เมนู

9. วัฏฏกโปตกจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม


[29] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นลูกนกคุ่ม
ขนยังไม่งอก ยังอ่อนเป็นดังชิ้นเนื้อ อยู่ในรัง
ในมคธชนบท ในกาลนั้น มารดาเอาจะงอย
ปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเรา เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะ
ของมารดา กำลังกายของเรายังไม่มี ในฤดู
ร้อนทุก ๆ ปี มีไฟป่าไหม้ลุกลามมา ไฟไหม้
ป่าเป็นทางดำลุกลามมาใกล้เรา ไฟไหม้ป่า
ลุกลามใหญ่หลวงเสียงสนั่นอื้ออึง ไฟไหม้
ลุกลามมาโดยลำดับ เข้ามาใกล้จวนจะถึงเรา
มารดาบิดาของเราสะดุ้งใจหวาดหวั่น เพราะ
กลัวไฟที่ไหม้มาโดยเร็ว จึงทิ้งเราไว้ในรังหนี
เอาตัวรอดไปได้ เราเหยียดเท้า กางปีกออก
รู้ว่า กำลังกายของเราไม่มี เรานั้นไปไม่ได้อยู่
ในรังนั้นเอง จึงคิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า เมื่อ

ก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่น พึงเข้าไปซ่อนตัวอยู่
ในระหว่างปีของมารดาบิดา บัดนี้ มารดาบิดา
ทิ้งเราหนีไปเสียแล้ว วันนี้ เราจะทำอย่างไร
ศีลคุณ ความสัตย์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้
ประกอบด้วยความสัตย์ เอ็นดูกรุณามีอยู่ใน
โลก ด้วยความสัตย์นั้น เราจักกระทำสัจจกิริยา
อันสูงสุด เราคำนึงถึงกำลังพระธรรม ระลึกถึง
พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารอันมีในก่อน ได้กระทำ
สัจจกิริยา แสดงกำลังความสัตย์ว่า ปีกของ
เรามีอยู่ แต่ยังบินไม่ได้ เท้าของเรามีอยู่ แต่
ยังเดินไม่ได้ มารดาบิดาก็พากันบินออกไปแล้ว
แน่ะไฟ จงกลับไป ( จงดับเสีย) พร้อมกับ
เมื่อเรากระทำสัจจกิริยา ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ใหญ่
หลวงเว้นไว้ 16 กรีส ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือน
จุ่มลงในน้ำ ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบ วัฏฏกโปตกจริยาที่ 9

อรรถกถาวัฏฏโปตกจริยาที่ 9


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาวัฏฏกโปตกจริยาที่ 9 ดังต่อไปนี้. ใน
บทว่า มคเธ วฏฺฏโปตโก เป็นอาทิ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ในกาลเมื่อ
เราเกิดในกำเนิดนกคุ่มในอรัญญประเทศแห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ทำลาย
เปลือกไข่ยังอ่อนเพราะออกไม่นาน ยังเป็นชิ้นเนื้อขนยังไม่ออกเป็นลูกนก
คุ่มอยู่ในรังนั่นเอง. บทว่า มุขตุณฺฑเกนาหริตฺวา ความว่า มารดาของเรา
เอาจะงอยปากคาบเหยื่อมาเลี้ยงเราตลอดกาล. บทว่า ตสฺสา ผสฺเสน ชีวามิ
เราเป็นอยู่ด้วยผัสสะของมารดานั้น ความว่า เราเป็นอยู่ คือยังอัตภาพให้
เป็นไปด้วยการสัมผัสตัวของมารดาของเรานั้น ผู้สัมผัสเราตลอดกาลโดยชอบ
เพื่อความอบอุ่นและเพื่ออบรม. บทว่า นตฺถิ เม กายิกํ พลํ คือกำลัง
อาศัยกายของเราไม่มี เพราะยังเล็กนัก.
บทว่า สํวจฺฉเร คือทุก ๆ ปี. บทว่า คิมฺหสมเย คือในฤดูร้อน.
ไฟไหม้ป่า ในท้องที่นั้นด้วยไฟที่เกิดขึ้นเพราะการเสียดสีกันและกันของกิ่ง-
ไม้แห้ง ไฟไหม้ป่าด้วยเหตุนั้น. บทว่า อุปคจฺฉติ อมฺหากํ คือไฟที่ได้
ชื่อว่า ปาวก เพราะชำระพื้นที่อันเป็นที่อยู่ของเราให้สะอาด ด้วยทำที่ไม่
สะอาดอันเป็นที่ตั้งของตนให้สะอาด. และทางไปชื่อว่า เป็นทางดำเพราะนำ
เชื้อไฟมาเป็นเถ้าไหม้ที่กอไม้ในป่าเข้ามาใกล้.