเหล่านั้น
ไปเพื่ออนุเคราะห์สัตวโลก พระองค์เองเมื่อจะเสด็จไปยังอุรุเวลา ยังพระ-
ภัททวัคคีย์ 30 รูป ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นต้น ณ ไร่ฝ้าย ครั้น
เสด็จถึงอุรุเวลาแล้วได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ 3,500 ครั้ง ทรงแนะนำชฏิล
สามพี่น้องมีอุรุเวลกัสสปเป็นต้นกับชฏิลบริวารอีกหนึ่งพัน อันชฎิลเหล่านั้น
แวดล้อมแล้วประทับนั่ง ณ สวนลัฏฐิวัน ใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงยังพราหมณ์
และคฤหบดีแสนสองหมื่น มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ให้หยั่งลงใน
พระศาสนาประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหารอันพระราชามคธทรงสร้างถวาย.

ครั้นต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร
เมื่อทรงตั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวก
เมื่อเกิดสาวกสันนิบาต พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า มีข่าวว่าพระ-
โอรสของเราบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง 6 ปี แล้วได้บรรลุพระปรมาภิเษกพสัมโพธิ-
ญาณ ทรงยังธรรมจักรอันบวรให้เป็นไป ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่
ดังนี้ จึงทรงส่งอำมาตย์ 10 คนมีบุรุษหนึ่งหมื่นเป็นบริวารรับสั่งว่า พวกเจ้า
จงนำโอรสของเรามา ณ ที่นี้. เมื่ออำมาตย์เหล่านั้นไปกรุงราชคฤห์แล้ว ได้
ตั้งอยู่ในพระอรหัต เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดา พระกาฬุทายี-
เถระกราบทูลความประสงค์ของพระราชบิดาให้ทรงทราบ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่นเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ถึง
กรุงกบิลพัสดุประมาณ 60 โยชน์ เวลาสองเดือน. บรรดาเจ้าศากยะทั้งหลาย
ทรงประชุมกันด้วยหวังพระทัยว่า จักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา
จึงรับสั่งให้สร้างนิโครธารามเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเป็น
ที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ทรงกระทำการ
ต้อนรับทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม.
ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น
ประทับเหนือพุทธาสนะอันประเสริฐที่เจ้าศากยะปูถวาย. เจ้าศากยะทั้งหลาย
ทรงมานะจัดมิได้ทรงทำความเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยา-
ศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วทรงเข้าจตุตถฌานมีภิญญาเป็นบาทเพื่อทำ-

ลายมานะ แล้วทำเจ้าศากยะเหล่านั้นให้เป็นภาชนะรองรับ พระธรรมเทศนา
ทรงออกจากสมาบัติเหาะไปสู่อากาศ ดุจเรี่ยรายฝุ่นพระบาทลงบนพระเศียร
ของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์เช่นกับปาฏิหาริย์ที่พระ
องค์การทำ ณ โคนต้นคัณฑมัพพฤกษ์. พระราชาทอดพระเนตรเห็นความ
อัศจรรย์นั้น ทรงดำริว่าโอรสนี้เป็นบุคคลเลิศในโลก. เมื่อพระราชาถวาย
บังคมแล้ว เจ้าศากยะทั้งหลายเหล่านั้นไม่อาจเฉยอยู่ได้ ทั้งหมดก็พากัน
ถวายบังคม.
นัยว่าในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์
ได้ทรงกระทำปาฏิหาริย์เปิดโลก เมื่อปาฏิหาริย์เป็นไปอยู่พวกมนุษย์ยืนอยู่
ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตามในมนุษยโลก ย่อมเห็นแต่เทวดาสนทนาธรรมซึ่งกันและ
กัน ตั้งแต่สวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกาถึงชั้นอกนิฏฐภพด้วยตาของตนด้วย
พุทธานุภาพ ในผืนแผ่นดินเบื้องล่าง ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายเสวยมหาทุกข์
ในนรกนั้น ๆ คือ ในมหานรก 8 ขุม ในอุสสทนรก 16 ขุม และในโล-
กันตริยนรก. พวกเทวดาในหมื่นโลกธาตุ เข้าไปเฝ้าพระตดถาคตด้วยเทวา-
นุภาพอันยิ่งใหญ่ บังเกิดจิตอัศจรรย์อย่างไม่เคยมี ประคองอัญชลีนมัสการ
พากันเข้าไปเฝ้า ต่างเปล่งคาถาปฏิสังยุตด้วยพระพุทธคุณ สรรเสริญ
ปรบมือรื่นเริง ประกาศถึงปีติและโสมนัส. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ภุมมเทวดา จาตุมมหาราชิกาเทวดา พวก
เทพชั้นดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมิตเทพ

ปรนิมมิตเทพ และหมู่พรหมกายิกา ต่างยินดี
พากันบอกกล่าวป่าวร้องแพร่หลาย.

ก็ในครั้งนั้นพระทศพล ทรงดำริว่า เราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-
เจ้าของพระองค์มิให้มีใครเปรียบได้ จึงเพิ่มพระมหากรุณาให้สูงขึ้น ทรง
เนรมิตจงกรมในที่ประชุมหมื่นจักรวาฬบนอากาศ เสด็จยืน ณ ที่จงกรม
สำเร็จด้วยแก้วทุกอย่างในเนื้อที่กว้าง 12 โยชน์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์แสดง
ถึงอานุภาพแห่งสมาธิและญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น
น่าอัศจรรย์ ตกไปในที่แห่งเดียวกันของเทวดามนุษย์และผู้ไปในเวหาได้
เห็นกันตามที่กล่าวแล้ว เสด็จจงกรม ณ ที่จงกรมนั้น ทรงแสดงธรรม สมควร
แก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีที่เปรียบ อันมี
อานุภาพที่เป็นอจินไตย. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อม
ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้านี้ เป็นผู้สูงสุดว่าคนเป็น
เช่นไร กำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเป็นเช่นไร
กำลังของพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่
สัตวโลก เป็นเช่นไร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมไม่
รู้ว่า พระพุทธเจ้านี้ เป็นผู้สูงสุดกว่าคนเป็น

เช่นนี้ กำลังฤทธิ์ และกำลังปัญญาเป็นเช่นนี้
กำลังพระพุทธเจ้าพึงเป็นประโยชน์แก่โลก
เป็นเช่นนี้.

เอาเถิดเราจักแสดงกำลังของพระพุทธ-
เจ้าอันยอดเยี่ยม เราจักเนรมิตจงกรมประดับ
ด้วยแก้วบนท้องฟ้า.

เมื่อพระตถาคตทรงแสดงปาฏิหาริย์ แสดงถึงพุทธานุภาพของพระองค์
อย่างนี้แล้วทรงแสดงธรรม ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ยืนอยู่บนภูเขา
คิชฌกูฎในกรุงราชคฤห์ เห็นด้วยทิพยจักษุ เกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยมีด้วย
การเห็นพุทธานุภาพนั้น จึงเกิดความคิดขึ้นว่า เอาละเราจักทำพุทธานุภาพ
ให้ปรากฏแก่โลกให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงแจ้งความนั้นแก่ภิกษุ 500 ซึ่งเป็น
บริวารของตน ทันใดนั้นเองจึงมาทางอากาศด้วยฤทธิ์พร้อมกับบริวาร เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลี
ขึ้นเหนือศีรษะ กราบทูลถามถึงมหาภินิหารและการบำเพ็ญบารมีของพระ-
ตถาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำท่านพระสารีบุตรนั้นให้เป็นกายสักขี
คือ พยานทางกาย เมื่อจะทรงแสดงพุทธานุภาพของพระองค์ แก่พวกมนุษย์
ที่ประชุมกัน และเทวดาพรหมในหมื่นจักรวาฬจึงทรงแสดงพุทธวงศ์. สมดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

พระสารีบุตรผู้มีปัญญามาก ฉลาดใน
สมาธิฌาน บรรลุบารมีด้วยปัญญา ย่อมทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกแห่งโลกว่า
ข้าแต่พระมหาวีระผู้สูงสุดกว่าคน อภินิหาร
ของพระองค์เป็นเช่นไร ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา
ในกาลไร ที่พระองค์ทรงปรารถนาความตรัสรู้
อันอุดม.

ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ
สัจจะ อธิษฐาน เมตตาและอุเบกขาเป็นเช่น
ไร.

ข้าแต่ท่านผู้ทรงปัญญา ผู้เป็นนายกแห่ง
สัตวโลก บารมี 10 ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ
แล้วเป็นเช่นไร.

อุปบารมีเป็นอย่างไร ปรมัตถบารมีเป็น
อย่างไร.

พระองค์ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ ดุจนก
การะเวก ข้าพระองค์เมื่อจะยังหทัยให้เยือกเย็น

ยังมนุษย์พร้อมด้วยเทวดาให้รื่นเริง จึงทูลถาม
ขอพระองค์ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธวงศ์อย่างนี้แล้ว ท่านพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรส่งญาณมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่า โอ การถึงพร้อม
ด้วยเหตุ การถึงพร้อมด้วยผล การสำเร็จแห่งมหาภินิหาร ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนี้ตลอดกาลเพียงนี้ ทรง
กระทำสิ่งที่คนทำได้ยาก นี่เป็นผลอันสมควรแก่การสะสมโพธิสมภารอัน
เป็นวิธีอย่างนี้ คือ ความเป็นพระสัพพัญญู ความเป็นผู้ชำนาญในกำลังทั้ง
หลาย ความเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ความเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้.
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนั้น ตามไปตามระลึกถึง โดยติดตาม
ธรรม ถึงพระพุทธคุณอันมีอานุภาพเป็นอจินไตยมีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัศนะ หิริโอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ-
สัมปชัญญะ ศีลวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุสลมูล 3 สุจริต 3
สัมมาวิตก 3 สัญญาที่ไม่มีโทษ 3 ธาตุ 3 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อริยมรรค 4 อริยสัจ 4 ปฎิสัมภิทา 4 ญาณกำหนดกำเนิด 4
อริยวงศ์ 4 เวสารัชชญาณ 4 ปธานิยังคะ ( องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร) 5
สัมมาสมาธิมีองค์ 5 อินทรีย์ 5 พละ 5 นิสสรณิยธาตุ (ธาตุนำออกไป ) 5
วิมุตตายตนญาณ (ญาณมีอายตนะพ้นไปแล้ว)5 วิมุตติปริปาจนียธรรม(ธรรม

อันเป็นความงอกงามแห่งวิมุติ ) 5 สาราณิยธรรม 6 อนุสสติ 6 คารวะ 6
นิสสรณียธาตุ 6 สัตตวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนื่องๆ) 6 อนุตตริยะ 6
นิพเพธภาคิสัญญา (สัญญาอันเป็นส่วนแทงตลอด) 6 อภิญญา 6 อสาธารณ-
ญาณ 6 อปริหานิยธรรม 7 อริยทรัพย์ 7 โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7
นิททสวัตถุ ( เรื่องชี้แจง ) 7 สัญญา 7 ทักขิไณยบุคคลเทศนา ( การ
แสดงถึงทักขิไณยบุคคล) 7 ขีณสวพลเทศนา ( การแสดงถึงกำลังของ
พระขีณาสพ ) 7 ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ( การชี้แจงถึงเหตุได้ปัญญา ) 8
สัมมัตตะ 8 การก้าวล่วงโลกธรรม 8 อารัมภวัตถุ (เรื่องปรารภ) 8 อักขณ-
เทศนา (การแสดงแบบสายฟ้าแลบ) 8 มหาปุริสวิตก 8 อภิภายตนเทศนา
(การแสดงอายตนะของท่านผู้เป็นอภิภู) 8 วิโมกข์ 8 ธรรมเป็นมลแห่งโยนิ-
โสมนสิการ 9 องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์ 9 สัตตาวาส
9 อาฆาตปฏิวินัย (การกำจัดความอาฆาต) 9 ปัญญา 9 นานัตตเทศนา
(การแสดงความต่างกัน) 9 อนุบุพพวิหารธรรม 9 นาถกรณธรรม 10
กสิณายตนะ 10 กุสลกรรมบถ 10 สัมมัตตะ 10 อริยวาสะ 10 อเสกข-
ธรรม 10 รตนะ 10 กำลังของพระตถาคต 10 อานิสงส์เมตตา 11 อาการ
ของธรรมจัnร 12 ธุดงคคุณ 3 พุทธญาณ 14 วิมุตติปริปาจนียธรรม 15
อานาปานสติ 16 อปรัมปริยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นปรัมปรา) 16 พุทธธรรม
18 ปัจจเวกขณญาณ 19 ญาณวัตถุ 44 อุทยัพพยญาณ 50 กุสลธรรมเกิน 50
ญาณวัตถุ 77 มหาวชิรญาณอันเป็นจารีตร่วมกับสมาบัติ สองล้านสี่แสน

โกฏิ และเทศนาญาณเป็นเครื่องค้นคว้าและพิจารณา สมันตปัฏฐาน (การ
เริ่มตั้งโดยรอบคอบ) อันมีนัยไม่มีที่สุด และญาณประกาศอัธยาศัยเป็นต้น
ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันหาที่สุดมิได้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อันไม่สาธารณ์แก่ผู้อื่นไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นประมาณ. จริงอยู่พระเถระ. เมื่อ
นึกถึงที่สุดก็ดี ประมาณก็ดี แห่งคุณทั้งหลายแม้ของตนเองก็ไม่เห็น. พระ-
เถระนั้นจักเห็นประมาณ หรือ ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้อย่างไร. จริงอยู่ผู้ที่มีปัญญามาก มีญาณเฉียบแหลมย่อมเชื่อ
พระพุทธคุณทั้งหลายโดยความเป็นพระพุทธคุณใหญ่. ด้วยประการฉะนี้
พระเถระเมื่อไม่เห็นประมาณ หรือ ข้อกำหนดแห่งพระคุณทั้งหลายของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตัดสินใจลงไปว่า เมื่อคนเช่นเราผู้ตั้งอยู่ในสาวก
บารมีญาณยังไม่สามารถกำหนดพระพุทธคุณทั้งหลายโดยญาณได้ จะกล่าว
ไปไยถึงคนพวกนี้ น่าอัศจรรย์พระสัพพัญญูคุณเป็นอจินไตย ไม่มีข้อ
กำหนด มีอานุภาพมาก อนึ่ง พระสัพพัญญูคุณเหล่านี้เป็นโคจรแห่งพุทธ-
ญาณอย่างเดียวเท่านั้นโดยประการทั้งปวง มิได้เป็นโคจรแก่ผู้อื่น. แม้พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถกล่าวโดยพิสดารได้เลย. สมจริงดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า :-
แม้พระพุทธเจ้าก็กล่าวคุณของพระพุทธ-
เจ้า หากว่ากล่าวถึงคุณอื่นแม้ตลอดกัป กัป

ย่อมสิ้นไปในระหว่างเวลายาวนาน คุณของ
พระตถาคต หาได้สิ้นไปไม่.

