เมนู

พระอัตถทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่า
พระสันตะ และ พระอุปสันตะ พระพุทธอุปัฏฐาก
ชื่อว่า พระอภยะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระธัมมา และพระสุธัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า จัมปกะ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ สูง 80 ศอก งามเหมือนพญาสาลพฤกษ์
เต็มบริบูรณ์เหมือนพระจันทร์.
พระรัศมีตามปกติของพระองค์ มีหลายร้อยโกฏิ
แผ่ไปโยชน์หนึ่ง สิบทิศทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำทุกเมื่อ.
พระพุทธเจ้าเป็นผู้องอาจในนรชน เป็นมุนียอด
แห่งสรรพสัตว์ ผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่
ในโลกแสนปี.
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงแสดง
พระรัศมีที่ไม่มีอะไรเทียบ เจิดจ้าไปในโลกทั้งเทวโลก
ทรงถึงความเป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ ดับขันธปรินิพพาน
เพราะสิ้นอุปาทาน เหมือนดวงไฟดับ เพราะสิ้นเชื้อ
ฉะนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬุราชาว ปูริโต ความว่า เหมือน
ดวงจันทร์ราชาแห่งดวงดาว บริบูรณ์ไร้มลทินทั่วมณฑลในฤดูสารท. บทว่า

ปากติกา ความว่า เกิดขึ้นตามปกติ ไม่ใช่ตามอธิษฐาน เมื่อใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงประสงค์ เมื่อนั้น ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปในจักรวาลแม้หลาย
แสนโกฏิ. บทว่า รํสี แปลว่า พระรัศมีทั้งหลาย. บทว่า อุปาทาน-
สงฺขยา
ได้แก่ เพราะสิ้นอุปาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะสิ้นอุปาทาน 4 เหมือน
ไฟดับเพราะสิ้นเชื้อ พระธาตุทั้งหลายของพระองค์ เรี่ยรายไปด้วยพระอธิษฐาน.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

15. วงศ์พระธัมมทัสสีพุทธเจ้าที่ 15



ว่าด้วยพระประวัติของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า



[16] ในมัณฑกัปนั้นนั่นเอง พระธัมมทัสสี-
พุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงกำจัด
อนธการคือความมืดได้แล้ว ก็เจิดจ้าในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชไม่มีใคร
เทียบพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัย
ครั้งที่ 1 ก็ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ครั้งพระธัมนทัสสีพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัญชัยฤษี
อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัท เข้าเฝ้าพระผู้นำ
พิเศษ อภิสมัยครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิ.
พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพแห่งเทพ พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ 3 ครั้ง.
ครั้งพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า เข้าจำพรรษา ณ กรุง
สรณะ พระสาวกพันโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 1.