เมนู

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระประวัติของพระองค์
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
เราผู้ไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ อยู่ในท่ามกลางภิกษุ
สงฆ์ ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดา-
มณีให้ทุกอย่างที่ชนปรารถนาฉะนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิโรจมาโน ได้แก่ รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระ-
พุทธสิริอันไม่มีที่สุด. บทว่า วิมโล ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทินคือกิเลสมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า มณีว สพฺพกามโท ความว่า เราให้สุขวิเศษทั้งเป็นโลกิยะ
และโลกุตระทุกอย่างที่สาวกมุ่งมาดปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่
ชนปรารถนา.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความปรารถนาที่สาวกปรารถนา จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า
ด้วยความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย เราจึงประกาศ
สัจจะ 4 แก่ผู้จำนงหวังผล ผู้ต้องการละความพอใจ
ในภพ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลํ ได้แก่ ผล 4 อย่างมีโสดาปัตติผล
เป็นต้น. บทว่า ภวจฺฉนฺทชเหสินํ ได้แก่ ผู้ละภวตัณหา ผู้ต้องการละ
ภวตัณหา. บทว่า อนุกมฺปาย ได้แก่ ด้วยความเอ็นดู.
บัดนี้ ครั้นทรงทำการประกาศสัจจะ 4 แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอภิสมัย
จึงตรัสว่า ทสวีสสหสฺสานํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีส-

สหสฺสานํ ได้แก่ หนึ่งหมื่นและสองหมื่น. อธิบายว่า โดยนัยเป็นต้นว่า
หนึ่งหมื่นสองหมื่น. คาถาที่ 9 และที่ 10 ความง่ายแล.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 11 และที่ 12 ต่อไป. แม้สองศัพท์ว่า อิทา-
เนตรหิ ความก็อันเดียวกัน ท่านกล่าวเหมือนบุรุษบุคคล โดยเป็นเวไนยสัตว์.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทานิ ได้แก่ ในกาลเมื่อเราอุบัติแล้ว. บทว่า เอตรหิ
ได้แก่ ในกาลเมื่อเราแสดงธรรมอยู่. บทว่า อปตฺตมานสา ได้แก่ ผู้ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตผล. บทว่า อริยญฺชสํ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8. บทว่า โถมยนฺตา
แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า พุชฺฌิสฺสนฺติ ความว่า จักแทงตลอดสัจธรรม
4 ในอนาคตกาล. บทว่า สํสารสริตํ ได้แก่ สาครคือสังสารวัฏ.
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงถึงพระนครที่ทรงสมภพเป็นต้นของพระองค์ จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า
เรามีนครชื่อกบิลพัสดุ์ มีพระชนกพระนามว่า
พระเจ้าสุทโธทนะ พระชนนีพระนามว่าพระนางมายา
เทวี.
เราครองฆราวาสวิสัยอยู่ 29 ปี มีปราสาทอย่าง
เยี่ยม 3 หลัง ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ.
มีพระสนมกำนัลสี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระ-
นามว่า ยโสธรา มีโอรสพระนามว่า ราหุล.
เราเห็นนิมิต 4 ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ
ม้า บำเพ็ญเพียรทำทุกกรกิริยา 6 ปี.
เราประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะกรุงพาราณ-
สี เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะเป็น
สรณะของสัตว์ทั้งปวง.

คู่ภิกษุอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระอุป-
ติสสะ มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำสำนัก ชื่อว่าพระ-
อานันทะ มีภิกษุณีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และ
พระอุบลวรรณา.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดม ณ โคนโพธิ-
พฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ มีรัศมีกายวาหนึ่ง ประจำ กาย
สูง 6 ศอก.
เรามีอายุน้อย 100 ปี ในบัดนี้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่
ประมาณเท่านั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
เราตั้งคบเพลิง คือธรรมไว้ปลุกชนที่เกิดมาภาย
หลังให้ตื่น ไม่นานนัก เราพร้อมทั้งสงฆ์สาวกก็จัก
ปรินิพพานในที่นี้นี่แหละ เพราะสิ้นอาหาร เหมือน
ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ทุกอย่างว่า เรามีปราสาท 3 หลัง
ชื่อสุจันทะ โกกนุทะและโกญจะ มี 9 ชั้น 7 ชั้น และ 5 ชั้น มีสนมนาฏกะ
สี่หมื่นนาง มีอัครมเหสีพระนามว่า ยโสธรา เรานั้นเห็นนิมิต 4 ออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า แต่นั้น ก็ตั้งความเพียร 6 ปี ในวันวิสาขบูรณมีก็
บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดาของ เสนานิกุฎุมพี ณ อุรุเวลาเสนานิคม ชื่อสุชาดา
ผู้เกิดความเลื่อมใสถวายแล้ว พักกลางวัน ณ สาลวัน เวลาเย็นรับหญ้า 8 กำ ที่
ค้นหาบหญ้าชื่อ โสตถิยะ ถวายแล้ว เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ
กำจัดกองกำลังของมาร ณ ที่นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ
สาวกสงฺเฆน
ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺสํ ก็คือ
ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา
ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า
แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น
บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น
ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า
ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ
พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ 6 เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ-
สนฺติ
ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์
ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ
เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์
ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย
ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.