พระสารีบุตรเถระมีปีติโสมนัสเป็นกำลังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระคุณใหญ่อย่างนี้จึงคิดต่อไปว่า น่าอัศจรรย์ ธรรม
ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี มีอานุภาพมาก เป็นเหตุแห่งพุทธคุณทั้ง
หลายเห็นปานนี้ . ความเป็นบารมี เป็นความเจริญงอกงามในชาติไหนหนอ
หรือว่าถึงความแก่กล้าอย่างไร.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งขัดสมาธิ 3 ชั้น ณ รตนะ
จงกรมนั้น ประทับนั่งรุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์อ่อนรุ่งเรืองอยู่ ณ ภูเขายุคนธร
ฉะนั้น ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร พุทธการกธรรมของ
เราได้เจริญงอกงามจากภพสู่ภพ จากชาติสู่ชาติ ในกัปทั้งปวง เพราะทำด้วย
ความเคารพติดต่อกัน และด้วยการอุปถัมภ์ของวิริยะตั้งแต่สมาทาน แต่
ในภัทรกัปนี้ พุทธการกธรรมเหล่านั้นเกิดแก่กล้าในชาติเท่านี้แล้วได้ตรัส
ธรรมปริยาย อันมีชื่อเป็นที่สองว่า จริยาปีฏกํ พุทฺธาปทานิยํ จริยา-
ปิฎก เป็นที่ตั้งแห่งตำนานของพระพุทธเจ้า ด้วยบทมีอาทิว่า กปฺเป จ
สตสหสฺเส
ตลอดแสนกัป. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาทรงจงกรมอยู่ ณ ที่จงกรมแก้ว อัน
เทวดาและพรหมเป็นต้นบูชาทรงหยั่งลง ณ นิโครธารามแวดล้อมด้วยพระ-
ขีณาสพสองล้านรูป ประทับนั่งเหนือวรพุทธาสนะที่เขาปูไว้ อันท่านพระ-

สารีบุตรทูลถามโดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงทรงแสดงจริยาปิฎก. ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ ท่านแสดงทูเรนิทานและอวิทูเรนิทานโดยสังเขปแล้วชี้แจง สันติเก-
นิทานแห่งจริยาปิฎก โดยพิสดาร. ส่วนทูเรนิทานจักมีแจ้งในการอธิบาย
เรื่องอสงไขย.
บัดนี้จะพรรณนาเนื้อความแห่งบาลี จริยาปิฎกที่มีมาโดยนัยมีอาทิว่า
กปฺเป จ สตสหสฺเส ดังนี้. กัปปศัพท์ในบทนั้นทั้งที่มีอุปสรรค และไม่มี
อุปสรรค ย่อมปรากฏในความมีอาทิว่า วิตก วิธาน ปฏิภาค บัญญัติ กาล
ปรมายุ สมณโวหาร สมันตภาวะ อภิสัททหนะ เฉทนะ วินิโยคะ วินยะกิริยา
เลสะ อันตรกัป ตัณหาทิฏฐิ อสงไขยกัป มหากัป.
กัปปศัพท์มาใน วิตก ในบทมีอาทิว่า เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป อพฺยา-
ปาทสงฺกปฺโป
ดำริในการออกจากกาม ดำริในความไม่พยาบาท. มาใน วิธาน
ในบทมีอาทิว่า จีวเร วิกปฺปํ อาปชฺเชยฺย ภิกษุพึงทำวิกัปในจีวร. อธิบายว่า
ควรปฏิบัติตามธรรมเนียมเป็นอย่างยิ่ง. มาใน ปฏิภาค ในบทมีอาทิว่า สตฺถุ-
กปฺเปน วต ฯลฯ น ชานิมฺหา
ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่า พวกเราปรึกษา
กับพระสาวกซึ่งคล้ายกับพระศาสดาก็ยังไม่รู้. ในบทนั้นมีอธิบายว่า คล้ายกับ
เช่นกับ พระศาสดา. มาใน บัญญัติ ในบทมีอาทิว่า อิธายสฺมา กปฺโป
ท่านผู้มีอายุเป็นบัญญัติในศาสนานี้. มาใน กาล ในบทมีอาทิว่า เยน สุทํ
นจฺจกปฺปํ วิหรามิ
ได้ยินว่าข้าพเจ้าจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มาใน ปรมายุ
ในบทมีอาทิว่า อากงฺขมาโน ฯลฯ กปฺปาวเสสํ วา ดูก่อนอานนท์

ตถาคต หวังจะดำรงอยู่ตลอดกัป. หรือตลอดส่วนที่เหลือของกัป. กัปในที่นี้
ท่านประสงค์เอาอายุกัป. มาใน สมณโวหาร ในบทมีอาทิว่า อนุชานามิ
ฯลฯ ปริภุญฺชิตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณกัป 5
อย่างมาใน สมันตภาวะ ในบทมีอาทิ เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตฺวา
ยังพระเชตวันโดยรอบทั้งสิ้นให้สว่างไสว. มาในอภิสัททหนะในบทมีอาทิว่า
สทฺธา สทฺทหนา โอกปฺปนา อภิปฺปสาโท ศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อ
อย่างยิ่ง ความเลื่อมใสอย่างยิ่ง. มาเน เฉทนะ ในบทมีอาทิว่า อลงฺกโต
กปฺปิตเกสมสฺสุ
โกนผมแลหนวดตกแต่งแล้ว. มาใน วินิโยคะ ในบท
มีอาทิว่า เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ ทานที่ให้แล้วจากโลกนี้
ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ฉันนั้น. มาใน วินยกิริยา ในประโยคมี
อาทิว่า กปฺปกเตน อกปฺปกตํ สํสิพฺพิตํ โหติ จีวรอันภิกษุผู้ทำกัปปะมิ
ได้ทำตามวินัยก็เป็นอันเย็บดีแล้ว. มาใน เลสะ ในประโยคมีอาทิว่า อตฺถิ
กปฺโป นิปชฺชิตุํ หนฺทาหํ นิปชฺชามิ
มีเลสเพื่อจะนอน เอาเถิดเราจะ
นอนละ. มาใน อันตรกัป ในประโยคมีอาทิว่า อาปายิโก เนรยิโก ฯลฯ
นิรยมุหิ ปจฺจติ ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ต้องตกอบาย ตกนรก ตั้งอยู่กัปหนึ่ง
และไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป. มาในตัณหาและทิฏฐิในคาถามีอาทิว่า :-
แม่ธรรมทั้งหลายก็ไม่ดำริถึง ไม่ทำไว้
ข้างหน้า ไม่ยอมรับ เขามิใช่พราหมณ์ที่ผู้มีศีล

จะพึงแนะนำ เขาเป็นผู้ถึงฝั่ง เป็นผู้คงที่ ย่อม
ไม่หมกไหม้.

