เมนู

แล้ว ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึง
วิสังขาร ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่
สิ้นตัณหาแล้ว.

เรื่องนิทานใกล้



พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับนั่งเปล่งพระพุทธอุทานแล้ว ก็ทรงมี
พระดำริว่า เราท่องเที่ยวมา 4 อสงไขย กำไรแสนกัป ก็เพราะเหตุแห่งบัลลังก์
นี้ บัลลังก์นี้เป็นวิชัยบัลลังก์ มงคลบัลลังก์ของเรา เรานั่งเหนือบัลลังก์นี้ ความ
ดำริยังไม่บริบูรณ์ตราบใด เราก็จักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ตราบนั้น ทรงเข้า
สมาบัตินับได้หลายแสนโกฏิ ประทับนั่งเหนือบัลลังก์นั้น 7 วัน ที่ท่านหมาย
ถึงกล่าวไว้ว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข โดย
บัลลังก์เดียว 7 วัน.
ครั้งนั้น เทวดาบางพวกเกิดปริวิตกว่า แม้วันนี้พระสิทธัตถะ ก็ยังมี
กิจที่จะต้องทำแน่แท้ ด้วยยังไม่ทรงละความอาลัยในพระบัลลังก์ ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย ก็เหาะขึ้นสู่เวหาสทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์ เพื่อระงับความวิตกของเทวดาเหล่านั้น ครั้นทรงระงับความ
วิตกของเทวดาทั้งหลาย ด้วยปาฏิหาริย์นี้อย่างนี้แล้ว ประทับยืน ณ ส่วนทิศ
อุดรอิงทิศปาจีนนิดหน่อย จากบัลลังก์ ทรงพระดำริว่า เราแทงตลอดพระ-
สัพพัญญุตญาณ. ณ บัลลังก์นี้แล้วหนอ ทรงสำรวจดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์
อันเป็นสถานที่ทรงบรรลุผาแห่งพระบารมีทั้งหลาย ที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่
อสงไขย. กับแสนกัป ด้วยดวงพระนครที่ไม่กระพริบ ทรงยับยั้งอยู่ 7 วัน
สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ลำดับนั้น ทรงเนรมิตที่จงกรม ระหว่างบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน
เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมกลับไปมาจากข้างหน้าข้างหลัง ทรงยับยั้งอยู่ 7 วัน.
สถานที่นั้นชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.

แต่ในสัปดาห์ที่ 4 เทวดาทั้งหลายเนรมิตรัตนฆระ เรือนแก้ว ทางทิศ
พายัพแต่โพธิพฤกษ์. ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระ-
อภิธรรมปิฏก ยับยั้งอยู่ 7 วัน. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยับยั้งอยู่ 4 สัปดาห์ ใกล้โพธิพฤกษ์อย่างนี้
แล้ว ในสัปดาห์ที่ 5 เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ
ครั้นแล้ว ก็ประทับนั่งเลือกเฟ้นธรรมและเสวยวิมุตติสุข ณ ต้นอชปาล-
นิโครธ
นั้น.
พระศาสดาครั้นทรงยับยั้ง ณ ต้นอชปาลนิโครธนั้น 7 วันแล้ว ก็เสด็จ
ไปยังโคนต้นมุจลินท์ ณ ที่นั้น พระยานาคชื่อ มุจลินท์ เอาขนด 7 ชั้นวง
ไว้รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น เมื่อเกิดฝนตกพรำ 7 วัน พระศาสดา
เสวยวิมุตติสุข เหมือนประทับอยู่ในพระคันธกุฎีที่ไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่ ณ
โคนต้นมุจลินท์นั้น 7 วัน จึงเสด็จเข้าไปยังโคนต้นราชายตนะ ประทับนั่ง
เสวยวิมุตติสุข ณ ที่นั้น 7 วัน. ครบ 7 สัปดาห์บริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
ในระหว่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีการบ้วนพระโอฐ ไม่มีการปฏิบัติ
สรีรกิจ ไม่มีการเสวยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลอย่างเดียว.
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงชำระพระโอฐด้วยไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา และด้วย
น้ำในสระอโนดาต ที่ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงน้อมถวายในวันที่ 49 วันสุด
ท้ายแห่ง 7 สัปดาห์ ประทับนั่ง ณ โคนต้นราชายตนะ นั้นนั่นแล.

สมัยนั้น พาณิชสองคน ชื่อตปุสสะ และ ภัลลิกะ อันเทวดาผู้เป็น
ญาติสาโลหิต ให้ขมักเขม้นในอันถวายอาหารแด่พระศาสดา ถือข้าวสัตตุผง
และสัตตุก้อน เข้าไปเฝ้าพระศาสดายืนกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอาศัยความกรุณาโปรดทรงรับอาหารนี้ด้วย เพราะเหตุที่บาตรที่เทวดาถวาย
ครั้งทรงรับข้าวมธุปายาส อันตรธานไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่รับอาหารด้วยมือเปล่า เราจะพึงรับอาหารนี้ได้
อย่างไรหนอ.
ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 จาก 4 ทิศ รู้อัธยาศัยของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ก็น้อมบาตร 4 บาตรสำเร็จด้วยแก้วมณีและแก้วมรกตถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามบาตรเหล่านั้น. ท้าวจาตุมหาราชจึงน้อมบาตร 4
บาตร สำเร็จด้วยศิลา สีเหมือนถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความ
กรุณาเทวดาทั้ง 4 องค์นั้น จึงทรงรับไว้ยุบรวมเป็นบาตรเดียวทรงรับอาหาร
ไว้ในบาตรสำเร็จด้วยศิลามีค่ามากนั้น เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนา. พาณิชสอง
พี่น้องนั้น ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เป็น ทเววาจิกอุบาสก.
ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปต้นอชปาลนิโครธอีกประทับนั่ง ณ โคน
ต้นนิโครธ. พอประทับนั่ง ณ ที่นั้นเท่านั้นทรงพิจารณาว่า ธรรมที่ทรงบรรลุ
นั้น ลุ่มลึก ก็เกิดพระปริวิตกที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมา ถึงอาการ
คือ ความมีพระพุทธประสงค์จะไม่ทรงแสดงธรรมโปรดผู้อื่น โดยนัยว่า ธรรม
นี้เราบรรลุแล้ว. ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงดำริว่า โลกย่อยยับกันละท่าน
เอย โลกย่อยยับกันละท่านเอย ก็พา ท้าวสักกะ ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าว
นิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีและมหาพรหม ในหมื่นจักรวาล มายังสำนัก
พระศาสดา ทูลอ้อนวอนให้ทรงแสดงธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม.

พระศาสดาประทานปฏิญาณรับแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว ทรง
พระดำริว่า ควรแสดงธรรมโปรดใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า อาฬารดาบสและ
อุททกดาบสทำกาละเสียแล้ว ทรงปรารภภิกษุปัญจวัคคีย์ใส่ไว้ในพระหฤทัยว่า
ภิกษุปัญจวัคคีย์ มีอุปการะมากแก่เราดังนี้ ทรงนึกว่า เดี๋ยวนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์
เหล่านั้น อยู่กันที่ไหนหนอ ก็ทรงทราบว่า ที่อิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี
ทรงพระดำริว่า เราจักไปที่นั้นประกาศธรรมจักร แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ประทับอยู่ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นแหละ 2 - 3 วัน ในวันอาสาฬหบูรณมีทรง
พระดำริจักเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงถือบาตรจีวรเดินทางได้ 18 โยชน์ ใน
ระหว่างทาง ทรงพบอาชีวกชื่ออุปกะเดินสวนทางมา ทรงบอกอาชีวกนั้นว่า
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า วันนั้นนั่นเอง เวลาเย็นเสด็จถึงอิสิปตนะ มิคทายวัน
กรุงพาราณสี.
ฝ่ายภิกษุปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเสด็จมาแต่ไกล จึงทำการนัด
หมายกันว่า ผู้มีอายุ ท่านพระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากด้วย
ปัจจัย มีกายบริบูรณ์มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีผิวพรรณเพียงดังสีทองเสด็จมา เราจัก
ไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแก่ท่านละ เพียงแต่ปูอาสนะไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบวาระจิตของภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทรงย่อเมตตาจิต ที่สามารถแผ่
ไปโดยไม่เจาะจงในสรรพสัตว์ มาเป็นแผ่เมตตาจิต โดยเจาะจง. ภิกษุ
ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมผัสแล้ว เมื่อพระ-
ตถาคตเสด็จเข้าไปหา ก็ไม่อาจตั้งอยู่ในข้อนัดหมายของตนได้ พากันทำกิจ
ทุกอย่างมีการกราบไหว้เป็นต้น. ความพิศดาร พึงทราบตามนัย ที่ท่านกล่าว
ไว้ ในมหาวรรค แห่งวินัยเป็นต้น.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นให้เข้าใจ
ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าของพระองค์แล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อย่างดี

ที่จัดไว้แล้วเมื่อกาลประกอบด้วยนักษัตรเดือนอุตตราสาธอยู่ อันพรหม 18 โกฏิ
แวดล้อมแล้ว ทรงเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มาแล้วทรงแสดงพระธรรมจักกัป-
ปวัตนสูตร บรรดาภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะส่งญาณไป
ตามกระแสเทศนา จบพระสูตร ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยพรหม 18
โกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บัดนี้เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อโคตมะ ผู้ยังสกุล
ศากยะให้เจริญ ตั้งความเพียรแล้ว บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันอุดม.
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ก็ประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่พรหม 18 โกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อหํ ทรงแสดงถึงพระองค์เอง. บทว่า
เอตรหิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า สกฺยวฑฺฒโน แปลว่า ผู้ยังสกุลศากยะให้
เจริญ. ปาฐะว่า สกฺยปุงฺคโว ก็มี. ความเพียรท่านเรียกว่า ปธานะ. บทว่า
ปทหิตฺวาน ได้แก่ พากเพียร พยายาม. อธิบายว่า ทำทุกกรกิริยา. บทว่า
อฏฺฐารสนฺนํ โกฏีนํ ความว่า อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์ 18 โกฏิมีพระ-
อัญญาโกณฑัญญะเถระเป็นประธานด้วยการตรัสพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ณ
ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน กรุงพาราณสี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิสมัยอันล่วงมาแล้ว เมื่อจะตรัส
อภิสมัยที่ยังไม่มาถึง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
นอกจากนั้น เมื่อเราแสดงธรรม ในสมาคมแห่ง
มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ 2 จักมีแก่สัตว์นับ
จำนวนไม่ได้.