เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสานํ ความว่า
ภิกษุหกล้านแปดแสน. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวันนั้น. บทว่า
ภิกฺขุคณมชฺเฌ แปลว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุ. ปาฐะว่า ตสฺส ภิกฺขุคณมชฺเฌ
ดังนี้ก็มี. ความว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระยานาคชื่อ อตุละ มีฤทธา-
นุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ
7 เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะ
แด่พระทศพล ผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัย เยือกเย็นด้วยพระ-
กรุณา พร้อมทั้งบริวาร นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น ถวายมหาทาน
อันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ 7 วัน ได้ถวายตั่งทอง ขจิตด้วยรัตนะ 7 อันรุ่งเรือง
ด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น เวลาจบอนุโมทนา
ปีฐทานว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก
มีบุญ ทรงรัศมีโชติช่วง.
ครั้งนั้น เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ บรรเลง
ทิพดนตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ได้ถวายตั่งทอง อันขจิตด้วยรัตนะคือแก้วมณี
และแก้วมุกดา ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง แด่พระผู้
เป็นพระธรรมราชา.

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่
กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ เข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อว่า อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระ-
องค์ทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระ
ชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมา และพระอุบล-
วรรณาผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า อัสสัตถะ ฯ ล ฯ.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเสื่อม
ใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
10 ให้บริบูรณ์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺญวนฺโต แปลว่า ผู้มีบุญ อธิบายว่า
ผู้มีกองบุญอันสั่งสมไว้แล้ว. บทว่า ชุตินฺธฺโร ได้แก่ ประกอบด้วยรัศมี.
บทว่า เนกานํ นาคโกฏีนํ ก็คือ อเนกาหิ นาคโกฏีหิ พึงเห็นฉัฏฐี
วิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ. บทว่า ปริวาเรตฺวา ได้แก่ แวดล้อมพระผู้มี
พระภาคเจ้า. ทรงแสดงพระองค์ ด้วยคำว่า อหํ. บทว่า วชฺชนฺโต
ได้แก่ บรรเลงประโคม. บทว่า มณีมุตฺตรตนขจิตํ ความว่า ขจิตด้วย
รัตนะต่างชนิดมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า สพฺพาภรณวิภูสิตํ
ความว่าประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ที่สำเร็จด้วยรัตนะเช่น รูปสัตว์ร้ายเป็นต้น .
บทว่า สุวณฺณปีฐํ ได้แก่ ตั่งที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า อทาสหํ ตัด
บทเป็น อทาสึ อหํ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า พันธุมดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าพันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนาง
พันธุมดี
คู่พระอัครสาวก็ชื่อว่า พระขัณฑะ และ พระติสสะ พระพุทธ
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโสกะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระจันทา และ พระ
จันทมิตตา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี พระสรีระสูง 80 ศอก พระรัศมีแห่ง
พระสรีระแผ่ไป 7 โยชน์ทุกเวลา พระชนมายุแปดหมื่นปี พระอัครมเหสีของ
พระองค์ พระนามว่า พระนางสุตนู พระโอรสของพระองค์ พระนามว่า
พระสมวัฏฏขันธะ ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยรถเทียมม้า. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า