เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมนฺตลิกฺขกุสโล ความว่า เป็น
ผู้ฉลาด ในวิชาสำรวจพื้นดิน วิชาดูลักษณะอากาศ วิชาดาราศาสตร์และ
วิชาโหราศาสตร์. บทว่า อุปฏฺฐโก แปลว่า ผู้บำรุง. บทว่า
สปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้น่าเกรงขาม. บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ อันทรงแนะ
นำแล้ว หรือปรากฏแล้ว. บทว่า ตติเย ผเล เป็นนิมิตสัตตมี ความว่า
อันทรงแนะนำแล้ว เพราะเหตุบรรลุอริยผลที่ 3. บทว่า อาทาย ได้แก่
พาเอา. บทว่า วตฺตาวตฺเตสุ ได้แก่ ในข้อวัตรน้อยและข้อวัตรใหญ่. บทว่า
โกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในการยังข้อวัตรเหล่านั้นให้เต็ม. ด้วยบทว่า น กฺวจิ
ปริหายามิ ทรงแสดงว่า เราไม่เสื่อมแม้ในที่ไหนๆ แม้แต่ในศีลหรือสมาธิ
สมาบัติเป็นต้นอย่างไหน ๆ ขึ้นชื่อว่า ความเสื่อมของเราในคุณทั้งปวง ไม่มี
เลย. ปาฐะว่า น โกจิ ปริหายามิ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
คำว่า ยาวตา นั้น เป็นคำแสดงขั้นตอน. ความว่า มีประมาณ
เพียงไร. บทว่า พุทฺธภณิตํ ได้แก่ พระพุทธวจนะ. บทว่า โสภยึ ได้แก่
ให้งามแล้ว ให้แจ่มแจ้งแล้ว. บทว่า มม อจฺฉริยํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงเห็นสัมมาปฏิบัติของเรา ไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ น่า
อัศจรรย์ไม่เคยมี. บทว่า สํสริตฺวา ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ. บทว่า
อนาจรํ ได้แก่ อนาจารที่ไม่พึงทำ ไม่ควรทำ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้น ทรงมีนครเกิดชื่อว่าพาราณสี
มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี
มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระติสสะและพระภารทวาชะมีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
พระสัพพมิตตะมีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอนุฬาและอุรุเวฬาโพธิพฤกษ์