เมนู

มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระรามาและพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นมหาสาละ.
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าโสตถิกะและรัมมะ อัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่าโคตมีและสิริมา.
พระเวสสภูพุทธเจ้า สูง 60 ศอก อุปมาเสมอ
ด้วยเสาทอง พระรัศมีแล่นออกจากพระวรกาย เหมือน
ดวงไฟบนเขายามราตรี.
พระชนมายุของพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหา
คุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น หกหมื่นปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงทำธรรมะให้ขยายไป
กว้างขวาง ทรงจำแนกมหาชน ทรงตั้งธรรมนาวาไว้
แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.
ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถล้วนน่าดู
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมยูปสมูปโม ความว่า เสมือนเสา
ทอง. บทว่า นิจฺฉรติ ได้แก่ แล่นไปทางโน้นทางนี้. บทว่า รสฺมิ ได้แก่
แสงรัศมี. บทว่า รตฺตึว ปพฺพเต สิขี ความว่า รัศมีส่องสว่างในพระวรกาย

ของพระองค์ เหมือนดวงไฟบนยอดเขาเวลากลางคืน. บทว่า วิภชิตฺวา
ความว่า ทำการจำแนก โดยเป็นอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น และโดยเป็นพระโสดาบัน
เป็นอาทิ. บทว่า ธมฺมนาวํ ความว่า ทรงตั้งธรรมนาวา คือมรรคมีองค์
8 เพื่อช่วยให้ข้ามโอฆะ 4. บทว่า ทสฺสนียํ ก็คือ ทสฺสนีโย. บทว่า
สพฺพชนํ ชนทั้งปวงก็คือ สพฺโพชโน อธิบายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก. บทว่า วิหารํ ก็คือ วิหาโร พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติ
ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติทุกแห่ง.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ
เขมมิคทายวัน กรุงอุสภวดี. พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจาย
ไป.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู พระชินะ
ผู้ประเสริฐ. เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
นิพพาน ณ พระวิหารใกล้ป่าที่น่ารื่นรมย์ กรุงอุสภวดี-
ราชธานี.

คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระเวสสภูพุทธเจ้า

วงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ 22



ว่าด้วยพระประวัตของพระกกุสันธพุทธเจ้า



[23] ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า ก็
มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่ง
สัตว์สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ
เข้าเฝ้าได้ยาก.
พระองค์ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ทรงถึงฝั่ง
บำเพ็ญบารมี ทรงทำลายกรงคือภพ เหมือนราชสีห์
ทำลายกรงฉะนั้น ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่น
โกฏิ.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ
ภาคพื้นนภากาศ ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
โกฏิให้ตรัสรู้.
ในการประกาศสัจจะ 4 แก่นรเทวยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ทรงมีสันนิบาต
การประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ
คงที่ ครั้งเดียวเท่านั้น.