เมนู

ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า ก็มีพระ-
สัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ
เฝ้าได้ยาก.
ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ถึงฝั่งบำเพ็ญบารมีแล้ว
ทรงทำลายกรงภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง ทรง
บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ธรรมาภิสัยได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ กลางพื้นนภากาศ
ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
ในการประกาศสัจจะ 4 แก่นรเทพยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺฆาเฏตฺวา แปลว่า ถอนแล้ว. บทว่า
สพฺพภวํ ได้แก่ ซึ่งภพทั้ง 9 ภพ. อธิบายว่า กรรมอันเป็นนิมิตแห่งอุปัตติ
ในภพ. บทว่า จริยาย ปารมึ คโต ความว่า ทรงถึงฝั่ง โดยทรงบำเพ็ญ
บารมีทุกอย่าง. บทว่า สีโหว ปญฺชรํ เภตฺวา ความว่า พระมุนีกุญชร
ทรงทำลายปัญชรคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว ทรงมีสาวกสันนิบาต
ครั้งเดียวเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์สี่หมื่น ซึ่งบวชกับพระ-

องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมี. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ทรงมีสันนิบาต
ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่
ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของท่านผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลส ดัง
ข้าศึกคืออาสวะ.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า เขมะ ทรง
ถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้น แด่
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น สดับ
พระธรรนเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส ก็ทรงผนวชในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคต-
กาล ในกัปนี้นี่แหละ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า เขมะ ถวายทาน
มิใช่น้อย ในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์
นั้น ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้แล ท่าน
ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.

พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่าเขมวดี
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนัก
ของพระองค์.


แก้อรรถ
ในคาถานั้น อญฺชนํ แปลว่า ยาหยอดตา ความชัดแล้ว. บทว่า มธุลฏฺ-
ฐิกํ
ได้แก่ ไม้เท้าไม้มะซาง. บทว่า อิเมตํ ตัดบทเป็น อิมํ เอตํ. บทว่า ปตฺถิตํ
แปลว่า ปรารถนาแล้ว. บทว่า ปฏิยาเทมิ แปลว่า ถวาย อธิบายว่า ได้
ถวายแล้ว. บทว่า วรํ วรํ หมายความว่า ประเสริฐที่สุด ๆ. ปาฐะว่า ยเทตํ
ปตฺถิตํ
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น ความว่า เราได้ถวายสิ่งที่พระองค์ปรารถนา
ทุกอย่างแด่พระองค์. ความนี้ดีกว่า.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น มีพระนครชื่อ
ว่า เขมะ พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ พระชนนีเป็นพราหมณ์
ชื่อว่า วิสาขา คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระ และ พระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และ
พระจัมปา. โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ คือไม้ซึก. พระสรีระสูง 40 ศอก.
พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบ ๆ 10 โยชน์. พระชนมายุสี่หมื่นปี
มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี โอรสชื่อว่า อุตตระ ออกอภิเนษกรมณ์
ด้วยรถเทียมม้า. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา ทรงมี
พระชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าอัคคิทัตตะ ทรงชนนี
ชื่อว่าวิสาขา.
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลใหญ่
ประเสริฐเลิศล้ำกว่านรชนทั้งหลาย เป็นชาติสูง มี
บริวารยศใหญ่ อยู่ในนครเขมะนั้น.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวก ชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ พระพุทธ-
อุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก).
พระมหามุนีสูง 40 ศอกพระรัศมีสีทองแล่นออก
ไปรอบ ๆ 10 โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระชนมายุ
สี่หมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงขยายตลาดธรรมแก่
บุรุษสตรี ในโลกทั้งเทวโลก ทรงบันลือดุจการบันลือ
ของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.

พระองค์มีพระสุรเสียง มีองค์ 8 มีศีลบริบูรณ์
อยู่นิรันดร ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวง
ว่างเปล่า แน่แท้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า วสเต ตตฺถ เขเม ปุเร นี้ พึงทราบ
ว่า ท่านกล่าวเพื่อชี้นครที่พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพ. บทว่า มหากุลํ
ได้แก่ ตระกูลฝ่ายพระชนกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นตระกูลรุ่งเรือง. บทว่า
นรานํ ปวรํ เสฏฺฐํ ความว่า ประเสริฐเลิศล้ำกว่ามนุษย์ทั้งหมดโดยชาติ.
บทว่า ชาติมนฺตํ ได้แก่ มีชาติยิ่ง มีชาติสูง. บทว่า มหายสํ ได้แก่
มีบริวารมาก. ตระกูลใหญ่นั้นของพระพุทธเจ้าเป็นดังฤา. ในคำนั้น พึงเห็น
การเชื่อมความกับบทว่า มหากุลํ เขเม ปุเร วสเต ตระกูลใหญ่อยู่ใน
กรุงเขมะ.
บทว่า สมนฺตา ทสโยชนํ ความว่า พระรัศมีสีทองออกจากพระ.
สรีระเป็นนิตย์ แล่นแผ่ไป 10 โยชน์โดยรอบ. บทว่า ธมฺมาปณํ ได้แก่
ตลาดกล่าวคือธรรม. บทว่า ปสาเรตฺวา ความว่า ขยายตลาดธรรม เหมือน
ตลาดที่คับคั่งด้วยสินค้านานาชนิด เพื่อขายสินค้า. บทว่า นรนารีนํ ได้แก่
เพื่อประสบรัตนะวิเศษ คือฌานสมาบัติและมรรคผล สำหรับบุรุษสตรีทั้งหลาย.
บทว่า สีหนาทํ ว ก็คือ สีหนาทํ วิย ได้แก่ บรรลือเสียงอภัย ไม่น่า
กลัว. บทว่า อฏฺฐงฺควจนสมฺปนฺโน ได้แก่ พระศาสดาทรงมีพระสุรเสียง
ประกอบด้วยองค์ 8. บทว่า อจฺฉิทฺทานิ ได้แก่ ศีลที่เว้นจากภาวะมีขาด
เป็นต้น ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ทะลุ ไม่มีช่อง เช่นคู่