เมนู

นั้น แล้วรังเกียจลาภและสักการะประสงค์จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้ว
อธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่างยิ่ง.
ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คำนึงถึงกายแล
ชีวิตของตนด้วยประสงค์จะวางเฉย. การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ
อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทำเบื้องบนของตน. การยังตนให้ตั้งมั่นด้วย
ความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลางใน
ที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะ
ของคนอื่น ดุจพระขีณาสพฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. การ
ถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง
จบ อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ 15
จบ อุเบกขาบารมี
จบ ยุธัญชยวรรคที่ 3

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ


1. ยุธัญชยจริยา 2. โสมนัสสจริยา 3. อโยฆรจริยา 4. ภิงสจริยา
5. โสณนันทปัณฑิตจริยา 6. มูคผักขจริยา 7. กปิลราชจริยา 8. สัจจ-
สวหยปัณฑิตจริยา 9. วัฏฏกโปตกจริยา 10. มัจฉราชจริยา 11. กัณห-
ทีปายนจริยา 12. สุตโสมจริยา 13. สุวรรณสามจริยา 14. เอกราชจริยา
15. มหาโลมหังสจริยา เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ตรัสแล้ว เราได้เสวยทุกข์และสมบัติมากมาย
หลายอย่าง ในภพน้อยภพใหญ่ ตามนัยที่
กล่าวแล้วอย่างนี้ แล้วจึงได้บรรลุสัมมาสัม-
โพธิญาณอันสูงสุด เราได้ให้ทานอันควรให้
บำเพ็ญศีล โดยหาเศษมิได้ถึงเนกขัมมบารมี
แล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด เรา
สอบถามบัณฑิตทั้งหลาย ทำความเพียรอย่าง
อุกฤษฏ์อย่างถึงขันติบารมี แล้วจึงบรรลุสัมมา-
สัมโพธิญาณอันสูงสุด เรากระทำอธิษฐาน
อย่างมั่น ตามรักษาสัจวาจา ถึงเมตตาบารมี
แล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เราเป็นผู้มีจิตเสมอในลาภและความเสื่อมลาภ
ในยศและความเสื่อมยศ ในความนับถือและ
การดูหมิ่นทั้งปวงแล้ว จึงบรรลุสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันสูงสุด ท่านทั้งหลายจงเห็นความ
เกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการ

ปรารภความเพียรโดยเป็นทางเกษม แล้วจง
ปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเห็น
ความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความ
ไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษม แล้วจงกล่าววาจา
อ่อนหวานอันสมัครสมากันเถิด นี้เป็นคำสั่ง
สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และ
เห็นความไม่ประมาทโดยเป็นทางเกษม แล้ว
จงเจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
เถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง-
หลาย.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องบุรพจรรยาของพระ-
องค์ จึงได้ตรัสธรรมบรรยายชื่อพุทธาปทานีย์ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ จริยาปิฎก

สโมธานกถา


สรุปการบำเพ็ญบารมี 30 ข้อ


[36] การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิ-
ญาณเหล่านี้ จัดเป็นบารมี 10 อุปบารมี 10
ปรมัตถบารมี 10 คือการบำเพ็ญทานในภพที่
ตถาคตเป็นพระเจ้าสิวิราชผู้ประเสริฐเป็นทาน-
บารมี ในภพที่เราเป็นเวสสันดรและเป็น
เวลามพราหมณ์ เป็นทานอุปบารมี ในภพที่เรา
เป็นอกิตติดาบสอดอาหารนั้นเป็นทานอุปบารมี
ในภพที่เราเป็นพระยาไก่ป่าสีลวนาคและพระ-
ยากระต่าย เป็นทานปรมัตถบารมี ในภพที่เรา
เป็นพระยาวานร ช้างฉันททันต์ และช้างเลี้ยง
มารดา เป็นศีลบารมี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวง
หาคุณยิ่งใหญ่ตรัสไว้ดังนี้ การรักษาศีลในภพ
ที่เราเป็นจัมเปยยกนาคราช และภูริทัตตนาค-
ราช เป็นศีลอุปบารมี ในภพที่เราเป็นสังข-