เมนู

นิคมนกถา



คำส่งท้ายเรื่อง
การพรรณนาพุทธวงศ์ อันงดงามด้วยนัยอันวิจิตร
ซึ่งผู้รู้บทพรรณนาให้ง่าย ถึงความสำเร็จด้วยกถา
เพียงเท่านี้.
ข้าพเจ้ายึดทางแห่งอรรถกถาเก่า อันประกาศ
ความแห่งบาลี เป็นหลักอย่างเดียว แต่งอรรถกถา
พุทธวงศ์
เพราะละเว้นความที่เยิ่นเย่อ ประกาศแต่ความ
อันไพเราะทุกประการ ฉะนั้น จึงชื่อว่า มธุรัตถวิลาสินี.
เมื่อสาธุชน ผู้มีวาจาไพเราะ ชื่อกัณหทาส สร้าง
วิหาร ที่มีกำแพงและซุ่มประตูอันงามโดยอาการต่างๆ
ถึงพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ น่าดู น่ารื่นรมย์ เป็นที่
คับแคบแห่งทุรชนที่ถูกกำจัด เป็นที่สงัดสบาย น่า
เจริญใจ ณ ท่าเรือกาวีระ เป็นพื้นแผ่นดินที่เต็มด้วย
ชุมทางน้ำแห่งแม่น้ำกาวีระ น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่น
ด้วยหญิงชายต่าง ๆ.
ข้าพเจ้าอยู่ ณ พื้นปราสาทด้านทิศตะวันออกใน
วิหารนั้น ที่เย็นอย่างยิ่ง แต่งอรรถกถาพรรณนาพุทธ-
วงศ์.

อรรถกถาพรรณนาพุทธวงศ์นี้ เว้นอันตราย
ข้าพเจ้าแต่งสำเร็จดีแล้ว ฉันใด ขอความตรึกของชน
ทั้งหลาย ที่ชอบด้วยธรรม จงถึงความสำเร็จ โดยเว้น
อันตราย ฉันนั้น.
ข้าพเจ้าผู้แต่งอรรถกถาพุทธวงศ์นี้ ปรารถนา
บุญอันใด ด้วยเทวานุภาพแห่งบุญนั้น ขอโลกจง
ประสบประโยชน์อย่างดี ที่สงบยั่งยืนทุกเมื่อ.
ขอโรคทั้งปวงในมนุษย์ทั้งหลาย จงพินาศไป
แม้ฝนก็จงตกต้องตามฤดูกาล แม้สัตว์นรกก็จงมีสุข
อย่างดีเป็นนิตย์ เหล่าปีศาจทั้งหลาย ก็จงปราศจาก
ความหิวกระหาย.
ขอเทวดาทั้งหลาย กับหมู่อัปสรเป็นต้น จงเสวย
สุขในเทวโลกนาน ๆ. ขอธรรมของพระจอมมุนี จง
ดำรงอยู่ในโลก ยั่งยืนนาน. ขอท่านผู้มีหน้าที่คุ้มครอง
โลก จงปกครองแผ่นดินให้เป็นสุขเถิด.
พระเถระโดยนามที่ท่านครูทั้งหลาย ขนานให้
ปรากฏว่า พุทธทัตตะ แต่งคัมภีร์อรรถกถา ชื่อมธุรัตถ-
วิลาสินี.
ตั้งคัมภีร์นี้ที่นำประโยชน์สืบ ๆ กันมา โดยความ
ที่สังขารตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องตกไปสู่อำนาจมฤตยู
หนอ.

คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี กล่าวโดยภาณวารมี 26 ภาณวาร โดยคันถะ
มี 6,500 คันถะ โดยอักษร มี 20,3000 อักษร.
มธุรัตถวิลาสินีนี้ เข้าถึงความสำเร็จ ปราศจาก
อันตราย ฉันใด ขอความดำริของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัย
ธรรม จงสำเร็จฉันนั้น เทอญ.
จบอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อว่ามธุรัตถวิลาสินี
ด้วยประการฉะนี้.

สมัยนั้น ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง
และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย
ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้
อย่างไรหนอ.
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 จาก 4 ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร 4 บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร 4
บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ
กรุณาเทวดาทั้ง 4 องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร
ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง
พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน
ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ
นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ
คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม
นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน
เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว
นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก
พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.