เมนู

เสด็จ เล่ากันว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร 10 เดือน กับบรรพชิต
เหล่านั้น ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาพราหมณ์ชื่อ สุเนตตา
ตำบลบ้านอสทิสพราหมณ์ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าพุทรา เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า 8 กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อวรุณะถวาย ทรงลาดสันถัตหญ้า
40 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงเปล่ง
พระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง
อยู่ 7 วัน ทรงเห็นภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์ เป็นผู้สามารถแทงตลอด
สัจจะ 4 จึงเสด็จโดยทางอากาศ ลงที่คยามิคทายวัน ทรงประกาศพระธรรม-
จักรแก่ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ. ด้วย
เหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น บรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะ
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน จึงทรงหลั่งฝน
คือธรรมให้ตกลง.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่มีผู้เทียบได้ พระ-
องค์นั้น ทรงมีอภิสมัย 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มี
แก่สัตว์แสนโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก. บทว่า
ธมฺมเมเฆน ได้แก่ เมฆฝน คือธรรมกถา ต่อมาอีก ทรงทำทิศทั้งสิบให้
เต็มด้วยพระสุรเสียงดังพรหม เสนาะดังเสียงนกการเวกร้อง สบายโสต

ไพเราะอย่างยิ่ง จับใจบัณฑิตชน เฉกเช่นอภิเษกด้วยน้ำอมฤต ทรงลั่นอมต-
ธรรมเภรี ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงลั่นกลอง
ธรรม ในภีมรถนคร อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์
เก้าสิบโกฏิ.

ครั้งพระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงแสดงพุทธวงศ์ในสมาคมพระญาติ
กรุงเวภาระ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัย
ครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น ทรง
แสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบ
โกฏิ.

พระราชาสองพี่น้องพระนาม สัมพละ และ สุมิตตะ ทรงครอง
ราชย์ ณ อมรนคร ซึ่งงามน่าดูดั่งนครแห่งเทพ ลำดับนั้น พระสิทธัตถ-
ศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระราชาสองพระองค์นั้น จึงเสด็จไปทาง
นภากาศลงท่านกลางอมรนคร ทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทเหมือนเหยียบ
พื้นแผ่นดิน ด้วยพระยุคลบาท ซึ่งมีฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วเสด็จ
ไปยังอมรราชอุทยาน ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา ที่เย็นด้วยพระกรุณาของ
พระองค์ อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง แต่นั้น พี่น้องสองพระราชา เห็นพระเจดีย์
คือรอยพระบาท ก็เสด็จไปตามรอยพระบาท เข้าเฝ้าพระสิทธัตถศาสดาผู้บรรลุ
ประโยชน์อย่างยิ่ง ถวายบังคมแล้วประทับนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่พระอัธยาศัยโปรดพระราชาสองพี่น้อง
นั้น สองพระองค์ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว เกิด

พระศรัทธา ทรงผนวชแล้วบรรลุพระอรหัตทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระขีณาสพร้อยโกฏินั้น นั้นเป็นสันนิบาตครั้ง
ที่ 1. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่านกลางบรรพชิตเก้าสิบโกฏิ ในสมาคม
พระญาติ กรุงเวภาระ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางบรรพชิตแปดสิบโกฏิ ที่ประชุมกัน ณ พระสุทัสสนวิหาร นั้น เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต ประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ 3 ครั้ง.
สถาน 3 เหล่านี้ คือ สันนิบาตพระสาวกร้อยโกฏิ
เก้าสิบโกฏิ แปดสิบโกฏิ เป็นสันนิบาตของพระสาวก
ขีณาสพผู้ไร้มลทิน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวุตีนํ อสีติยาปิ จ โกฏินํ ความว่า
มีสันนิบาตแห่งพระสาวกเก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิ. บทว่า เอเต อาสุํ
ตโย ฐานา
ความว่า มีสถานที่สันนิบาต 3 เหล่านั้น. ปาฐะว่า ฐานา-
เนตานิ ตีณิ อเหสุํ
ดังนี้ก็มี.
สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ชื่อว่ามังคละ กรุงสุรเสน
จบไตรเพทและเวทางคศาสตร์ บริจาคกองทรัพย์นับได้หลายโกฏิ เป็นผู้ยินดี
ในวิเวก บวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้เกิดอยู่ ทราบข่าวว่าพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ อุบัติขึ้นแล้วในโลกจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วฟัง
ธรรมกถาของพระองค์ แล้วเข้าไปยังต้นชมพู อันเป็นเครื่องหมายของชมพูทวีป
นี้ด้วยฤทธิ์ นำผลชมพูมาแล้วอาราธนาพระสิทธัตถศาสดาผู้มีภิกษุบริวารเก้าสิบ