เมนู

10. สสปัณฑิตจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของสสบัณฑิต


[10] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นกระต่าย
เที่ยวอยู่ในป่า มีหญ้า ใบไม้ ผักและผลไม้
เป็นภักษา เว้นจากการเบียดเบียนผู้อื่น ใน
กาลนั้น ลิง สุนัขจิ้งจอก ลูกนาคและเราเป็น
สหายอยู่ร่วมกัน มาพบกันทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า
เราสั่งสอนสหายเหล่านั้นในกุศลธรรมและ
อกุศลธรรมว่า ท่านทั้งหลาย จงเว้นบาปกรรม
เสีย จงตั้งอยู่ในกรรมอันงาม เราเห็นพระจันทร์
เต็มดวงในวันอุโบสถ จึงนอกแก่สหายเหล่า
นั้นว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายจง
ตระเตรียมทานทั้งหลายเพื่ออให้แก่ทักขิไณย.
บุคคลครั้นให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้ว จง
รักษาอุโบสถ สหายเหล่านั้นรับคำของเราว่า
สาธุ แล้วได้ตระเตรียมทานต่าง ๆ ตามสติกำลัง
แล้วแสวงหาทักขิไณยบุคคล เรานอนคิดถึง

ทานอันสมควรแก่ทักขิไณยบุคคลว่า ถ้าเราพึง
ได้ทักขิไณยบุคคล เราจักให้อะไรเป็นทาน งา
ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวสาร และเปรียง ของ
เราไม่มี เราเลี้ยงชีวิตด้วยหญ้า เราไม่อาจให้
หญ้าได้ ถ้าทักขิไณยบุคคลมาสักท่านหนึ่ง
เพื่อขอในสำนักของเรา เราพึงให้ตนของตน
ทักขิไณยบุคคลจักไม่ไปเปล่า ท้าวสักกะทรง
ทราบความดำริของเราแล้ว แปลงเพศเป็น
พราหมณ์เสด็จเข้ามายังสำนักของเรา เพื่อทรง
ทดลองทานของเรา เราเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว
ก็ยินดี ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านมาถึงในสำนัก
ของเรา เพราะเหตุแต่งอาหาร เป็นการดีแล
วันนี้เราจักให้ทานอันประเสริฐที่ใคร ๆ ไม่เคย
ให้แก่ท่าน ท่านผู้ประกอบด้วยศีลคุณ การ
เบียดเบียนผู้อื่นไม่ควรแก่ท่าน ท่านจงไปนำ
เอาไม้ต่าง ๆ มาก่อไฟขึ้น เราจักปิ้งตัวของเรา
ท่านจักได้กินเนื้อที่สุก พราหมณ์นั้นรับคำ

แล้ว มีใจร่าเริง นำเอาไม้ต่าง ๆ มาได้ทำเชิง
ตะกอนใหญ่ ทำเป็นห้องอันเต็มด้วยถ่านเพลิง
ก่อไฟโพลงขึ้น ณ ที่นั้นทันทีเหมือนไฟนั้น
เป็นกองใหญ่ฉะนั้น เราสลัดตัวอันมีธุลีแล้ว
เข้าไปนั่งอยู่ข้างหนึ่ง ในเมื่อกองไม้อันไปติด
ทั่วแล้ว เป็นควันตะลบอยู่ ในกาลนั้น เรา
โดดลงในท่ามกลางระหว่างเปลวไฟ น้ำเย็น
อันผู้ใดผู้หนึ่งดำลงแล้ว ย่อมระงับความกระวน
กระวายและความร้อน ย่อมให้ความยินดี
และปีติ ฉันใดในกาลเมื่อเราเข้าไปยังไฟที่ลุก
โพลง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ความกระวนกระ-
วายทั้งปวงย่อมระงับ ดังดำลงในน้ำเย็นฉะนั้น
เราได้ให้แล้วซึ่งกายทั้งสิ้น โดยไม่เหลือ คือ
ขน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และชิ้นเนื้อหทัย
แก่พราหมณ์ ฉะนี้แล.

จบ สสปัณฑิตจริยาที่ 10

อรรถกถาสสปัณฑิตจริยาที่ 10


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสสปัณฑิตจริยาที่ 10 ดังต่อไปนี้ . บทว่า
ยทา โหมิ คือในกาลใดเราเป็น. บทว่า สสโก ความว่า ดูก่อนสารีบุตร
เราเที่ยวแสวงหาโพธิญาณ ในกาลเมื่อเราเป็นสสปัณฑิต (กระต่าย). จริงอยู่
พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้ถึงความเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของกรรมก็ยังบังเกิด
ในกำเนิดเดียรัจฉานเพื่ออนุเคราะห์สัตว์เดียรัจฉานเช่นนั้น. บทว่า ปวน-
จารโก
คือผู้เที่ยวไปในป่าใหญ่ ชื่อว่า ติณปณฺณสากผลภกฺโข เพราะ
มีหญ้า มีหญ้าแพรกเป็นต้น ใบไม้ที่กอไม้ ผักอย่างใดอย่างหนึ่ง และผลไม้
ที่ตกจากจากต้นไม้. บทว่า ปรวิเหฐนวิวชฺชิโต คือเว้นจากการเบียดเบียนผู้
อื่น. บทว่า สุตฺตโปโต จ คือลูกนาก. บทว่า อหํ ตทา คือในกาล
เมื่อเราเป็นกระต่าย เราสอนสหายมีลิงเป็นต้น. บทว่า กิริเย กลฺยาณปาปเก
คือในกุสลกรรมและอกุสลกรรม. บทว่า ปาปานิ เป็นบทแสดงอาการพร่ำ
สอน. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาปานิ ปริวชฺเชถ คือท่านทั้งหลายจงเว้น
บาปเหล่านี้ คือฆ่าสัตว์ ฯลฯ มิจฉาทิฏฐิ. บทว่า กลฺยหาเณ อภินิวิสฺสถ
ได้แก่กรรมดี คือทาน ศีล ฯลฯ การทำความเห็นให้ตรง. ท่านทั้งหลาย
จงตั้งอยู่ในกรรมดีนี้ ด้วยความเป็นผู้มีกาย วาจา ใจ ของตนให้อยู่เฉพาะ
หน้า. อธิบายว่า จงปฏิบัติกัลยาณปฏิบัตินี้เถิด.
พระมหาสัตว์แม้อุบัติในกำเนิดเดียรัจฉานอย่างนี้ ก็เป็นกัลยาณมิตร
เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยญาณ ทรงแสดงธรรมด้วยการให้โอวาทแก่สัตว์ทั้ง