เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นรเทวสมาคเม ความว่า สมัยอื่นนอก
จากนั้น ในมหามงคลสมาคม ท่ามกลางเทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาล เวลา
จบมงคลสูตร อภิสมัยได้มีแก่มนุษย์และเทวดา เกินที่จะนับได้. บทว่า ทุติยา-
ภิสมโย อหุ ได้แก่ เหสฺสติ.
เมื่อจะพึงกล่าวคำอนาคตกาล [ว่า เหสฺสติ] แต่
ก็กล่าวคำเป็นอดีตกาลว่า อหุ เพราะตกกระแสแล้ว. หรือจะว่ากล่าวเป็นกาล
วิปลาสก็ได้. ในคำนอกจากนี้และคำเช่นนี้ ก็นัยนี้. ต่อมาอีก ในการทรง
แสดงราหุโลวาทสูตร ก็ทรงยังสัตว์เกินที่จะนับให้ดื่มน้ำอมฤตคืออภิสมัย. นี้
เป็นอภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บัดนี้เราสั่งสอนราหุลลูกของเราในที่นี้นี่แล
อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ได้.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีสาวกสันนิบาตประชุมพระสาวก
ครั้งเดียวเท่านั้น คือ การประชุมพระอรหันต์สาวก 1,250 รูป เหล่านี้คือ
ชฏิลสามพี่น้องมีพระอุรุเวลกัสสปเป็นต้น 1,000 รูป พระอัครสาวกทั้งสอง 250
รูป. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
เรามีสันนิบาตประชุมพระสาวกผู้แสวงหาคุณ
ยิ่งใหญ่เพียงครั้งเดียว คือการประชุมภิกษุ 1,250 รูป.


แก้อรรถ


บรรดาเหล่านั้น บทว่า เอโกสิ ตัดบทเป็น เอโกว อาสิ มีครั้ง
เดียวเท่านั้น . บทว่า อฑฺฒเตรสสตานํ แปลว่า สาวกของเรา 1,250 รูป.
บทว่า ภิกฺขูนาสิ ตัดบทเป็น ภิกฺขูนํ อาสิ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในจาตุรงคสันนิบาต.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระประวัติของพระองค์
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
เราผู้ไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ อยู่ในท่ามกลางภิกษุ
สงฆ์ ให้ทุกอย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดา-
มณีให้ทุกอย่างที่ชนปรารถนาฉะนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิโรจมาโน ได้แก่ รุ่งเรืองอยู่ด้วยพระ-
พุทธสิริอันไม่มีที่สุด. บทว่า วิมโล ได้แก่ ผู้ปราศจากมลทินคือกิเลสมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า มณีว สพฺพกามโท ความว่า เราให้สุขวิเศษทั้งเป็นโลกิยะ
และโลกุตระทุกอย่างที่สาวกมุ่งมาดปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุกอย่างที่
ชนปรารถนา.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความปรารถนาที่สาวกปรารถนา จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า
ด้วยความเอ็นดูสัตว์ทั้งหลาย เราจึงประกาศ
สัจจะ 4 แก่ผู้จำนงหวังผล ผู้ต้องการละความพอใจ
ในภพ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผลํ ได้แก่ ผล 4 อย่างมีโสดาปัตติผล
เป็นต้น. บทว่า ภวจฺฉนฺทชเหสินํ ได้แก่ ผู้ละภวตัณหา ผู้ต้องการละ
ภวตัณหา. บทว่า อนุกมฺปาย ได้แก่ ด้วยความเอ็นดู.
บัดนี้ ครั้นทรงทำการประกาศสัจจะ 4 แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอภิสมัย
จึงตรัสว่า ทสวีสสหสฺสานํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสวีส-