เมนู

ครั้งทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประกาศพระสัพ-
พัญญุตญาณ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่เทวดาห้าพัน
โกฏิ.
พระชินพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ธรรมสภา ชื่อ
สุธัมมา ณ เทวโลกอันน่ารื่นรมย์ [ดาวดึงส์] ทรง
ประกาศพระอภิธรรม ยังเทวดาสามพันโกฏิให้ตรัสรู้.
อีกครั้งทรงแสดงธรรมโปรดนรเทวยักษ์ อภิสมัย
ได้มีแก่สัตว์เหล่านั้น นับจำนวนไม่ได้เลย.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุมาสํ ก็คือ จาตุมาเส แปลว่า 4
เดือน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า จรติ ก็คือ อจริ. แปลว่า ได้
เสด็จจาริกไปแล้ว บทว่า ยมกํ วิกุพฺพนํ กตฺวา ได้แก่ ทรงทำยมก
ปาฏิหาริย์. บทว่า ญาณธาตุํ ได้แก่ สภาพของพระสัพพัญญุตญาณ อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า สพฺพญาณธาตุํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปกิตฺตยิ ได้แก่ ทรง
ประกาศแก่มหาชน. บทว่า สุธมฺมา ความว่า สภาชื่อว่าสุธัมมามีอยู่ใน
ภพดาวดึงส์ พระองค์ประทับนั่ง ณ สภานั้น. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.
เขาว่า ครั้งนั้น มียักษ์ชื่อว่า นรเทพ ผู้เป็นนรเทพผู้มีอานุภาพและ
ผู้พิชิต ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่และฤทธิ์มากเหมือนนรเทพยักษ์ที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง.
นรเทพยักษ์นั้น แปลงตัวเหมือนพระราชาในนครหนึ่งในชมพูทวีป ทั้งรูปร่าง
ทรวดทรงสุ้มเสียงท่วงที แล้วฆ่าพระราชาตัวจริงกินเสีย ปฏิบัติหน้าที่พระราชา
พร้อมทั้งในราชสำนัก โปรดเสวยเนื้อไม่จำกัดจำนวน. เขาว่า นรเทวยักษ์นั้น

เป็นนักเลงหญิงด้วย แต่คราใดสตรีพวกที่ฉลาดเฉลียว รู้จักเขาว่า ผู้นี้ไม่ใช่
พระราชาของเรา นั่นอมนุษย์ผู้ฆ่าพระราชากินเสีย ครานั้น เขาทำเป็นละอาย
กินสตรีพวกนั้นหมด แล้วก็เดินทางไปนครอื่น. ด้วยประการดังนี้ นรเทว-
ยักษ์นั้นกินมนุษย์แล้วก็มุ่งหน้าไปทางสุนทรนคร พวกมนุษย์ชาวนครเห็นเขา
ถูกมรณภัยคุกคามก็สะดุ้งกลัว พากันออกจากนครของตนหนีชมซานไป.
ครั้งนั้น พระกัสสปทศพล ทรงเห็นพวกมนุษย์พากันหนีไป ก็
ประทับยืนประจันหน้านรเทวยักษ์นั้น นรเทวยักษ์ครั้นเห็นพระเทพแห่งเทพ
ยืนประจันหน้า ก็แผดเสียงกัมปนาทดุดัน ร้ายกาจ แต่ไม่อาจให้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเกิดความกลัวได้ ก็ถึงพระองค์เป็นสรณะ แล้วทูลถามปัญหา เมื่อ
พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงฝึกเขา แสดงธรรม อภิสมัยก็ได้มีแก่มนุษย์
และเทวดาที่มาประชุมกัน เกินที่จะนับจำนวนได้ถ้วน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัส
ว่า นรเทวสฺส ยกฺขสฺส เป็นต้น. ในคาถานั้น บทว่า อปเร ธมฺมเทสเน
ได้แก่ ในการแสดงธรรมครั้งอื่นอีก. บทว่า เอเตสานํ ก็คือ เอเตสํ.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้น มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียว
เท่านั้น. มีบุตรปุโรหิตในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ติสสะ เขาเห็นลักษณะสมบัติ
ในพระสรีระของ พระกัสสปโพธิสัตว์ ฟังบิดาพูด ก็คิดว่า ท่านผู้นี้จักออก
มหาภิเนษกรมณ์เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไม่ต้องสงสัย จำเราจักบวชในสำนัก
ของพระองค์พ้นจากสังสารทุกข์ จึงไปยังป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มุนีผู้บริสุทธิ์ บวช
เป็นดาบส. เขามีดาบสสองหมื่นเป็นบริวาร. ต่อมาภายหลัง เขาทราบข่าวว่า
พระกัสสปกุมาร ออกอภิเนษกรมณ์บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ จึงพร้อมด้วย
บริวารมาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ
แล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในวันมาฆบูรณมีในสมาคมนั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระผู้เป็นเทพแห่งเทพแม้พระองค์นั้น ทรงมี
สาวกสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน
คงที่ ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมภิกษุสาวกของผู้
เป็นพระขีณาสพ ล่วงอริยบุคคลระดับอื่น เสมอกัน
ด้วยหิริและศีล.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกฺกนฺตภวนฺตานํ ได้แก่ ผู้เกินระดับ
ปุถุชนและอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น คือเป็นพระขีณาสพหมดทั้งนั้น.
บทว่า หิริสีเลน ตาทีนํ ได้แก่ ผู้เสมอกันด้วยหิริและศีล.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ จบไตรเพท
มีชื่อเสียงในการทำนายลักษณะพื้นดิน และลักษณะอากาศ เป็นสหายของ
ฆฏิการะอุบาสก ช่างหม้อ. โชติปาลมาณพนั้น เข้าเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับ
ฆฏิการะอุบาสกนั้น ฟังธรรมกถาของพระองค์แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงปรารภความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว ยังพระ-
พุทธศาสนาให้งามด้วยการปฏิบัติข้อวัตรใหญ่น้อย พระศาสดาแม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น เราเป็นมาณพปรากฏชื่อว่า โชติปาละ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
ถึงฝั่งในลัทธิธรรมของตน ในลักษณศาสตร์
และอิติหาสศาสตร์ ฉลาดในลักษณะพื้นดินและอากาศ
สำเร็จวิทยาอย่างสมบูรณ์.