เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมนฺตลิกฺขกุสโล ความว่า เป็น
ผู้ฉลาด ในวิชาสำรวจพื้นดิน วิชาดูลักษณะอากาศ วิชาดาราศาสตร์และ
วิชาโหราศาสตร์. บทว่า อุปฏฺฐโก แปลว่า ผู้บำรุง. บทว่า
สปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้น่าเกรงขาม. บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ อันทรงแนะ
นำแล้ว หรือปรากฏแล้ว. บทว่า ตติเย ผเล เป็นนิมิตสัตตมี ความว่า
อันทรงแนะนำแล้ว เพราะเหตุบรรลุอริยผลที่ 3. บทว่า อาทาย ได้แก่
พาเอา. บทว่า วตฺตาวตฺเตสุ ได้แก่ ในข้อวัตรน้อยและข้อวัตรใหญ่. บทว่า
โกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในการยังข้อวัตรเหล่านั้นให้เต็ม. ด้วยบทว่า น กฺวจิ
ปริหายามิ ทรงแสดงว่า เราไม่เสื่อมแม้ในที่ไหนๆ แม้แต่ในศีลหรือสมาธิ
สมาบัติเป็นต้นอย่างไหน ๆ ขึ้นชื่อว่า ความเสื่อมของเราในคุณทั้งปวง ไม่มี
เลย. ปาฐะว่า น โกจิ ปริหายามิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า ยาวตา นั้น เป็นคำแสดงขั้นตอน. ความว่า มีประมาณ
เพียงไร. บทว่า พุทฺธภณิตํ ได้แก่ พระพุทธวจนะ. บทว่า โสภยึ ได้แก่
ให้งามแล้ว ให้แจ่มแจ้งแล้ว. บทว่า มม อจฺฉริยํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงเห็นสัมมาปฏิบัติของเรา ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ น่า
อัศจรรย์ไม่เคยมี. บทว่า สํสริตฺวา ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ. บทว่า
อนาจรํ ได้แก่ อนาจารที่ไม่พึงทำ ไม่ควรทำ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้น ทรงมีนครเกิดชื่อว่าพาราณสี
มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี
มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระติสสะและพระภารทวาชะมีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
พระสัพพมิตตะมีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอนุฬาและอุรุเวฬาโพธิพฤกษ์

ชื่อว่า นิโครธ ต้นไทร พระสรีระสูง 2 ศอก พระชนมายุสองหมื่นปี ภริยา
ชื่อว่า สุนันทา บุตรชื่อ วิชิตเสนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือปราสาท.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
มีนคร ชื่อว่าพาราณสี มีกษัตริย์พระนามว่า กิกี
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ใน
พระนครนั้น.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีชนก
เป็นพราหมณ์ ชื่อว่าพรหมทัตตะ มีชนนีเป็นพราหมณ์
ชื่อว่า ธนวดี.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระติสสะ และพระภารทวาชะ มี
พุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพมิตตะ.
มีอัครสาวกา ชื่อพระอนุฬา และ พระอุรุเวฬา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า
ต้นนิโครธ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสุมังคละ และ ฆฏิการะ มี
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าวิชิตเสนา และภัททา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง 20 ศอก เหมือน
สายฟ้าอยู่กลางอากาศ เหมือนจันทร์เพ็ญทรงกลด.
พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์
นั้น มีพระชนมายุสองหมื่นปี พระองค์ทรงมีพระชนม์
ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.

ทรงสร้างสระคือธรรม ประทานเครื่องลูบไล้คือ
ศีล ทรงนุ่งผ้าคือธรรม ทรงแจกมาลัยคือธรรม.
ทรงวางธรรมอันใสไร้มลทิน ต่างกระจก ไว้ใน
มหาชน บางพวกปรารถนาพระนิพพาน ก็จงดูเครื่อง
ประดับของเรา.
ประทานเสื้อคือศีล ผูกสอดเกราะ คือฌาน ห่ม
หนังคือธรรม ประทานเกราะชั้นเยี่ยม.
ประทานสติเป็นโล่ ประทานธรรมเป็นพระ-
ขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่องย่ำยีการคลุกคลี.
ประทานวิชชา 3 เป็นเครื่องประดับ ผลทั้ง 3
เป็นมาลัยสวมศีรษะ ประทานอภิญญา 6 เป็นอาภรณ์
ธรรมเป็นดอกไม้เครื่องประดับ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรม-
เป็นฉัตรขาว กั้นบาป เนรมิตดอกไม้ คือทางที่ไม่มี
ภัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ก็นั่น คือพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้มีพระคุณหา
ประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก นั่นคือพระธรรม.
รัตนะที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู.
นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยม ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่าแน่แท้.


แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชุลฏฺฐีว ได้แก่ ดุจสายฟ้าแลบอัน
ตั้งอยู่ โดยเป็นของทึบ. บทว่า จนฺโทว คหปูริโต ได้แก่ ดุจดวงจันทร์

เพ็ญอันทรงกลดแล้ว. บทว่า ธมฺมตฬากํ มาปยิตฺวา ทรงสร้างสระ
คือพระปริยัติธรรม. บทว่า ธมฺมํ ทตฺวา วิเลปนํ ได้แก่ ประทานเครื่อง
ลูบไล้ เพื่อประดับสันตติแห่งจิต กล่าวคือจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ธมฺม-
ทุสฺสํ นิวาเสตฺวา
ได้แก่ นุ่งผ้าคู่ กล่าวคือธรรม คือหิริ และโอตตัปปะ.
บทว่า ธมฺมมาลํ วิภชฺชิย ได้แก่ จำแนก คือเปิดพวงมาลัยดอกไม้คือ
โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ.
บทว่า ธมฺมวิมลมาทาสํ ความว่า วางกระจก กล่าวคือโสดาปัตติ-
มรรคอันไร้มลทิน คือกระจกธรรมใกล้ริมสระธรรมสำหรับมหาชน เพื่อ
กำหนดธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษที่เป็นกุศลและอกุศล. บทว่า มหาชเน
แปลว่า แก่มหาชน. บทว่า เกจิ ก็คือ เยเกจิ. บทว่า นิพฺพานํ ปตฺเถนฺตา
ความว่า เที่ยวปรารถนาพระนิพพาน อันกระทำความย่อยยับแก่มลทินคือ
อกุศลทั้งมวล อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ไม่มีทุกข์ สงบอย่างยิ่งมีอันไม่
จุติเป็นรส ชนเหล่านั้นจงดูเครื่องประดับนี้ มีประการที่กล่าวแล้วอันเราแสดง
แล้ว. ปาฐะว่า นิพฺพานมภิปตฺเถนฺตา ปสฺสนฺตุ มํ อลงฺกรํ ดังนี้ก็มี
ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อลงฺกรํ ท่านทำรัสสะ กล่าว.
บทว่า สีลกญฺจุกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเสื้อที่สำเร็จด้วยศีล 5
ศีล 10 และจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ฌานกวจวมฺมิตํ ได้แก่ ผูกเครื่องผูก
คือเกราะ คือจตุกกฌานและปัญจกฌาน. บทว่า ธมฺมจมฺมํ ปารุปิตฺวา
ได้แก่ ห่มหนึ่งคือธรรมที่นับได้ว่าสติสัมปชัญญะ. บทว่า ทตฺวา สนฺนา-
หนุตฺตมํ
ความว่า ประทานเครื่องผูกสอดคือวิริยะ ที่ประกอบด้วยองค์ 4
อันสูงสุด. บทว่า สติผลกํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องป้องกันคือโล่
คือสติปัฏฐาน 4 เพื่อป้องกันโทษอริและบาปมีราคะเป็นต้น. บทว่า ติขิณํ

