เมนู

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้
เสมอพระองค์นั้น ด้วยพระคุณเหล่านั้นที่ชั่งไม่ได้ด้วย
ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า
แน่แท้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉิทฺโท แปลว่า มีรูเล็ก พึงเห็น
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อนุทรา กญฺญา หญิงสาวท้องเล็ก อาจารย์
บางพวกกล่าว ฉิทฺทํ โหติ ปริตฺตกํ ดังนี้ก็มี. บทว่า ปตฺติโก แปลว่า
มีใบมาก. อธิบายว่า ปกคลุมด้วยใบทั้งหลาย มีสีเหมือนแก้วผลึก บทว่า
อุชุ ได้แก่ ไม่คด ไม่งอ. บทว่า วํโส แปลว่า ไม้ไผ่. บทว่า พฺรหา
ได้แก่ ใหญ่โดยรอบ. บทว่า เอกกฺขนฺโธ ความว่า งอกขึ้นลำเดียวโดด
ไม่มีเพื่อน. บทว่า ปวฑฺฒิตฺวา แปลว่า เติบโตแล้ว. บทว่า ตโต สาขา
ปภิชฺชติ
ได้แก่ กิ่ง 5 แฉก แตกออกจากยอดไผ่ต้นนั้น. ปาฐะว่า ตโต
สาขา ปภิชฺชถ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุพทฺโธ ได้แก่ ที่เขาผูกโดยอาการผูก
เป็นห้าเส้นอย่างดี. กำแววหางนกยูง ที่เขาทำผูกเพื่อป้องกันแดด เรียกว่า
โมรหัตถะ.
บทว่า น ตสฺส กณฺฏกา โหนฺติ ความว่า ไผ่ต้นนั้น เป็นต้น
ไม้มีหนามตามธรรมดา ก็ไม่มีหนาม. บทว่า อวิรโฬ ได้แก่ ปกคลุมด้วย
กิ่งไม่มีช่อง. บทว่า สนฺทจฺฉาโย ได้แก่ มีร่มเงาทึบ ท่านกล่าวว่ามีร่มเงา
ทึบ ก็เพราะไม่มีช่อง. บทว่า ปญฺญาสรตโน อาสิ ได้แก่ 50 ศอก.
บทว่า สพฺพาการวรูเปโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยความประเสริฐทั้งหลาย