เป็นความจริงอย่างนั้นท่านกล่าวไว้ในนิทเทสว่า จากบทว่า กปฺป
นี้ กัปมีสองอย่าง คือ ตัณหากัป 1 ทิฏฐิกัป 1. มาในอสงไขยกัปในบท
มีอาทิว่า อเนเกปิ สํวฏฺฏกปฺเป อเนเกปิ วิวฏฺฏกปฺเป ในสังวัฏฏกัป
ไม่น้อยในวิวัฏฏกัปไม่น้อย. มาในมหากัปในบทมีอาทิว่า จตฺตาริมานิ
ภิกฺขเว กปฺปสฺส อสงฺเขยฺยานิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัปมีสี่อสงไขย.
กัปในที่นี้ได้แก่มหากัป.
บทสำเร็จในคำว่า กปฺป นั้นมีดังนี้ ชื่อว่า กปฺโป เพราะย่อม
กำหนด. อธิบายว่า พึงกำหนดมีปริมาณที่ควรกำหนดด้วยการเปรียบกับ
กองเมล็ดผักกาดเป็นต้นอย่างเดียวเพราะไม่สามารถคำนวณด้วยปีได้ว่า เท่า
นั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปยาวเพียงไรหนอ. ดูก่อนภิกษุ กัปยาวมาก
กำหนดไม่ได้ว่า เท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามารถจะเปรียบเทียบได้หรือไม่พระเจ้าข้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถเปรียบเทียบได้ ภิกษุ. เหมือนอย่างว่ากองเมล็ด
ผักกาด โดยความยาวโยชน์หนึ่ง โดยความกว้างโยชน์หนึ่ง โดยความสูง
โยชน์หนึ่ง เมื่อล่วงไปร้อยปี พันปี ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่ง ๆ
เมล็ดผักกาดหมด. ก็ยังไม่สิ้นกัป. ดูก่อนภิกษุกัปยาวอย่างนี้แล.

มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์เข้าด้วยสี่อสงไขยกัป ด้วยสามารถแห่งสัง-
วัฏฏกัปเป็นต้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สี่อสงไขยกัปเหล่า
นี้ สี่อสงไขยกัปเป็นไฉน. คือ สังวัฏฏกัป
สังวัฎฏัฏฐายีกัป วิวัฏฏกัป วิวัฎฏัฏฐายีกัป.

ในกัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี 3 คือ เตโชสังวัฏฏกัป 1 อาโป-
สังวัฏฏกัป 1 วาโยสังวัฏฏกัป 1. แดนสังวัฏฏกัปมี 3 คือ อาภัสสรา 1
สุภกิณหา 1 เวหัปผลา 1. ก็ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยไฟ ในกาลนั้น
กัปเบื้องล่างจากอาภัสสราย่อมถูกไฟไหม้. ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยน้ำ
ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากสุภกิณหาย่อมถูกน้ำละลาย. ในกาลใดกัปย่อม
เป็นไปด้วยลม ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากเวหัปผลาย่อมถูกลมกำจัด. แต่โดย
กว้างออกไปจักรวาฬแสนโกฏิ ย่อมพินาศ. ท่านกล่าวว่าเป็นอาณาเขตของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในสังวัฏฏกัป 3 เหล่านั้น การทำลายเปลวไฟ น้ำ
หรือลม ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศตามลำดับ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง .ชื่อว่า
สังวัฏฏกัป. มหาเมฆตั้งขึ้นเต็มจักรวาฬแสนโกฏิตั้งแต่การทำลายเปลวไฟอัน
ยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยที่สองชื่อว่า สังวัฏฏฐายีกัป.
ความปรากฏแห่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ตั้งแต่มหาเมฆตั้งขึ้น นี้เป็น
อสงไขยกัปที่สาม ชื่อว่าวิวัฏฏกัป. มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก ตั้งแต่ความ

ปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ นี้เป็นอสงไขยกัปที่สี่ ชื่อว่าวิวัฏฏัฏ-
ฐายีกัป. ในกัปเหล่านี้ การสงเคราะห์กัปในระหว่าง 64 กัป ชื่อว่า
วิวัฏฏัฏฐายีกัป. ด้วยบทนั้นพึงทราบว่าวิวัฏฏกัปเป็นต้นกำหนดด้วยกาลอัน
เสมอกัน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การสงเคราะห์กัปในระหว่าง 20 กัป.
ด้วยประการฉะนี้ สี่สงไขยกัปเหล่านี้เป็นหนึ่งมหากัป. ด้วยเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า มหากัปนี้นั้น สงเคราะห์ด้วยสี่อสงไขยกัปด้วยอำนาจแห่ง
สังวัฏฏกัปเป็นต้น.
อนึ่ง บทว่า กปฺเป เป็นทุติยาวิภัตติ์พหุวจนะ ด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ
แปลว่า ตลอดกัป สิ้นกัป. บทว่า สตสหสฺเส แสดงถึงปุลลิงค์โดยเชื่อม
กับศัพท์ว่า กปฺป. แม้ในที่นี้ก็เป็นพหุวจนะด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ ทั้งสอง
บทนี้เป็นอธิกรณะเสมอกัน. แม้ในบทว่า จตุโร จ อสงฺขิเย นี้ ก็มีนัยนี้แล.
อนึ่ง บทว่า อสงฺขิเย ย่อมให้รู้ความนี้ว่า กปฺปานํ โดยคัมภีร์ เพราะไม่กล่าว
บทอื่นและเพราะกล่าวถึงกัปเท่านั้น. การเว้นบทที่กล่าวแล้วคือเอาบทอะไร ๆ
ที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่สมควร. จ ศัพท์เป็นสัมบิณฑนัตถะ ( บวกความท่อนหลัง
เข้ากับความท่อนต้น ). มีเนื้อความว่า สี่อสงไขยแห่งมหากัปและแสนมหา-
กัป พึงทราบความในบทว่า อสงฺขิเย นี้ ชื่อว่า อสงฺขิยา เพราะไม่
สามารถจะนับได้. อธิบาย เกินการคำนวณ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
บทว่า อสงฺเขยฺยํ เป็นการนับที่แปลกอย่างหนึ่ง. อาจารย์พวกนั้นกล่าวว่า
คะแนนมหากำลังสิบเว้นฐานะ 59 อันมีคะแนนมหากำลังเป็นที่สุดตั้งแต่

รวมเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอสงไขย ในลำดับอัฏฐานะ 60. ข้อนั้นไม่ถูก
การคำนวณที่แปลกชื่อว่าในระหว่างฐานะที่นับได้. ในระหว่างฐานะหนึ่ง
ชื่อว่าอสงไขย เพราะไม่มีความที่การคำนวณที่แปลกนั้นจะพึงนับไม่ได้
เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นจึงผิด. ข้อที่กัปนั้นมี 4 อย่าง ในความเป็นอสงไขย
กัป เพราะความที่เป็นกัปนับไม่ได้ไม่ถูกมิใช่หรือ. ไม่ถูกก็ไม่ใช่ เพราะ
ความที่อสงไขยกัปท่านปรารถนาแล้วในฐานะ 4. ในบทนั้นพึงทราบการ
ชี้แจงตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้.
มีเรื่องเล่ามาว่า ในกัปนี้ครั้งอดีต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 พระองค์
คือ พระตัณหังกร 1 พระเมธังกร 1 พระสรณังกร 1 พระทีปังกร 1
ทรงอุบัติขึ้นในโลกตามลำดับ . ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ทีปังกรได้มีเมืองว่า อมรวดี. สุเมธ-
พราหมณ์อาศัยอยู่ในเมืองนั้นเป็นอุภโตสุชาตสังสุทธเคราหณี (มีครรภ์เป็น
ที่ปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย) ทางฝ่ายมารดาและบิดาตลอด 7 ชั่วตระกูล
ไม่ถูกรังเกียจโดยชาติ. มีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใสถึงพร้อมด้วยผิวพรรณ
งดงามอย่างยิ่ง สุเมธพราหมณ์มิได้ทำการงานอย่างอื่น เรียนศิลปะของ
พราหมณ์อย่างเดียว. มารดาบิดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เขายังเป็นหนุ่ม. ครั้งนั้น
สิริวัฑฒกะ อำมาตย์ของเขา นำบัญชีทรัพย์สินมาให้แล้วเปิดห้องทรัพย์สิน
เต็มไปด้วย ทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น แล้วแจ้งทรัพย์สิน
ตั้งแต่ 7 ชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมารทรัพย์ประมาณเท่านี้เป็นของมารดา