ญาณกุนฺติมํ ได้แก่ หอกคือวิปัสสนาญาณอันคมกริบ คือหอกคมอย่างดีคือ
วิปัสสนาญาณ ที่สามารถแทงตลอดได้. หรือความว่า ทรงตั้งนักรบคือพระ-
โยคาวจร ที่สามารถทำการกำจัดกองกำลังคือ กิเลสได้. บทว่า ธมฺมขคฺควรํ
ทตฺวา
ได้แก่ ประทานพระขรรค์อย่างดีคือมรรคปัญญา ที่มีคมอันลับด้วยกลีบ
อุบลคือความเพียร แก่พระโยควาจรนั้น. บทว่า สีลสํสคฺคมทฺทนํ ความว่า
โลกุตรศีลอันเป็นอริยะ เพื่อย่ำยีการคลุกคลีด้วยกิเลสคือเพื่อฆ่ากิเลส.
บทว่า เตวิชฺชาภูสนํ ทตฺวาน ได้แก่ ประทานเครื่องประดับสำเร็จ
ด้วยวิชชา 3. บทว่า อาเวฬํ จตุโร ผเล ได้แก่ ทำผล ถ ให้เป็นพวง
มาลัยคล้องคอ. บทว่า ฉฬภิญฺญาภรณํ ได้แก่ ประทานอภิญญา 6 เพื่อ
เป็นอาภรณ์ และเพื่อกระทำการประดับ. บทว่า ธมฺมปุปฺผปิลนฺธนํ ได้แก่
ทำพวงมาลัยดอกไม้ กล่าวคือโลกุตรธรรม 9. บทว่า สทฺธมฺมปุณฺฑรจฺ-
ฉตฺตํ ทตฺวา ปาปนิวารณํ
ได้แก่ ประทานเศวตฉัตรคือวิมุตติอันบริสุทธิ์
สิ้นเชิง เป็นเครื่องกันแดดคืออกุศลทั้งปวง. บทว่า มาปยิตฺวาภยํ ปุปฺผํ
ความว่า ทำดอกไม้คือมรรคมีองค์ 8 ที่ให้ถึงเมืองที่ไม่มีภัย.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ดับขันธปรินิพพาน ณ เสตัพย-
อุทยาน
ใกล้เสตัพยนคร แคว้นกาสี เขาว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์
ไม่กระจัดกระจายแพร่หลายไป. มนุษย์ทั่วชมพูทวีป เมื่อสร้างใช้มโนสิลา
หินอ่อนแทนดิน ใช้น้ำมันแทนน้ำ เพื่อก่อภายนอกเป็นแผ่นอิฐทองแต่ละแผ่น
มีค่าเป็นโกฏิ วิจิตรด้วยรัตนะ เพื่อทำภายในให้เต็ม เป็นอิฐทองแต่ละแผ่น
มีค่าครึ่งโกฏิ ช่วยกันสร้างเป็นสถูปสูงหนึ่งโยชน์.

กสฺสโปปิ ภควา กตกิจฺโจ
สพฺพสตฺตหิตเมว กโรนฺโต
กาสิราชนคเร มิคทาเย
โลกนนฺทนกโร นิวสิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป เสด็จกิจแล้วทรง
ทำประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์อย่างเดียวทรงทำ
ความร่าเริงแก่โลก ประทับอยู่ประจำ ณ กรุงพาราณสี
ราชธานีแห่งแคว้นกาสีแล.

ในคาถาที่เหลือ ทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระกัสสปพุทธเจ้า

วงศ์พระโคดมพุทธเจ้าที่ 25



[26] บัดนี้ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า
โคตมะ เจริญวัยในศากยสกุล ตั้งความเพียรแล้ว
บรรลุพระโพธิญาณอันอุดม.
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์ 18 โกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อจากนั้น ในสมาคมแห่ง
มนุษย์และเทวดา อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็กล่าวไม่ได้ถึง
จำนวนผู้บรรลุ.
บัดนี้ ในที่นี้นี่แล เราสั่งสอนราหุลโอรสของ
เรา อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็กล่าวไม่ได้ถึงจำนวนผู้บรรลุ.
สันนิบาตการประชุมสาวก ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ของเรา เป็นการประชุมภิกษุ 1,250 มีครั้งเดียว.
เราไร้มลทินรุ่งเรืองอยู่ ท่ามกลางสงฆ์ก็ให้ทุก
อย่างที่สาวกปรารถนา เหมือนแก้วจินดามณีให้ทุก
อย่างที่ต้องการ.
อันความกรุณาสัตว์ทั้งหลาย เราประกาศสัจจะ
4 แก่ผู้จำนงหวังมรรคผล ผู้ประสงค์ละความพอใจ
ในภพ.
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่น สองหมื่น
อภิสมัยของสัตว์ไม่นับจำนวนด้วยหนึ่งคนหรือสองคน