เมนู

4. จูฬโพธิจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก


[14] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นบริพาชก
ชื่อจูฬโพธิ มีศีลงาม เราเห็นภพโดยเป็นสิ่ง
น่ากลัว จึงออกบวชเป็นดาบส นางพราหมณ์
ผู้มีผิวพรรณดังทองคำ ซึ่งเป็นภรรยาของเรา
แม้นางก็มิได้อาลัยในวัฏฏะ ออกบวชเป็น
ตาปสินี เราทั้งสองไม่มีความอาลัย ตัดพวก
พ้องขาด ไม่ห่วงใยในตระกูล และหมู่ญาติ
เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มาถึงยังพระนคร
พาราณสี เราทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้น มีปัญญา
ไม่เกี่ยวข้องในตระกูลและคณะ เราทั้งสอง
อยู่ในพระราชอุทยานอันไม่เกลื่อนกล่น สงัด
เสียง พระราชาเสด็จทอดพระเนตรพระราช-
อุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นนางพราหมณี
จึงเสด็จเข้ามาหาเราแล้วตรัสถามว่า นาง-
พราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยา
ของใคร เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้ เราได้

ทูลแก่พระองค์ดังนี้ว่า นางพราหมณีนี้มิใช่
ภริยาของอาตมภาพ เป็นผู้ประพฤติธรรม
ร่วมกัน เป็นผู้มีคำสอนร่วมกัน พระราชาทรง
กำหนัดหนักหน่วงในนางพราหมณีนั้น จึง
รับสั่งให้พวกราชาบุรุษจับ ทรงบีบคั้นด้วย
กำลังสั่งให้นำเข้าไปยังภายในพระนคร เมื่อ
ภริยาเก่าของเราเกิดร่วมกัน มีคำสอนร่วมกัน
ถูกฉุดคร่าไป ความโกรธพึงเกิดแก่เรา เรา
ระลึกถึงศีลวัตรได้พร้อมกับความโกรธที่เกิด
ขึ้น เราข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง ไม่ให้
มันเจริญขึ้นไปอีก ถ้าใคร ๆ พึงเอาหอกอัน
คมกริบแทงนางพราหมณีนั้น เราก็ไม่พึงทำ
ลายศีลของเราเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณ
เท่านั้น เราจักเกลียดนางพราหมณีนั้น
ก็หามิได้ และเราจะไม่มีกำลังก็หามิได้ เพราะ
พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้น
เราจึงรักษาศีลไว้ ฉะนี้แล.

จบ จูฬโพธิจริยาที่ 4

อรรถกถาจูฬโพธิจริยาที่ 4


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจูฬโพธิจริยาที่ 4 ดังต่อไปนี้. บทว่า
จูฬโพธิ ชื่อว่า จูฬโพธิท่านยกขึ้นในจริยานี้ หมายถึงอัตภาพของปริพาชก
ชื่อว่ามหาโพธิ. อนึ่ง ในชาดกนี้ไม่พึงเห็นว่า เพราะมีมหาโพธิพี่ชาย
เป็นต้นของตน. บทว่า สุสีลวา คือมีศีลด้วยดี อธิบายว่า ถึงพร้อม
ด้วยศีล. บทว่า ภวํ ทิสฺวาน ภยโต เห็นภพโดยเป็นของน่ากลัว คือ
เห็นภพมีกามภพเป็นต้น โดยความเป็นของพึงกลัว. ในบทว่า เนกฺขมฺมํ
นี้ พึงเห็นว่าลบ ศัพท์. ด้วยเหตุนั้น ควรยก บทว่า ทิสฺวาน เข้า
มาด้วยเป็น เนกฺขมฺมํ ทิสฺวาน คือเห็นเนกขัมมะ ดังนี้. บทนี้ท่าน
อธิบายว่า เห็นภพมีกามภพเป็นต้น แม้ทั้งปวงปรากฏโดยเป็นของน่ากลัว
ในสังสารวัฏ ด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ 8 เหล่านี้ คือ ชาติชรา-
พยาธิมรณะ อบายทุกข์. ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูล
ในอนาคต. ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน. ละเห็นเนกขัมมะ
แม้ 3 อย่างนี้ คือ นิพพาน 1 สมถวิปัสสนาอันเป็นอุบายแห่งนิพพาน
นั้น 1 และบรรพชา อันเป็นอุบายแห่งสมถวิปัสสนานั้น 1 โดยเป็น
ปฏิปักษ์ต่อภพนั้นด้วยญาณจักษุอันสำเร็จด้วยการฟังเป็นต้น แล้วจึงออก
จากความเป็นคฤหัสถ์อันอากูลด้วยโทษมากมาย ด้วยการบรรพชาเป็นดาบส
แล้วจึงไป. บทว่า ทุติยิกา คือภรรยาเก่า ได้แก่ภรรยาครั้งเป็นคฤหัสถ์.
บทว่า กนกสนฺนิภา คือมีผิวดังทองคำ. บทว่า วฏฺเฏ อนเปกฺขา