ของท่าน ประมาณเท่านี้เป็นของบิดาของท่าน ประมาณเท่านี้เป็นของ
ปู่ ย่า ตา ยาย และทวดของท่าน แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงปกครองทรัพย์
สินนี้เถิด. สุเมธบัณฑิตคิดว่า ญาติทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นของเรา
รวบรวมทรัพย์สินนี้ไว้เป็นอันมาก ถึงอย่างนี้ก็ยังไปสู่ปรโลก มิได้ถือเอา
ไปได้แม้แต่กหาปณะเดียว แต่เราควรจะทำเหตุแห่งการถือเอาไปได้ ดังนี้
เขาจึงทูลแด่พระราชาแล้วให้ตีกลองประกาศทั่วไปในเมือง ได้ให้ทานแก่
มหาชนแล้วไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นดาบสล่วงไปได้ 7 วัน จึงยัง
สมาบัติ 8 และอภิญญา 5 ให้เกิดขึ้นอยู่ด้วยสมาบัติวิหารธรรม.
ก็ในกาลนั้น พระทศพลพระนามว่า ทีปังกรบรรลุพระปรมาภิเษก
สัมโพธิญาณ ยังบวรธรรมจักรให้เป็นไปแวดล้อมด้วยพระขีณาสพ หนึ่ง
แสนรูป เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงรัมมวดีนครประทับอาศัยอยู่ที่สุทัศน-
มหาวิหารไม่ไกลเมืองนั้น. ชาวเมืองรัมมวดีนครได้ฟังว่า ได้ยินว่า-
พระศาสดาเสด็จถึงนครของพวกเราแล้วประทับอยู่ ณ สุทัศนมหาวิหาร จึง
พากันถือของหอมมีดอกไม้เป็นต้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งฟังพระธรรมเทศนา
แล้วนิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น พากันลุกจากที่นั่งกลับไป. วัน
รุ่งขึ้นชาวเมืองเหล่านั้นเตรียมมหาทานตกแต่งนคร ต่างรื่นเริงยินดีทำความ
สะอาดทางที่พระทศพลเสด็จมา.
อนึ่ง ในกาลนั้น สุเมธดาบสมาทางอากาศเห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น
รื่นเริงยินดีจึงถามว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทำความสะอาดทางนี้

เพื่อใคร. เมื่อพวกมนุษย์บอกว่า พวกเราทำความสะอาดทางเพื่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเสด็จมา เพราะค่าที่ตนได้สะสมบารมีมาในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ในอดีตพอได้ยินคำว่า พุทฺโธ ก็เกิดปีติโสมนัส ลงจากอากาศในทันใด
นั่นเอง แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้โอกาสแก่เราบ้าง แม้เราก็จักทำ
ความสะอาดด้วย ครั้นพวกมนุษย์ให้โอกาสแล้ว จึงคิดว่า ความจริงเรา
พอจะทำทางนี้ให้วิจิตรด้วยรัตนะ 7 ด้วยฤทธิ์แล้วตกแต่งได้ แต่วันนี้เรา
ควรทำความขวนขวายทางกาย เราจักถือเอาบุญสมควรแก่กาย แล้วจึงนำ
หญ้าและหยากเยื่อเป็นต้นออกไปเอาฝุ่นมาเกลี่ยให้เสมอทำให้สะอาด. ก็เมื่อ
ทำความสะอาดที่นั้นยังไม่สำเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระทีปังกรแวดล้อม
ด้วยพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา 6 ผู้มีมหานุภาพสี่แสนรูปเสด็จมาถึงทางนั้น.
สุเมธบัณฑิตคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกของ
พระพุทธเจ้าจงอย่าเหยียบโคลนจึงคลี่ผ้าป่าน แผ่นหนัง และห่อชฎาออก
ตนเองนอนคว่ำหันศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า. และเขาคิดอย่างนี้ว่า
หากเราจักปรารถนา เราจักเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ จักทำลาย
กิเลสในวันนี้ทีเดียว. ประโยชน์อะไรด้วยการนอนจากโอฆะใหญ่คือสงสาร
ของเราเพียงผู้เดียวเท่านั้น ถ้ากระไรแม้เราก็พึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เห็นปานนี้ ยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามจากห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร. สุเมธ-
บัณฑิตตั้งใจด้วยอภินิหารประกอบด้วยองค์ 8 ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาประทับยืน ณ เบื้องศีรษะของ
สุเมธบัณฑิตนั้น ทรงทราบความสำเร็จวารจิตของสุเมธบัณฑิตนั้นทรง
พยากรณ์ความเป็นไปนี้ทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จากนี้ไปในที่สุด
สี่แสนอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป สุเมธบัณฑิตนี้จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าโคดมดังนี้ แล้วหลีกไป.
จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้อื่นทรงอุบัติขึ้นตามลำดับ มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระนามว่า โกณฑัญญะเป็นต้นจนถึงพระทศพล พระนามว่า
กัสสปเป็นที่สุด ทรงพยากรณ์พระมหาสัตว์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. เมื่อ
พระโพธิสัตว์ของพวกเราทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงอุบัติขึ้น 24 พระองค์. ในกัปที่พระทศพลพระนามว่าทีปังกรทรงอุบัติ
ได้มีพระพุทธเจ้าอื่นอีก 3 พระองค์. ในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
มิได้มีการพยากรณ์พระโพธิสัตว์. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจึง
ไม่ถือเอาในที่นี้. แต่ในอรรถกถาเก่า เพื่อแสดงถึงพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตั้งแต่กัป ท่านจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร
พระทีปังกร ผู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า และพระ
โกณฑัญญะ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า พระ
มังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ
ผู้เป็นมุนี พระอโนมทัสสี พระปทุม พระ

นารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ ผู้เกิดดี
แล้ว พระปิยทัสสี ผู้มียศใหญ่ พระอัตถทัสสี
พระธรรมทัสสี พระสิทธัตถะ ผู้เป็นนายก
ของโลก พระติสสะ พระผุสสะ ผู้เป็น
พระสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
เวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ ผู้เป็นนายก. ท่านเหล่านี้ได้
เป็นพระสัมพุทธเจ้า ปราศจากราคะ ตั้งมั่น
แล้ว มีรัศมี 100 บรรเทาความมืดใหญ่
รุ่งเรืองดุจกองไฟ พระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น
พร้อมด้วยสาวกทั้งหลาย ได้นิพพานแล้ว.

ในระหว่างพระทศพลพระนามว่าทีปังกร และพระทศพลพระนามว่า
โกณฑัญญะ โลกได้ว่างพระพุทธเจ้าไปตลอดอสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป. ใน
ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ และพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า มังคละ ก็เหมือนกัน ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
โสภิตะ พระนามว่า อโนมทัสสี พระนามว่า นารทะ พระนามว่า ปทุ-
มุตตระ ก็เหมือนกัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์ว่า :-

กัปทั้งหลายในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น คือแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ทีปังกร และแห่งพระศาสดาพระนามว่า โภณ-
ฑัญญะเป็นกัปที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกพระนาม
ว่า มังคละ โดยพระนามอื่นจากพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ กัปทั้งหลาย
ในระหว่างพระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็เป็นกัป
ที่นับไม่ได้โดยการคำนวณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนม-
ทัสสี ผู้มียศใหญ่อื่นจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า โสภิตะ กัปทั้งหลายในระหว่าง
พระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้นก็เป็นกัปที่นับไม่ได้
โดยการคำนวณ.

