เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ
สาวกสงฺเฆน
ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺสํ ก็คือ
ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา
ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า
แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น
บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น
ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า
ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ
พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ 6 เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ-
สนฺติ
ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์
ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ
เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์
ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย
ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมในอากาศ ตรัสพุทธ-
วงศ์แม้ทั้งสิ้น กำหนดด้วยกัป นามและชาติเป็นต้นอย่างนี้แล้ว ยังหมู่พระประยูร-
ญาติให้ถวายบังคมแล้วลงจากอากาศ ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่จัดไว้แล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งแล้ว สมาคมพระประยูรญาติก็ถึงความสูงสุด
ด้วยประการฉะนี้ พระประยูรญาติทุกพระองค์ก็ประทับนั่งมีจิตมีอารมณ์เดียว.
แต่นั้น มหาเมฆก็หลั่งฝนโบกขรพรรษลงมา ขณะนั้นเอง น้ำก็ส่งเสียงร้องไหล
ไปภายใต้ ผู้ต้องการจะเปียกก็เปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก แม้แต่หยาดน้ำ ก็ไม่ตกลง
ที่ตัว พระประยูรญาติทั้งหมดเห็นความอัศจรรย์นั้นก็อัศจรรย์ประหลาดใจ พา
กันกล่าวว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ น่าประหลาดใจหนอ. พระศาสดาทรงสดับคำ
นั้นแล้วตรัสว่า มิใช่ฝนโบกขรพรรษตกลงในสมาคมพระประยูรญาติในปัจจุบัน
นี้เท่านั้น แม้ในอดีตกาลก็ตกลงมาเหมือนกัน. เพราะเหตุแห่งอัตถุปปัตตินี้ จึง
ตรัสเวสสันดรชาดก. พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แล้ว. ต่อนั้น พระ-
ศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะเข้าพระวิหาร.
จบพรรณนาวงศ์พระโคดมพุทธเจ้า
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อมธุรัตถวิสาสินีด้วยประการฉะนี้

กัณฑ์ปกิณกะของพระพุทธเจ้า



[27] นับแต่กัปนี้ไป ในกัปที่นับไม่ได้ มีพระ-
พุทธเจ้าผู้นำพิเศษ 4 พระองค์ คือ พระตัณหังกร
พระเมธังกร พระสรณังกร และพระทีปังกรสัมพุทธเจ้า
พระชินพุทธเจ้าเหล่านั้น มีในกัปเดียวกัน.
ต่อจากสมัยของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
ผู้นำโลก พระนามว่าโกณฑัญญะ มีพระองค์เดียวใน
กัปหนึ่ง ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะระหว่าง
กัปของพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร และพระศาสดา
โกณฑัญญะ เป็นอันตรกัป นับไม่ถ้วน.
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ก็มี
พระพุทธเจ้าผู้นำ พระนามว่ามังคละ ระหว่างกัปของ
พระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้น เป็นอันตรกัป นับไม่
ถ้วน.
พระมุนีสุมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ และ
พระโสภิตะ พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ทรงทำแสงสว่าง
แม้เหล่านั้น ก็มีในกัปเดียวกัน.
ต่อจากสมัยของพระโสภิตพุทธเจ้า ก็มีพระมหา-
มุนีพุทธเจ้า พระนามว่า อโนมทัสสี. ระหว่างกัปของ
พระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้นเป็นอันตรกัปนับไม่ถ้วน.