เมนู

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วย
ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺญา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์
บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปตฺติโก แปลว่า
มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก บทว่า
อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ. บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่. บทว่า พฺรหา
ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ. บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดด
ไม่มีเพื่อน. บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว. บทว่า ตโต สาขา
ปภิชฺชติ
ได้แก่ กิ่ง 5 แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น. ปาฐะว่า ตโต
สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูก
เป็นห้าเส้นอย่างดี. กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า
โมรหัตถะ.
บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น
ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม. บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วย
กิ่งไม่มีช่อง. บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงา
ทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง. บทว่า ปญฺญาสรตโน อาสิ ได้แก่ 50 ศอก.
บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย

โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า ประกอบพร้อมด้วยความประเสริฐโดยการพร้อม
สรรพ. บทว่า สพฺพคุณมุปาคโต เป็นเพียงไวพจน์ของบทหน้า.
บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ เว้นจากประมาณ หรือชื่อว่า ไม่มีประ-
มาณ เพราะไม่อาจจะนับได้. บทว่า อตุลิโย แปลว่า ชั่งไม่ได้. อธิบายว่า
ไม่มีใครเหมือน. บทว่า โอปมิเมหิ ได้แก่ ข้อที่พึงเปรียบ. บทว่า
อนูปโม ได้แก่ เว้นการเปรียบ อธิบายว่า อุปมาไม่ได้ เพราะไม่อาจกล่าว
อุปมาว่า เหมือนผู้นี้ ผู้นี้. บทว่า คุณานิ จ ตานิ ก็คือ คุณา จ เต ความว่า
พระคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส
คำที่เหลือทุกแห่ง ความง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุชาตพุทธเจ้า

13. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ 13



ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า



[14] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ก็มี
พระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศ
ใหญ่ ผู้นำโลก ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ แม้
พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้ แม้
พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1
ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทัฏฐิของท้าวเธอ ก็ได้แสดง
ธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ ก็เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารภีฝึกคน ทรงฝึกพระยาช้าง
โทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.