กัปทั้งหลายในระหว่างพระพุทธเจ้า แม้
เหล่านั้น คือ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า นารทะ แห่งพระศาสดาพระนามว่า ปทุ-
มุตตระ ก็เป็นกัปที่นับไม่ได้โดยคำนวณ.

ด้วยประการฉะนี้ท่านจึงกล่าวว่า จตุโร จ อสงฺขิเย สื่อสงไขยโดย
การล่วงการคำนวณมหากัปในฐานะ 4 แม้ในความเป็นอสงไขยกัป เพราะ
ความเป็นกัปที่ล่วงเลยการคำนวณ. พึงทราบว่าท่านมิได้กล่าวด้วยสังขยา-
วิเสสนะ ( การนับที่แปลกออกไป ). อนึ่ง เพราะ 3 หมื่นกัปในระหว่าง
พระทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ และพระทศพลพระนามว่า สุเมธะ
69,882 กัป แห่งพระทศพลพระนามว่า สุชาตะ และ พระทศพล
พระนามว่า ปิยทัสสี. 20 กัป ในระหว่างพระทศพลพระนามว่า
ธรรมทัสสี และพระทศพลพระนามว่า สิทธัตถะ 1 กัป ในระหว่างพระทศ-
พลพระนามว่า สิทธัตถะ และพระทศพลพระนามว่า ติสสะ 6 กัป ใน
ระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี และพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า สิขี. 30 กัป ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู
และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ. และ 100,000 มหากัป พร้อม
ด้วยกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ทรงอุบัติภายหลังตั้งแต่กัปที่พระ
ทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติและด้วยภัตรกัปนี้ ด้วยประการฉะนี้
ท่านจึงกล่าวว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส ตลอดแสนกัปหมายถึงมหากัป
เหล่านั้น. เมื่อเนื้อความนี้กล่าวพิสดารควรจะนำบาลีพุทธวงศ์ทั้งหมดมา
พรรณนา ฉะนั้นเราจะรักษาใจของมหาชนผู้กลัวความพิสดารเกินจึงจะไม่
กล่าวให้พิสดาร. ผู้มีความต้องการความพิสดารพึงเรียนจากพุทธวงศ์. อนึ่ง
ในที่นี้กถามรรคใดที่ควรกล่าว กถามรรคแม้นั้นก็พึงทราบโดยนัยดังที่ได้
กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่อว่า อัฏฐสะลินี และอรรถกถาชาดก
นั่นและ

อนฺตร ศัพท์ในบทว่า เอตฺถนฺตเร นี้ มาแล้วใน เหตุ ในบทมี
อาทิว่า :-
ชนทั้งหลาย ประชุมกันที่ฝั่งแม่น้ำ ที่
เรือน ที่สภา และที่ถนนปรึกษาเหตุอะไร
กะเราและกะท่าน.

มาแล้วใน ขณะ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญหญิงคนหนึ่ง
ล้างภาชนะในขณะฟ้าแลบ ได้เห็นข้าพระองค์. มาแล้วใน จิต ในประโยค
มีอาทิว่า ความโกรธไม่มีแต่จิตของผู้ใด. มาแล้วใน ระหว่าง ในบทมีอาทิ
ว่า เมืองคยาในระหว่าง และต้นโพธิ์ในระหว่าง. มาแล้วใน ท่ามกลาง
ในบทมีอาทิว่า เมื่อพระอุปัชฌาย์ยังพูดอยู่ไม่ควรสอดคำพูดในท่ามกลาง
แม้ในที่นี้พึงเห็นว่า ในท่ามกลางนั่นแล เพราะฉะนั้น ในระหว่างนี้
ความว่าในท่ามกลาง. บทนี้เป็นอันท่านกล่าวไว้ว่า ในมหากัปพระผู้มีพระ-
ภาคของเรา เป็นสุเมธบัณฑิตในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ทีปังกรได้ทรงกระทำมหาภินิหารประกอบด้วยองค์ 8 ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้
คือ ความเป็นมนุษย์ 1 ความถึงพร้อมด้วยเพศ 1 เหตุ 1 การเห็นพระ-
ศาสดา 1 บรรพชา 1 คุณสมบัติ 1 อธิการ 1 ความพอใจ 1. ทรง
สะสม สมาทานบารมี 30 ทัศ ทรงปรารภเพื่อยังพุทธการกธรรมแม้ทั้งหมด
ให้สมบูรณ์ อนึ่ง มีพระบารมีเต็มเปี่ยมด้วยประการทั้งปวง ในภัตรกัปนี้
ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. กาลวิเศษมีกำหนดตามที่กล่าวแล้ว

ในระหว่างมหากัปสองเหล่านี้. ก็ข้อนั้นรู้ได้อย่างไร. จริงอยู่บทนี้ว่า กปฺเป
จ สตสหสสฺเส จตุโร จ อสงฺขิเย
สี่อสงไขยแสนกัป เป็นบทแสดง
ถึงการนับมหากัปโดยกำหนดและมิได้กำหนด. ก็การนับนี้นั้นเป็นการถือเอา
เบื้องต้นและที่สุดของการคำนวณ เว้นจากนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้นการเริ่ม
โพธิสมภารและการแสวงหาย่อมรู้ได้ว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นท่านแสดงโดย
เนื้อความในบทนี้ว่า เอตฺถนฺตเร ในระหว่างนี้ด้วยความมีเขตจำกัด อนึ่ง
เขตจำกัดนี้พึงทราบด้วยวิธีอันยิ่ง. ไม่พึงทราบด้วยอำนาจขอบเขต เพราะ
กัปเริ่มและกัปสุดท้ายหยั่งลงภายในโดยเอกเทศ อนึ่ง วิธีอันยิ่งย่อมไม่มี
ในที่นี้ เพราะมิได้กำหนดกัปเหล่านั้นไว้ โดยไม่มีขอบเขตมิใช่หรือ ไม่
ใช่อย่างนั้น เพราะนั่นเป็นแม้ในเอกเทศของกัปนั้น. จริงอยู่ กัปที่เป็น
เอกเทศของกัปนั้น กำหนดไว้โดยไม่มีขอบเขต.
บทว่า จริตํ ในบทนี้ว่า ยํ จริตํ, สพฺพํ ตํ โพธิปาจนํ ความ
ประพฤติทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ได้แก่ จริยา อันเป็นข้อปฏิบัติ
มีทานและศีลเป็นต้น สงเคราะห์เข้าในบารมี 30 ทัศ เพราะญาตัตถจริยา
โลกัตถจริยา และพุทธัตถจริยา หยั่งลงภายในจริยานั้น. อนึ่ง จริยา นี้
มี 1 คือ อิริยาปถจริยา จริยาในอิริยาบถ 4 ของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยความ
ตั้งใจ 1 อายตนจริยา จริยาในอายตนะภายในของท่านผู้มีทวารคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 สติจริยา จริยาในสติปัฏฐาน 4 ของท่านผู้มี
ความไม่ประมาทเป็นธรรมเครื่องอยู่ 1 สมาธิจริยา จริยาในฌานทั้งหลาย

