เมนู

ในกาลที่พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่
มีผู้เทียบได้พระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร
อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมนฺธการํ ความว่า ได้แก่ อนธการ
คือโมหะ ที่ชื่อว่าตมะ.
ครั้งพระราชาพระนามว่า สัญชัย ในนครชื่อ ตคระ ทรงเห็นโทษ
ในกาม และคุณอันเกษมในเนกขัมมะ จึงทรงผนวชเป็นฤษี คนเก้าหมื่นโกฏิ
บวชตามเสด็จ ชนเหล่านั้น ได้อภิญญา 5 และสมาบัติ 8 หมดทุกคน ครั้ง
นั้น พระธัมมทัสสีศาสดาทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของชนเหล่านั้น จึงเสด็จไป
ทางอากาศ ถึงอาศรมบทของสัญชัยดาบสแล้ว ทรงยืนอยู่ในอากาศ ทรง
แสดงธรรมอันเหมาะแก่อัธยาศัยของดาบสเหล่านั้น ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดขึ้น
นั้นเป็นอภิสมัย ครั้งที่ 2. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัย-
ฤษี อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.

ครั้งท้าวสักกะจอมทวยเทพ ประสงค์จะฟังธรรมของพระทศพล จึง
เสด็จเข้าไปเฝ้า อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึง
ตรัสว่า
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเข้าเฝ้า พระผู้เป็น
นายกพิเศษ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.

ส่วนครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าทรงบวช พระปทุมกุมาร และพระ-
ปุสสเทวกุมาร พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดา พร้อมทั้งบริวารในกรุงสรณะ
ทรงทำสุทธิปวารณา ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิซึ่งบวชภายในพรรษานั้น นั้น

เป็นสันนิบาต ครั้งที่ 1 ต่อมาอีก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก
ภิกษุร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2 ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกาศคุณานิสงส์เเห่งธุดงค์ 13 ณ พระสุทัสสนาราม ทรงสถาปนาพระ-
มหาสาวก ชื่อ หาริตะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุแปดสิบโกฏิ นั้นเป็นสันนิบาต ครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสี ผู้เป็นเทพแห่งเทพ แม้พระองค์
นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้
มลทิน มีจิตสงบ คงที่ 3 ครั้ง.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าเจ้าจำพรรษา ณ กรุง
สรณะ ภิกษุสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 1.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกมา
สู่มนุษย์โลก ภิกษุสาวกร้อยโกฏิประชุมกัน เป็นสัน
นิบาตครั้งที่ 2.
ต่อมาอีก ครั้งพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงค-
คุณ ภิกษุสาวกแปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 3.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพ
ในเทวโลกทั้งสองแวดล้อมแล้ว เสด็จมาบูชาพระตถาคต ด้วยของทิพย์มีของ
หอมและดอกไม้เป็นต้น และด้วยทิพยดนตรี พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกปุรินททะ ได้บูชาด้วย
ของหอม ดอกไม้ และดนตรีทิพย์.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางเทวดา ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป 1,800 กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อ สรณะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุนันทา คู่พระ
อัครสาวกชื่อว่า พระปรุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า
สุเนตตะ1 คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระสัจจนามา โพธิ-
พฤกษ์ชื่อว่า พิมพิชาละ ต้นมะกล่ำเครือ พระสรีระสูง 80 ศอก พระชนมายุ
แสนปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิจิโกฬิเทวี พระโอรสพระนามว่า
พระปุญญวัฒนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระธัมมทัสสีศาสดา ทรงมีพระนครชื่อว่าสรณะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสรณะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุนันทา.
พระธัมมทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระปทุมะ และ พระปุสสเทวะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระสุเนตตะ.


1. บาลีเป็น ลุทัตตะ.

พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระเขมาและพระสัจจนามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นพิมพิชาละ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอพระองค์นั้น สูง 80 ศอก ทรงรุ่งโรจน์ด้วย
พระเดชในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนต้นพญา
สาลพฤกษ์ที่ออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนสายฟ้าใน
นภากาศ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.
พระผู้มีพระจักษุดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระ-
ชนมายุของพระผู้มีพระเดช ที่ไม่มีใครเทียบพระองค์
นั้น ก็เท่านั้น.
พระองค์ทั้งพระสาวก แสดงพระรัศมีทำพระ-
ศาสนาให้ไร้มลทินแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนดวงจันทร์
เคลื่อนจากต้องนภากาศ.


แก้อรรถ
ต้นมะกล่ำทอง ชื่อว่า ต้นพิมพิชาละในพระคาถานั้น. บทว่า
ทสสหสฺสิมฺหิ ธาตุยา ก็คือ ทสสหสฺสิยา โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ.
บทว่า วิชฺชูว ก็คือ วิชฺชุลตา วิย เหมือนสายฟ้า. บทว่า อุปโสภถ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น งดงามเหมือนสายฟ้าและเหมือนดวง
อาทิตย์งามเวลาเที่ยงวันฉะนั้น . บทว่า สมกํ ความว่า พระชนมายุของพระ-
องค์ ก็เท่า ๆ กับนรสัตว์ทั้งปวง. บทว่า จวิ แปลว่า เคลื่อนแล้ว. บทว่า

จนฺโทว ความว่า เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องฟ้า. ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าธัมมทัสสี ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเกสาราม กรุง
สาลวดี
คำที่เหลือในคาถาทุกแห่งชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

16. วงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ 16



ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า



[17] ต่อจาก สมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก ทรง
กำจัดความมืดทั้งปวง ก็เจิดจ้าเหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงบรรลุพระ-
สัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้าม
โอฆะ เมื่อยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน ก็ทรงหลั่ง
เมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชหาผู้เทียบไม่ได้พระ-
องค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้
มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก ครั้งทรงลั่นธรรมเภรี ณ นครภีมรถะ
อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมโปรด ณ กรุงเวภาระ อภิสมัยครั้งที่ 3
ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิต
สงบ คงที่ 3 ครั้ง.
สถาน 3 เหล่านี้คือ สันนิบาตประชุมพระสาวก