เมนู

นั้น แล้วรังเกียจลาภและสักการะประสงค์จะรักษาความนับถือของผู้อื่น แล้ว
อธิษฐานคุณของบรรพชาไม่ให้มีเหลือด้วยจิตเท่านั้น แล้วอยู่เป็นสุขอย่างยิ่ง.
ความเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง. ความยินดีในความสงัด การไม่คำนึงถึงกายแล
ชีวิตของตนด้วยประสงค์จะวางเฉย. การประพฤติขัดเกลากิเลสถึงขั้นอุกฤษฏ
อดกลั้นความน่าเกลียดที่ผู้อื่นทำเบื้องบนของตน. การยังตนให้ตั้งมั่นด้วย
ความที่กิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีน้อย ด้วยความเป็นกลางใน
ที่ทั้งปวง อันเป็นเหตุแห่งความไม่ผิดปกติในผู้มีอุปการะและไม่มีอุปการะ
ของคนอื่น ดุจพระขีณาสพฉะนั้น แล้วไม่ติดด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. การ
ถึงยอดแห่งอุเบกขาบารมี อันเป็นพุทธบารมีของบารมีทั้งปวง
จบ อรรถกถามหาโลมหังสจริยาที่ 15
จบ อุเบกขาบารมี
จบ ยุธัญชยวรรคที่ 3

รวมจริยาที่มีในวรรคนี้คือ


1. ยุธัญชยจริยา 2. โสมนัสสจริยา 3. อโยฆรจริยา 4. ภิงสจริยา
5. โสณนันทปัณฑิตจริยา 6. มูคผักขจริยา 7. กปิลราชจริยา 8. สัจจ-
สวหยปัณฑิตจริยา 9. วัฏฏกโปตกจริยา 10. มัจฉราชจริยา 11. กัณห-
ทีปายนจริยา 12. สุตโสมจริยา 13. สุวรรณสามจริยา 14. เอกราชจริยา
15. มหาโลมหังสจริยา เป็นอุเบกขาบารมีดังนี้.