4 ของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต 1 ญาณจริยา จริยาในอริยสัจ 4 ของ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา 1 มคฺคจริยา จริยาในอริยมรรค 4 ของท่าน
ผู้ปฏิบัติชอบ 1 ปตฺติจริยา จริยาในสามัญผล 4 ของท่านผู้บรรลุผล 1
โลกตฺถจริยา จริยาในสรรพสัตว์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 3 พระองค์.
ในจริยาเหล่านั้น โลกัตถจริยา ของพระโพธิสัตว์สององค์ และพระปัจ-
เจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า โดยมีขอบเขต แต่ของพระโพธิสัตว์
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายโดยไม่มีขอบเขต. มีดังที่ท่านกล่าวไว้ใน
นิทเทสว่า บทว่า จริยา ได้แก่จริยา 8 คือ อิริยาปถจริยา และอายตน-
จริยา เป็นต้น ความพิสดารมีอยู่ว่า พระโยคาวจรประพฤติน้อมไปด้วย
ศรัทธา ประพฤติประคองไว้ด้วยความเพียร ประพฤติรู้ทั่วด้วยปัญญา
ประพฤติรู้แจ้งด้วยวิญญาณ เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ กุศลธรรมทั้งหลายย่อมแผ่
ไป ด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยอายตนจริยา. แม้ปฏิบัติอย่างนี้ ก็ย่อม
บรรลุคุณวิเศษด้วยเหตุนั้นชื่อว่าประพฤติด้วยวิเสสจริยา ดังนั้นท่านจึงกล่าว
ถึงจริยา 8 แม้อื่น. พึงทราบการปิดบังในบารมีทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นไว้.
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า จริตํ คือ จริยา อันเป็นข้อปฏิบัติมี
ทานและศีลเป็นต้น สงเคราะห์เข้าในบารมี 30 ทัศ. แต่ในที่นี้พึงทราบ
ความไม่ปิดกั้นมรรคจริยาและปัตติจริยา เพราะประสงค์เอาเหตุจริยานั้นแล
ในที่นี้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพํ ตํ โพธิปาจนํ ความประพฤติ
ทั้งหมดนั้นเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ ดังนี้.

สพฺพ ศัพท์ในบทนั้นย่อมปรากฏในอรรถ 4 อย่าง คือ สพฺพสพฺพํ
1 อายตนสพฺพํ 1 สกฺกายสพฺพํ 1 ปเทสสพฺพํ 1.
ในอรรถว่า
สพฺพสพฺพํ ในบทมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ย่อมมาสู่ครองในหัวข้อ
ว่า ญาณ ของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ด้วยอาการทั้งปวง. ในอรรถว่า
อายตนสพฺพํ ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอายตนะทั้งปวง
พวกเธอจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป ฯลฯ มนะและธรรม
ทั้งหลาย เป็นอย่างไร. ในอรรถว่า สกฺกายสพฺพํ ในบทมีอาทิว่า ภิกษุ
ย่อมรู้สิ่งทั้งปวงโดยประการทั้งปวง. ในอรรถว่า ปเทสสพฺพํ ในบทมี
อาทิว่า ดูก่อนสารีบุตรถ้อยคำอันพวกเธอทั้งหมดกล่าวดีแล้วโดยปริยาย. แม้
ในที่นี้พึงทราบว่า สพฺพ ศัพท์ในอรรถว่า ปเทสสพฺพํ เพราะท่านประ-
สงค์เอาความประพฤติอันเป็นการสะสมโพธิญาณ.
บทว่า โพธิ ได้แก่ต้นไม้บ้าง อริยมรรคบ้าง นิพพานบ้าง สัพพัญ-
ญุตญาณบ้าง. ต้นไม้ชื่อว่า โพธิ เพราะต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ในอาคตสถานว่า
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งแรก ณ ควงต้นโพธิและว่า คยาประเทศ
ในระหว่าง และต้นโพธิในระหว่าง. อริยมรรคชื่อว่า โพธิ เพราะอริย-
มรรคเป็นเหตุตรัสรู้อริยสัจ 4 ในอาคตสถานว่า ญาณในมรรค 4 ท่าน
เรียกว่า โพธิ. นิพพานชื่อว่า โพธิ เพราะนิพพานเป็นนิมิต ในอาคต-
สถานว่า ทรงบรรลุโพธิญาณอันเป็นอมตะและอสังขตะ. พระสัพพัญญุตฌาณ
ชื่อว่า โพธิ เพราะพระสัพพัญญุตญาณเป็นเหตุตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยอาการ

ทั้งปวง ในอาคตสถานว่าท่านผู้มีปัญญาว่าประเสริฐดุจแผ่นดิน ย่อมบรรลุ
โพธิญาณ. ในที่นี้ประสงค์เอาพระสัพพัญญุตญาณ. หรือว่า สัพพัญญุตญาณ
อันเป็นอรหัตมรรคพึงทราบว่า โพธิ ในที่นี้. พระสัพพัญญุตญาณของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า โพธิ เพราะประสงค์เอา มหาโพธิ. จริงอยู่
พระสัพพัญญุตญาณ อันมีอาสวักขยญาณเป็นปทัฏฐาน และอาสวักขยญาณ
อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน ท่านกล่าวว่า มหาโพธิ. ความย่อ
ในบทนี้ มีดังนี้ ความประพฤติกล่าวคือการปฏิบัติมีทานและศีลเป็นต้น ของ
เราอันใด ในการกำหนดกาลตามที่กล่าวแล้ว ความประพฤตินั้นทั้งหมด
เป็นเครื่องบ่ม เป็นความสำเร็จ ทำให้เกิดมหาโพธิญาณ อันไม่มีส่วนเหลือ
อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญโพธิสมภารติดต่อกันไปด้วยบทนี้. อีกออย่างหนึ่ง
บทว่า สพฺพํ ได้แก่ความประพฤติอันใดในระหว่างนี้ คือ ในการกำหนด
กาลตามที่กล่าวแล้ว ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นโพธิสมภารทั้งสิ้น ไม่
มีส่วนเหลือ. อกิตติดาบสแสดงการบำเพ็ญบุญบารมีทั้งหมดด้วยบทนี้.
ภาวนาในโพธิสมภารมี 4 อย่าง คือ สพฺพสมฺภารภาวนา 1
นิรนฺตรถาวนา 1 จิรกาลภาวนา 1 สกฺกจฺจภาวนา 1.
ในภาวนา
อย่างนั้น ท่านกล่าว จิรกาลภาวนา ( การบำเพ็ญตลอดกาลนาน ) ด้วยบท
นี้ว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส, จตุโร จ อสงฺขิเย ในสี่อสงไขยแสนกัป.
ท่านกล่าว นิรนฺตรถาวนา (การบำเพ็ญติดต่อกันไป) ด้วยการถือเอาทั้งหมด
ในอรรถวิกัปที่หนึ่ง ด้วยการประกอบล่วงส่วนในระหว่างนี้. ท่านกล่าว

