เมนู

7. จันทกุมารจริยา


ว่าด้วยจริยาวัตรของพระจันทกุมาร


[7] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นโอรสของพระ-
เจ้าเอกราชมีนามว่าจันทกุมาร อยู่ในพระนคร
ปุบผวดี ในกาลนั้น เราพ้นจากการบูชายัญ
แล้ว ออกไปจากที่บวงสรวงนั้น ยังความ
สังเวชให้เกิดขึ้น แล้วยังมหาทานให้เป็นไป
เราไม่ให้ทานแก่ทักขิไณยบุคคลแล้วย่อมไม่
ดื่มน้ำ ไม่เคี้ยวของเคี้ยว และไม่บริโภค
โภชนะ 5 - 6 ราตรีบ้าง เปรียบเหมือนพ่อค้า
รวบรวมสินค้าไว้แล้ว ในที่ใดจะมีลาภมาก
คือได้กำไรมาก ก็นำส้นค้าไปในที่นั้น ฉันใด
แม้อาหารของตนที่เราให้แล้วแก่คนอื่น มีกำลัง
มาก (มากมาย) ฉันนั้น (สิ่งของที่เราให้ผู้อื่น
มีกำลังมา ว่าสิ่งของที่คนใช้เอง ฉันนั้น)
เพราะฉะนั้น ทานที่เราให้ผู้อื่นจักเป็นส่วนร้อย
เรารู้อำนาจประโยชน์นี้ จึงให้ทานในภพน้อย

ภพใหญ่ เราไม่ถอยกลับ คือไม่ท้อถอย จาก
การให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้แล.

จบ จันทกุมารจริยาที่ 7

อรรถกถาจันทกุมารจริยาที่ 7


พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาจันทกุมารจริยาที่ 7 ดังต่อไปนี้. บทว่า
เอกราชสฺส อตฺรโช คือเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสีพระนามว่า เอกราช.
บทว่า นคเร ปุปฺผวติยา ในพระนครบุปผวดี. บทว่า จนฺทสวฺหโย
คือพึงเรียกชื่อด้วยศัพท์ว่า จนฺท อธิบายว่า ชื่อ จันทะ.
มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลกรุงพาราณสีนี้ได้มีชื่อว่าบุปผวดี. ณ เมือง
บุปผวดีนั้น โอรสของพระราชาวสวัดดี พระนามว่า เอกราช ครองราช-
สมบัติ. พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของ
พระเจ้าเอกราชนั้น พระนามว่าโคตมี. พระชนกชนนีขนานพระนามว่า
จันทกุมาร. เมื่อพระจันทกุมารทรงดำเนินได้ ก็เกิดพระโอรสอื่นอีกพระ-
นามว่า สุริยกุมาร. เมื่อสุริยกุมารทรงดำเนินได้ ก็เกิดพระธิดาองค์หนึ่ง
พระนามว่า เสลา. พระโอรสและพระธิดาเหล่านั้นได้มีพระภาดาต่างพระ-
มารดากันอีกสองพระองค์ คือ ภัทเสนะ และ สูร. พระโพธิสัตว์เจริญวัย
ขึ้นโดยลำดับ ได้สำเร็จศิลปศาสตร์และวิชาปกครอง. พระราชบิดาได้
อภิเษกสมรสพระราชธิดาจันทาแก่พระโพธิสัตว์ แล้วทรงตั้งให้เป็นอุปราช.
พระโพธิสัตว์มีพระโอรสองค์หนึ่ง พระนามว่า วาสุละ. พระราชามีปุโรหิต