เมนู

2. สังขพราหมณจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของสังพราหมณ์


[2] อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อเราเป็นพราหมณ์มีนามว่า
สังขะ ต้องการจะข้ามมหาสมุทรไปอาศัยปัฏ-
ฏนคามอยู่ ในกาลนั้น เราได้เห็นพระปัจเจก-
พุทธเจ้าผู้รู้เอง ใคร ๆ ชนะไม่ได้ ซึ่งเดินสวน
ทางมาตามทางกันดาร บนภาคพื้นอันแข็ง ร้อน
จัด ครั้นเราเห็นท่านเดินสวนทางมา จึงคิด
เนื้อความนี้ว่า บุญเขตนี้มาถึงแก่เราผู้เป็นสัตว์
ที่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนบุรุษชาวนา เห็น
นาอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ( เป็นที่น่ายินดีมาก)
ไม่ปลูกพืชลงในนานั้น เขาชื่อว่าเป็นผู้ไม่ต้อง
การด้วยข้าวเปลือกฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นเขตบุญอันประ-
เสริฐสุดแล้ว ถ้าไม่ทำบุญ คือสักการะ เราก็ชื่อ
ว่าเป็นผู้ไม่ต้องการบุญ เปรียบเหมือนอำมาตย์
ต้องการจะให้ชนชาวเมืองของพระราชายินดี
แต่ไม่ให้ทรัพย์และข้าวเปลือกแก่เขา ก็ย่อม

เสื่อมจากความยินดี ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้ต้องการบุญ เห็นทักขิไณยบุคคล
อันไพบูลย์แล้ว ถ้าไม่ให้ทานในทักขิไณย-
บุคคลนั้นก็จักเสื่อมจากบุญ ครั้นเราคิดอย่างนี้
แล้วจึงถอดรองเท้า ไหว้เท้าของท่านแล้ว ได้
ถวายร่มและรองเท้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น
ผู้ละเอียดอ่อนเจริญสุขได้ร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง
เมื่อเราบำเพ็ญทานให้บริบูรณ์ ได้ถวายแก่ท่าน
นั้น อย่างนี้แล.

จบ สังขพราหมณจริยาที่ 2

อรรถกถาสังขพราหมณจริยาที่ 2


พึงทราบวินิจฉัยในสังขพราหมณจริยาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า
ปุนาปรํ ตัดบทเป็น ปุน อปรํ อีกเรื่องหนึ่งอธิบายว่า บทนี้มิใช่อกิตติ-
จริยาอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้เราจักกล่าว แม้สังขจริยาอื่นอีก ท่านจงฟัง. แม้
ในบทอื่นจากนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า สงฺขสวฺหโย เป็นชื่อของสังข-
พราหมณ์. บทว่า มหาสมุทฺทํ ตริตุกาโม คือประสงค์จะข้ามมหาสมุทร
ด้วยเรือเพื่อไปยังสุวรรณภูมิ. บทว่า อุปคจฺฉามิ ปฏฺฏนํ คือจะไปอาศัย