เมนู

2. ภูริทัตตจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช


[12] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยานาค
ชื่อภูริทัต มีฤทธิ์มาก เราไปยังเทวโลกพร้อม
กับท้าววิรูปักข์มหาราช ในเทวโลกนั้น เราได้
เห็นทวยเทพผู้สมบูรณ์ด้วยความสุข โดยส่วน
เดียว จึงสมาทานศีลวัตร เพื่อต้องการจะไป
ยังสวรรค์นั้น เราชำระร่างกาย บริโภคอาหาร
พอเป็นเครื่องเลี้ยงชีพแล้ว อธิษฐานอุโบสถ
มีองค์ 4 ประการว่า ผู้ใดพึงทำกิจด้วยผิวหนัง
ก็ดี ด้วยเนื้อก็ดี ด้วยเอ็นก็ดี ด้วยกระดูกก็ดี
ขอผู้นั้นจงนำเอาอวัยวะที่เราให้นี้ไปเถิด แล้ว
นอนอยู่บนยอดจอมปลวก พราหมณ์อาลัม-
พายน์ อันบุคคลผู้ไม่รู้อุปการะที่บุคคลอื่นทำ
แล้ว บอกแล้ว ได้จับเราใส่ไว้ในตะกร้า ให้
เราเล่นในที่นั้น ๆ แม้เมื่อพราหมณ์อาลัมพายน์
ใส่เราไว้ในตะกร้า แม้เมื่อบีบเราด้วยฝ่ามือ
เราก็ไม่โกรธ เพราะเรากลัวศีลของเราจะขาด

การที่เราบริจาคชีวิตของตน เป็นของเบาแม้
ว่าหญ้า การล่วงศีลของเรา เป็นเหมือนดังว่า
แผ่นดิน เราพึงสละชีวิตของเราสิ้นร้อยชาติ
เนือง ๆ เราไม่พึงทำลายศีลแม้เพราะเหตุแห่ง
ทวีปทั้ง 4 ถึงแม้เราจะถูกพราหมณ์อาลัมพายน์
ใส่ไว้ในตะกร้าเราก็มิได้ทำจิตให้โกรธเคือง
เพื่อรักษาศีลเพื่อบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็ม ฉะนี้
แล.

จบ ภูริทัตตจริยาที่ 2

อรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ 2


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาภูริทัตตจริยาที่ 2 ดังต่อไปนี้. บทว่า
ภูริทตฺโต คือผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน จึงชื่อว่า ภูริทัตตะ. ชื่อที่มารดา-
บิดาของพระโพธิสัตว์ตั้งให้ในครั้งนั้นว่า ทัตตะ. ก็พระโพธิสัตว์นั้นวินิจฉัย
ปัญญาอันเกิดขึ้นในนาคพิภพ ในพิภพของท้าววิรูปักษ์มหาราช และใน
ดาวดึงส์พิภพด้วยดี. เมื่อท้าววิรูปักษ์มหาราชไปเมืองไตรทศกับบริษัทนาค
แล้วนั่งล้อมท้าวสักกะ. ปัญหาตั้งขึ้นในระหว่างทวยเทพ. ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ
แก้ปัญหานั้นได้. พระมหาสัตว์นั่งอยู่บนบัลลังก์อันประเสริฐ ซึ่งท้าวสักกะ
อนุญาต จึงแก้ปัญหานั้น. ลำดับนั้นท้าวเทวราช จึงบูชาพระมหาสัตว์ด้วย