เมนู

คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม คิดแต่ว่า
พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง เราจะพบ
พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป
ลำดับนั้น บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า เขาว่า พระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธ
เจ้าแล้ว ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมมิคทายวัน กรุงพันธุมดี
ราชธานี โดยลำดับ. แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรด
บรรพชิตเหล่านั้น ครั้งนั้นธรรมภิสมัย ได้มีแก่ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็น
อภิสมัยครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
บุรุษแปดหมื่นสี่พัน บวชตามเสด็จพระวิปัสสี
สัมพุทธเจ้า พระผู้มีจักษุทรงแสดงธรรมโปรดบรรพ-
ชิตเหล่านั้นซึ่งมาถึงอาราม.
บรรพชิตแม้เหล่านั้น ฟังธรรมของพระองค์ ซึ่ง
ตรัสประทาน โดยอาการทั้งปวง ก็บรรลุธรรมอัน
ประเสริฐ อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่บรรพชิตเหล่า-
นั้น.


แก้อรรถ


ในคำว่า จตุราสีติสหสฺสานิ สมฺพุทฺธํ อนุปพฺพชุํ นี้ ในคาถา
นั้น พึงทราบว่า ท่านทำเป็นทุติยาวิภัตติว่า สมฺพุทฺธํ โดยประกอบนิคคหิต
ไว้ ความว่า บวชภายหลังพระสัมพุทธเจ้า พึงถือลักษณะตามศัพทศาสตร์
ปาฐะว่า ตตฺถ อารามปตฺตานํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ภาสโต แปลว่า ตรัสอยู่.
บทว่า อุปนิสาทิโน ความว่า ผู้เสด็จไปประทานธรรมทานถามอุปนิสสัย !
เตปิ ได้แก่ บรรพชิตนับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น เป็นผู้รับใช้พระวิปัสสี

สัมพุทธเจ้า. บทว่า คนฺตฺวา ได้แก่ รู้ธรรมของพระองค์. อภิสมัยครั้งที่ 3
ได้มีแก่บรรพชิตเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี
ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแสนแปดหมื่นหกพัน ซึ่งบวชตามพระวิปัสสีสัมพุทธ
เจ้า และพระอัครสาวก ณ เขมมิคทายวัน ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
น สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส ตีติกขาขันติว่า เป็น
ตบะอย่างยิ่ง ตรัสนิพพานว่าเป็นบรมธรรม ผู้ยังทำร้าย
ผู้อื่นหาเป็นบรรพชิตไม่ ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ หา
เป็นสมณะไม่.
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ.
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมใน
พระปาติโมกข์ [คำสอนที่เป็นหลักเป็นประธาน] ความรู้

จักประมาณในภัตตาหาร ที่นอนที่นั่งอันสงัด และ
การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พึงทราบว่า คาถาปาติโมกขุทเทศเหล่านี้ เป็นของพระพุทธเจ้าทุก
พระองค์ นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ 1 ต่อมาอีก สันนิบาตครั้งที่ 2
ได้มีแก่ภิกษุแสนหนึ่ง ซึ่งเห็นยมกปาฏิหาริย์แล้วบวช. ครั้งพระกนิษฐภาดา 3
พระองค์ต่างพระมารดา ของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ปราบปัจจันตประเทศให้สงบ
แล้วได้รับพระราชทานพร ด้วยการทำการบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า นำเสด็จมาสู่
พระนครของพระองค์บำรุง ทรงสดับธรรมของพระพุทธองค์แล้วทรงผนวช
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดล้านเหล่านั้น ทรงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เขมมิคทายวัน นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ 3 ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาต ประชุมพระสาวกผู้ขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ
คงที่ 3 ครั้ง.
การประชุม พระสาวกหกล้านแปดเเสน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 1 การประชุมพระสาวกหนึ่งแสนเป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2.
การประชุม พระภิกษุสาวกแปดหมื่น เป็นสัน-
นิบาต ครั้งที่ 3 พระสัมพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ ท่าม
กลางหมู่ภิกษุ ณ เขมมิคทายวันนั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐสฏฺฐิสตสหสฺสานํ ความว่า
ภิกษุหกล้านแปดแสน. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ณ เขมมิคทายวันนั้น. บทว่า
ภิกฺขุคณมชฺเฌ แปลว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุ. ปาฐะว่า ตสฺส ภิกฺขุคณมชฺเฌ
ดังนี้ก็มี. ความว่า ท่ามกลางหมู่ภิกษุนั้น.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระยานาคชื่อ อตุละ มีฤทธา-
นุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ
7 เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะ
แด่พระทศพล ผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัย เยือกเย็นด้วยพระ-
กรุณา พร้อมทั้งบริวาร นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น ถวายมหาทาน
อันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ 7 วัน ได้ถวายตั่งทอง ขจิตด้วยรัตนะ 7 อันรุ่งเรือง
ด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น เวลาจบอนุโมทนา
ปีฐทานว่า เก้าสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพญานาค ชื่ออตุละ มีฤทธิ์มาก
มีบุญ ทรงรัศมีโชติช่วง.
ครั้งนั้น เราแวดล้อมด้วยนาคหลายโกฏิ บรรเลง
ทิพดนตรี เข้าไปเฝ้าพระผู้เจริญที่สุดในโลก.
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ก็นิมนต์พระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ได้ถวายตั่งทอง อันขจิตด้วยรัตนะคือแก้วมณี
และแก้วมุกดา ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง แด่พระผู้
เป็นพระธรรมราชา.