เมนู

13. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ 13



ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า



[14] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ก็มี
พระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศ
ใหญ่ ผู้นำโลก ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ แม้
พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้ แม้
พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1
ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทัฏฐิของท้าวเธอ ก็ได้แสดง
ธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ ก็เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารภีฝึกคน ทรงฝึกพระยาช้าง
โทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระปิยทัสสีพระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรง
มีสันนิบาตประชุมพระสาวก 3 ครั้ง พระสาวกแสน
โกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 1.
พระมุนี พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อม
กัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2 พระสาวกแปดหมื่นโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ชื่อว่า กัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระองค์ เกิดความเลื่อมใส ได้
สร้างสังฆาราม ด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจ
ยึดสรณะและศีล 5 ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป 1,800 กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุง
กบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียรทำทุกกร-
กิริยา.
พระตถาคตประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขา
จัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศทรงประทักษิณโพธิมัณฑ-
สถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ
อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนาง
มายา พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่านผู้
นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระ-
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้า
พระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา. พระ
โคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ 100 ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของ
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดศาสนา ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจักข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระนครชื่อว่าสุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางสุจันทา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปีมีปราสาท
3 หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และคิริคูหา มีพระสนม
นารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นหนึ่งพันนาง พระอัคร
มเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา พระโอรสพระนามว่า
กัญจนาเวฬะ.

พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออก
อธิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ ทรงบำเพ็ญเพียร 6 เดือน.
พระมหาวีระปิยทัสสีมหามุนี ผู้สงบ อันท้าว
มหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ อุสภราชอุทยาน ที่น่ารื่นรมย์ใจ.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระ
ปาลิตะ และพระสีพพทัสสี พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมม-
ทินนา โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่า กกุธะ ต้นกุ่ม.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สันทกะ และธัมมิกะ อัคร-
อุปัฏฐายิกาชื่อว่า วิสาขาและธัมมทินนา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้
มีพระมหาปุริสลักษณะ 32 พระองค์นั้น สูง 80 ศอก
เห็นกันชัดเหมือนพระยาสาลพฤกษ์.
รัศมีแสงของดวงไฟ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หามีเหมือนพระรัศมีของพระปิยทัสสี ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี แม้
พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งเทพก็มีพระชนมายุเท่านั้น.

พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ก็ดี คู่พระสาวกที่ไม่มีผู้เปรียบได้
เหล่านั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง
ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระปิยทัสสีวรมุนี เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ
พระวิหารอัสสัตถาราม ชินสถูปของพระองค์ ณ พระ-
วิหารนั้น สูง 3 โยชน์แล.
จบวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ 13

พรรณนา วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ 13



ต่อมาจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง ในที่สุดแห่งหนึ่งพัน
แปดร้อยกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิด 3 พระองค์ คือ พระปิยทัสสี
พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี ใน 3 พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิใน
พระครรภ์ของ พระนางจันทาเทวี ผู้มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์ อัคร-
มเหสีของพระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุธัญญวดี ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติออก
จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วรุณราชอุทยาน ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีทรงเฉลิมพระนามว่า ปิยทัสสี เพราะเห็นปาฏิหาริย์วิเศษอันเป็น
ที่รักของโลก พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท 3
หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และ คิริพรหา ปรากฏพระสนมนารีสานหมื่นสาม
พันนาง มี พระนางวิมลามหาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า กัญจนเวฬะ ของพระนางวิมลาเทวีประสูติ
แล้ว พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต 4 แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย
รถเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษอันชน
โกฏิหนึ่งนั้น แวดล้อมแล้วพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญเพียร 6 เดือน ในวันวิสาข-
บูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาของ วสภพราหมณ์ บ้านวรุณ-
พราหมณ์
ถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน ทรงรับหญ้า 8 กำที่
สุชาตะอาชีวก ถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อว่า กกุธะ ต้นกุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง 53 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ แทงตลอดพระสัพพัญ-
ณุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นแล้ว ทรงยับยั้ง ณ