เมนู

การดุจพระยาช้าง ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอัน
สูงสุด.
พระเวสสภูพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระโลกเชษฐ์ผู้องอาจในนรชน ทรงหลีก
จาริกไปในแว่นแคว้น อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่สัตว์
เจ็ดหมื่นโกฏิ.
พระองค์เมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิอย่างใหญ่หลวง
ของเดียรถีย์ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ มนุษย์และเทวดา
ในหมื่นโลกธาตุ ในโลกทั้งเทวโลกก็มาประชุมกัน.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นมหัศจรรย์ไม่เคยมี
น่าขนชูชัน ก็ตรัสรู้ธรรมถึงหกหมื่นโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตํ ความว่า สิ้นทั้งสามโลกนี้ ถูก
ไฟไหม้แล้ว. บทว่า ราคคฺคิ แปลว่า อันราคะ. บทว่า ตณฺหานํ วิชิตํ ตทา
ความว่า ทรงทราบว่า สามโลก เป็นถิ่นแคว้น สถานที่ตกอยู่ในอำนาจของ
ตัณหาทั้งหลาย. บทว่า นาโคว พนฺธนํ เฉตฺวา ความว่า ทรงตัดเครื่อง
พันธนาการดุจเถาวัลย์เน่า ประดุจช้าง ทรงบรรลุถึงพระสัมโพธิญาณ. บทว่า
ทสสหสฺสี ก็คือ ทสสหสฺสิยํ. บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกทั้งเทวโลก.
บทว่า พุชฺฌเร แปลว่า ตรัสรู้แล้ว.

อนึ่งเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ
วันมาฆบูรณมี ท่ามกลางพระอรหันต์แปดหมื่นที่บวชในสมาคมของ พระ
โสณะ
และ พระอุตตระ คู่พระอัครสาวก นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ 1.
ครั้งภิกษุนับจำนวนได้เจ็ดหมื่น ซึ่งบวชกับพระเวสสภูผู้ครอบงำโลก
ทั้งปวงพากันหลีกไป สมัยที่พระเวสสภูจะหลีกออกจากคณะไป ภิกษุเหล่านั้น
สดับข่าวการประกาศพระธรรมจักรของพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพากัน
มายังนครโสเรยยะ ก็ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกษุบรรพชาทั้ง
หมด แล้วทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่ประกอบด้วยองค์ 4 นั้นเป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2.
อนึ่ง ครั้งพระราชบุตรพระนามว่าอุปสันตะ ทรงขึ้นครองราชย์ใน
กรุง นาริวาหนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนครนั้น เพื่ออนุเคราะห์พระ-
ราชบุตรนั้น. แม้พระราชบุตรนั้นทราบข่าวการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริวารจึงทรงออกไปรับเสด็จ นิมนต์มาถวายมหาทาน ทรงสดับธรรม
ของพระองค์ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงผนวช บุรุษหกหมื่นโกฏิก็บวชตาม
เสด็จภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมกับพระราชบุตรนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเวสสภูนั้น อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรง
มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ 3 ครั้ง.

ประชุมภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ 1 ประชุมภิกษุสาวกเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2.
ประชุมภิกษุสาวกหกหมื่น ผู้กลัวแต่ภัยมีชรา
เป็นต้น โอรสของพระเวสสภูพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่ง
ใหญ่ เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้า
สุทัสสนะ ผู้มีทัศนะน่ารักอย่างยิ่ง ณ กรุงสรภวดี เมื่อพระเวสสภูพุทธเจ้า
ผู้นำโลกเสด็จถึงกรุงสรภะ ทรงสดับธรรมของพระองค์ มีพระหฤทัยเลื่อมใส
แล้ว ทรงยกอัญชลีอันรุ่งเรื่องด้วยทศนขสโมธาน เสมือนดอกบัวตูมเกิดใน
น้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกลบกพร่อง ไว้เหนือเศียร ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงสร้างพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่
ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ นครนั้น ทรงสร้างวิหารพันหลังล้อม
พระคันธกุฎีนั้น ทรงบริจาคสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงผนวช ณ สำนักของพระองค์แล้ว ทรงพร้อมด้วยอาจารคุณ
ทรงยินดีในธุดงคคุณ 13 ทรงยินดีในการแสวงหาพระโพธิสมภาร ทรงยินดีใน
พระพุทธศาสนาอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระ-
โพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็น
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าสุทัสสนะ นิมนต์
พระมหาวีระ ถวายทานอย่างสมควรยิ่งใหญ่บูชาพระ-
ชินพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ ด้วยข้าวน้ำและผ้า.

เราสดับพระธรรมจักรอันอุดมประณีตที่พระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้นทรงประกาศแล้วก็
ชอบใจการบรรพชา.
เราบำเพ็ญมหาทาน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
กลางวัน ทราบการบรรพชาว่าพร้อมพรั่งด้วยคุณ จึง
บรรพชาในสำนักของพระชินพุทธเจ้า.
เราถึงพร้อมด้วยอาจารคุณ ตั้งมั่นในวัตรและ
ศีล แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงยินดีอยู่ในพระ-
ศาสนา ของพระชินพุทธเจ้า.
เราเข้าถึงศรัทธาและปีติ ถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ผู้พระศาสดา เราก็เกิดปีติ เพราะเหตุแห่งพระโพธิ-
ญาณนั่นแล.
พระสัมพุทธเจ้าทรงทราบว่า เรามีใจไม่ท้อถอย
จึงทรงพยากรณ์ดังนี้ว่า นับแต่กัปนี้ไปสามสิบเอ็ดกัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์ จิตก็ยิ่งเสื่อมใส จึง
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกํ วตฺติตํ ได้แก่ ธรรมจักร ที่
ทรงประกาศแล้ว. บทว่า ปณิตํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์.
ความว่า เรารู้การบวชว่าพรั่งพร้อมด้วยคุณจึงบวช. บทว่า วตฺตสีลสมาหิโต
ได้แก่ ตั้งมั่นในวัตรและศีล อธิบายว่า มั่นคงในการบำเพ็ญวัตรและศีลนั้น ๆ.
บทว่า รมามิ แปลว่า ยินดียิ่งแล้ว. บทว่า สทฺธาปีตึ ได้แก่ เข้าถึง
ศรัทธาและปีติ. บทว่า วนฺทามิ ได้แก่ ถวายบังคมแล้ว. พึงเห็นว่าคำที่
เป็นปัจจุบันกาล ใช้ในอรรถอดีตกาล. บทว่า สตฺถรํ ก็คือ สตฺถารํ.
บทว่า อนิวตฺตมานสํ ได้แก่ มีใจไม่ท้อถอย.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า อโนมะ
พระชนกมีพระนามว่า พระเจ้าสุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
ยสวดี คู่พระอัครสาวกชื่อว่าพระโสณะ และพระอุตตระ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่าพระอุปสันตะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระรามา และพระสมาลา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นสาละ พระสรีระสูง 60 ศอก พระชนมายุหกหมื่นปี พระ-
อัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตาพระโอรสพระนามว่าพระสุปปพุทธะ
เสด็จออกภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่ออโนมะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
สุปปตีตะ พระชนนีพระนามว่า พระนางยสวดี.
พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ-
อัครสาวก ชื่อว่าพระโสณะและพระอุตตระ พระพุทธ-
อุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะ.