เมนู

ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงเห็นพระราชโอรสกรุงยสวดีสองพระองค์
พระนามว่า พรหมเทวะ และ อุทยะ พร้อมด้วยบริวาร ถึงพร้อมด้วย
อุปนิสัยสมบัติเสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่ยสวดีมิคทายวัน โปรดให้พนักงาน
เฝ้าพระราชอุทยานเชิญพระราชโอรสมาแล้ว ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้เข้าใจ
ด้วยพระสุรเสียงดังพรหมไม่พร่าไพเราะซาบซึ้ง ประกาศพระธรรมจักรแก่
พระราชโอรสทั้งสองพระองค์นั้นกับทั้งบริวาร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 1
ได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสิทธัตถพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่า ติสสะ ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ มีพระ-
เดชไม่มีที่สุด มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้ เป็น
ผู้นำเลิศแห่งโลก.
พระมหาวีระผู้ประกอบด้วยความเอ็นดู ผู้มีจักษุ
ทรงกำจัดอนธการคือความมืด ยังโลกทั้งเทวโลกให้
สว่าง ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก.
พระวรฤทธิ์ของพระองค์ ก็ชั่งไม่ได้ ศีลและ
สมาธิก็ชั่งไม่ได้ ทรงบรรลุพระบารมีในธรรมทั้งปวง
ทรงให้พระธรรมจักรเป็นไปแล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระวาจา
อันสะอาด ให้สัตว์ร้อยโกฏิในหมื่นโลกธาตุตรัสรู้ธรรม
ในการแสดงธรรมครั้งที่ 1.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ถึงฝั่งในธรรมทั้ง
ปวง. บทว่า ทสสหสฺสิมฺหิ ก็คือ ทสสหสฺสิยํ ในหมื่นโลกธาตุ.

ภายหลังสมัยต่อมา ในสมัยที่พระมหาบุรุษทรงละการอยู่เป็นหมู่แล้ว
เสด็จเข้าไปยังโคนโพธิพฤกษ์ ภิกษุที่บวชกับพระติสสศาสดาจำนวนโกฏิหนึ่ง
ก็แยกไปเสียที่อื่นแล้ว ครั้นภิกษุโกฏิหนึ่งนั้น ทราบข่าวว่า พระติสสสัมมาสัม-
พุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร ก็พากันมาที่ยสวดีมิคทายวัน ถวายบังคม
พระทศพลแล้ว ก็นั่งล้อมพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโปรด
ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ต่อมาอีก
ในมหามงคลสมาคม ในเมื่อจบมงคล อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์หกสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
อภิสมัยครั้งที่ 2 การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่สัตว์
เก้าสิบโกฏิ อภิสมัยครั้งที่ 3 การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่
สัตว์หกสิบโกฏิ ในครั้งนั้น พระติสสพุทธเจ้า ทรง
เปลื้องสัตว์คือมนุษย์และเทวดาทั้งหลายจากเครื่องผูก.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุติโย นวุติโกฏินํ ความว่า อภิสมัย
ครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. บทว่า พนฺธนาโต ก็คือ พนฺธนโต
แปลว่า จากเครื่องผูก ความว่า ทรงเปลื้องจากสังโยชน์ 10. บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงถึงสัตว์ที่ทรงเปลื้อง โดยสรุป จึงตรัสว่า นรมรู. บทว่า นรมรู
ก็คือ นรามเร ได้แก่ มนุษย์และเทวดา.
ได้ยินว่า พระติสสพุทธเจ้าอันพระอรหันต์ที่บวชภายในพรรษา ใน
ยสวดีนครแวดล้อมแล้ว ทรงปวารณาพรรษาแล้ว นั้น เป็น สันนิบาตครั้ง
ที่ 1.
เมื่อพระโลกนาถพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง นาริวาหนนคร นาริ-
วาหนกุมาร
โอรสของ พระเจ้าสุชาตะ ผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย พร้อมด้วย