เมนู

มาเปสฺสามิ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า นเภ ได้แก่ ใน
อากาศ. บทว่า สพฺพรตนมณฺฑิตํ ได้แก่ ตกแต่งประดับด้วยรัตนะ เพราะ
อรรถว่าให้เกิดความยินดีทั้งหมด อย่างละ 10 ๆ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินทองและแก้วลาย ชื่อว่าประดับด้วย
รัตนะทั้งปวง. ซึ่งที่จงกรมนั้นอันประดับด้วยรัตนะทั้งปวง อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า นเภ รตนมณฺฑิตํ ประดับด้วยรัตนะในนภากาศก็มี.
ครั้งนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริอย่างนี้ เทวดาทั้งหลายมี
ภุมมเทวดาเป็นต้น ที่อยู่ในหมื่นจักรวาล ก็มีใจบันเทิง พากันถวายสาธุการ.
พึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศความข้อนั้น ก็ได้ตั้ง
คาถาเป็นต้นว่า
เหล่าเทวดาภาคพื้นดิน ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาว-
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี และเหล่าเทวดาฝ่ายพรหม ก็พากันร่าเริงเปล่ง
เสียงดังถูกก้อง.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ ที่ตั้งอยู่ภาคพื้นดิน เช่น
ตั้งอยู่ที่หิน ภูเขา ป่าและต้นไม้เป็นต้น. บทว่า มหาราชิกา ได้แก่ ผู้เป็น
ฝ่ายมหาราช. อธิบายว่า เทวดาที่อยู่ในอากาศได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาที่อยู่
ภาคพื้นดิน ก็เปล่งเสียงดัง ต่อนั้น เทวดาเมฆหมอก จากนั้นเทวดาเมฆร้อน
เทวดาเมฆเย็น เทวดาเมฆฝน เทวดาเมฆลม ต่อจากนั้น เทวดาชั้นจาตุ-
มหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวส-
วัตดี ต่อจากนั้นหมู่พรหม พรหมชั้นพรหมปุโรหิต ชั้นมหาพรหม ชั้น

ปริตตาภา ชั้นอัปปมาณาภา ชั้นอาภัสสรา ชั้นปริตตสุภา ชั้นอัปปมาณสุภา
ชั้นสุภกิณหา ชั้นเวหัปผลา ชั้นอวิหา ชั้นอตัปปา ชั้นสุทัสสา ชั้นสุทัสสี
ต่อจากนั้น เทวดาชั้นอกนิษฐา ได้ยินเสียงก็เปล่งเสียงดัง เทวดามนุษย์และนาค
เป็นต้นทั้งหมด ในสถานที่ ๆโสตายตนะรับฟังได้ เว้นอสัญญีสัตว์และอรูปวจร-
สัตว์ มีใจตกอยู่ใต้อำนาจปีติ ก็พากันเปล่งเสียงดังก้องสูงลิบ. บทว่า อานนฺ-
ทิตา
ได้แก่ มีใจบันเทิงแล้ว อธิบายว่า เกิดปีติโสมนัสเอง. บทว่า วิปุลํ
ได้แก่ หนาแน่น.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติที่มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ใน
ลำดับที่ทรงพระพุทธดำริแล้วนั่นเอง ทรงอธิษฐานว่า ขอแสงสว่างจงมีทั้ง
หมื่นจักรวาล. พร้อมกับอธิษฐานจิตนั้น แสงสว่างก็ปรากฏ ตั้งแต่แผ่นดินไป
จนจดอกนิษฐภพ. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
แผ่นดินพร้อมทั้งเทวโลกก็สว่างจ้า โลกันตริก-
นรกอันหนาก็ปิดไว้ไม่ได้ ความมืดทึบก็ถูกขจัดใน
ครั้งนั้น เพราะพบปาฏิหาริย์ อันน่ามหัศจรรย์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสิตา แปลว่า สว่างแจ้งแล้ว. ใน
คำว่า ปฐวีนี้ ปฐวีนี้มี 4 อย่าง คือ กักขฬปฐวี สสัมภารปฐวี นิมิตตปฐวี
สมมุติปฐวี.
ใน

ปฐวี 4 อย่าง

นั้น ปฐวีที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ
ปฐวีธาตุภายในเป็นอย่างไร. ของหยาบ ของแข้น ภายใน จำเพาะตน อันใด
ดังนี้ อันนี้ชื่อว่า กักขฬปฐวี.