สพฺพสมฺภารกาวนา (การบำเพ็ญบุญกุศลทั้งหมด) ด้วยบทนี้ว่า สพฺพํ
จริตํ
ความประพฤติทั้งหมด ในอรรถวิกัปที่สอง. ท่านกล่าว สกฺกจฺจ-
ภาวนา
( การบำเพ็ญโดยความเคารพ ) ด้วยบทนี้ว่า โพธิปาจนํ เป็น
เครื่องบ่มโพธิญาณ. ความประพฤตินั้นย่อมบ่มสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะ
แสดงความเป็นอย่างนั้น ฉันใด ความประพฤตินั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า
โพธิปาจนํ เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ ฉันนั้นไม่ควรที่จะกล่าวโดยอาการ
อื่น. ก็ในบทนี้พึงทราบความที่โพธิจริยาติดต่อกันไปอย่างไร. ผิว่า จิตนั้น
ไม่ควร เพราะจิตติดต่อกันไป เป็นความจริงที่ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า จิตอื่นจาก
จิตสะสมโพธิสมภาร จะเกิดขึ้นสูงกว่ามหาภินิหารของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงกล่าวหมายถึงความเป็นไปแห่งจิตสำเร็จด้วยกิริยา. แม้
อย่างนี้ก็ไม่ควร. ความจริงไม่ควรเห็นว่า จิตสำเร็จด้วยกิริยาทั้งหมดของพระ
มหาโพธิสัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งการสะสมโพธิสมภาร
เท่านั้น แม้การทำความเพียรติดต่อกันไป ท่านก็ห้ามด้วยบทนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง พึงทราบนิรันดรภาวนา เพราะความติดต่อกันแห่งชาติ. พระมหา-
โพธิสัตว์ยังมหาปณิธานให้เกิดในชาติใด ชาตินั้นย่อมไม่เข้าไปได้ตั้งแต่นั้น
จนถึงอัตภาพหลัง. ชาติใดที่พระมหาโพธิสัตว์สะสมโพธิสมภารไว้หมดสิ้น
ทุกประการ โดยที่สุดหมายเอาเพียงทานบารมีก็พึงมีไม่ได้. เพราะชาตินี้
เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนากิจของพระศาสนา. พระ-
โพธิสัตว์เหล่านั้น ยังไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เพียงใด
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถึงความขวนขวายอันมีขอบเขตในการสะสมบุญ

เพียงนั้น. อนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ทั้งหลายถึงความเป็นผู้ชำนาญในกรรม
เป็นต้นโดยประการทั้งปวง เมื่อนั้นความเคลื่อนไหวและกระทำติดต่อใน
โพธิสมภารทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์โดยไม่มีขอบเขตตั้งแต่นั้น. ก็การทำโดย
ความเคารพย่อมเป็นกาลทั้งหมด. ความสำเร็จตามความประสงค์ ย่อม
สมบูรณ์ในทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. พึงทราบว่าท่านประกาศภาวนา
4 อย่าง คือ สพฺพสมฺภารภาวนา 1 จิรกาลภาวนา 1 นิรนฺตรภาวนา 1
สกฺกจฺจภาวนา 1
ในโพธิสมภารทั้งหลาย ด้วยคาถานี้.
ในบทนั้นเพราะความประพฤติของพระโพธิสัตว์ โพธิสมภาร โพธิ-
จริยา อัครยาน บารมี เป็นอันเดียวกันโดยอรรถ พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.
อนึ่ง เพราะบทว่า จริตํ นี้ เป็นคำไม่วิเศษไปจากบารมี มีทานบารมี เป็นต้น
ซึ่งจะกล่าวโดยวิภาคข้างหน้า ฉะนั้นในที่นี้ควรพรรณนาบารมีทั้งหลายเพื่อ
ให้เกิดความเป็นผู้ฉลาดในโพธิสมภารทั้งหมด. เราจักพรรณนาในปกิณณก-
กถา ข้างหน้าจนครบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระจริยาในภูมิของพระโพธิสัตว์
ของพระองค์. โดยไม่วิเศษว่า เป็นเครื่องบ่มมหาโพธิญาณตั้งแต่เริ่มจน
สุดท้าย บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงความที่พระจริยานั้นเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
โดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการถึงความยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง เมื่อจะทรงประกาศ
บุรพจริยาเล็ก ๆ น้อย ๆ ในภัตรกัปนี้โดยวิภาค จึงตรัสคำมีอาทิว่า อตีต-
กปฺเป
ในกัปล่วงแล้วดังนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตีตกปฺเป คือในมหากับมีกำหนดตามที่
กล่าวแล้วล่วงไปแล้วทั้งหมดก่อนหรือกว่าจากกัปนี้ อริบายว่า ในสี่อสงไขย
แสนกัป. บทว่า จริตํ คือการปฏิบัติบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ที่สะสมไว้
แล้ว. บทว่า ฐปยิตฺวา คือเว้นไม่ถือเอา อธิบายว่า ไม่กล่าวถึง. บทว่า
ภวาภเว คือในภพน้อยใหญ่. พึงทราบความในบทว่า อิติภวาภวกถํ ดัง
ต่อไปนี้ ท่านกล่าวถึงความเจริญและความเสื่อมว่า ภวาภว. ในบทที่ว่าล่วง
ความเป็นผู้เจริญและเป็นผู้เสื่อม ท่านประสงค์เอา สมบัติวิบัติ ความเจริญ
ความเสื่อม สสัสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ บุญและบาป ว่า ภวาภว. อนึ่ง
ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหาเมื่อจะเกิดแก่ภิกษุย่อมเกิดขึ้น เพราะ
เหตุของประณีต ท่านประสงค์เอาเภสัชมีเนยใสและเนยขึ้นเป็นต้นอันประ-
ณีต ประณีตยิ่ง ว่า ภวาภว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในสมบัติภพ ภพ
น้อยภพใหญ่ประณีตยิ่ง ประณีตที่สุด ดังนี้บ้าง. เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้
ก็พึงทราบความนั้นนั่นแล ท่านอธิบายว่า ในภพน้อยและภพใหญ่. บทว่า
อิมมฺหิ กปฺเป คือในภัทรกัปนี้. บทว่า ปวกฺขิสฺสํ คือเราจักบอก. บทว่า
สุโณหิ ท่านจงฟัง คือทรงชักชวนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ในการฟัง.
บทว่า เมห คือในสำนักของเรา. อธิบายว่า จากคำพูดของเรา.
จบ นิทานกถา

อรรถกถาอกิตติวรรคที่ 1


1. การบำเพ็ญทานบารมี


อรรถกถาอกิตติจริยาที่ 1


ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะในการฟัง บุรพ-
จริยาของพระองค์ให้เกิดแก่ท่านพระสารีบุตรเถระ และแก่บริษัทกับทั้ง
เทวดาและมนุษย์แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทำบุรพจริยานั้นซึ่งปกปิดไว้ใน
ระหว่างภพให้ประจักษ์ ดุจมะขามป้อมในฝ่ามือ ฉะนั้นจึงตรัสพระดำรัสมี
อาทิว่า :-
ในกาลใดเราเป็นดาบสชื่ออกิตติเข้าไป
อาศัยอยู่ในป่าใหญ่อันว่างเปล่า สงัดเงียบ
ปราศจากเสียงอื้ออึง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยทา คือ ในกาลใด. บทว่า พฺรหารญฺเญ
คือ ในป่าใหญ่ อธิบายว่า ในป่าใหญ่ชื่อว่า อรัญญานี. บทว่า สุญฺเญ
ว่างเปล่า คือ สงัดจากชน. บทว่า วิปินภานเน คือ ป่าเล็ก ๆ อันสงัด
เงียบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเงียบของป่านั้นด้วยสองบท บท
ทั้งหมดนั้นท่านกล่าวหมายถึงการทวีป. บทว่า อชฺโฌคาเหตฺวา คือเข้าไป
อาศัย. บทว่า วิหรามิ คือเรากำจัดทุกข์ของร่างกายอยู่ยังอัตภาพให้เป็นด้วย