เมนู

ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติลํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 8 ทรงรับอาราธนา
แสดงธรรมของท้าวมหาพรหม ทรงตรวจดูภัพพบุคคล ทรงเห็น สรณกุมาร
และสัพพกามีกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์ และภิกษุที่บวชกับพระ-
องค์ร้อยโกฏิ เป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมคือ สัจจะ 4 จึงเสด็จทางอากาศ
ทรงลงที่สุทัสสนะราชอุทยาน ใกล้กรุงสุทัสสนะ โปรดให้พนักงานเฝ้าพระราช
อุทยาน เรียกพระกนิษฐภาดามาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ท่ามกลาง
บริวารเหล่านั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัย
ครั้งที่ 1 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า มีพระพุทธ-
เจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำ ผู้ที่เข้าเฝ้ายาก มีพระเดช
ยิ่ง เป็นพระมุนี สูงสุดแห่งโลกทั้งปวง.
พระองค์มีพระเนตรผ่องใส พระพักตร์งามพระ
วรกายใหญ่ ตรง สดใส ทรงแสวงประโยชน์แก่
สรรพสัตว์ ทรงเปลื้องสัตว์เป็นอันมาก จากเครื่องผูก.
ครั้งพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันสูง
สุดสิ้นเชิง ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงสุทัสสนะ.
อภิสมัยในการทรงแสดงธรรมแม้ของพระองค์ก็
มี 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคเตโช ได้แก่ มีพระเดชสูง. บทว่า
ปสนฺนเนตฺโต ได้แก่ มีพระนัยนาใสสนิท พระเนตรใสเหมือนก้อนแก้วมณี ที่

เขาชำระขัดวางไว้ เพราะฉะนั้นพระองค์เขาจึงเรียกว่า ผู้มีพระเนตรใส อธิบาย
ว่ามีพระนัยนาประกอบด้วย ขนตาอันอ่อนน่ารักเขียวไร้มลทิน และละเอียด จะ
กล่าวว่า สุปฺปสนฺนปญฺจนยโน มีพระจักษุ 5 ผ่องใสดี ดังนี้ก็ควร. บทว่า
สุมุโข ได้แก่ มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์เต็มดวงในฤดูสารท. บทว่า
พฺรหา ได้แก่ พรหาคือใหญ่ เพราะทรงมีพระสรีระขนาด 88 ศอก อธิบาย
ว่า ขนาดพระสรีระไม่ทั่วไปกับคนอื่นๆ. บทว่า อุชุ ได้แก่ มีพระองค์ตรง
เหมือนพรหม คือมีพระสรีระสูงตรงขึ้นนั่นเอง อธิบายว่ามีพระวรกายเสมือน
เสาระเนียดทอง ที่เขายกขึ้นกลางเทพนคร. บทว่า ปตาปวา ได้มี
พระสรีระรุ่งเรือง. บทว่า หิเตสี แปลว่า แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า
อภิสมยา ตีณิ ก็คือ อภิสมยา ตโย อภิสมัย 3 ทำเป็นลิงควิปลาส.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติตอนย่ำรุ่ง ออกจาก
สมาบัตินั้นแล้ว ทรงตรวจดูโลก ก็เห็นยักษ์กินคน ชื่อ กุมภกรรณ
มีอานุภาพเสมือนกุมภกรรณ ปรากฏเรือนร่างร้ายอยู่ปากดงใหญ่ คอยดักตัด
การสัญจรทางเข้าดงอยู่ แต่ลำพังพระองค์ไม่มีสหาย เสด็จเข้าไปยังภพ
ของยักษ์ตนนั้น เข้าไปข้างใน ประทับนั่งบนที่ไสยาสน์อันมีสิริ ลำดับนั้น
ยักษ์ตนนั้น ทนการลบหลู่ไม่ได้ ก็กริ้วโกรธเหมือนงูมีพิษร้ายแรง ถูกตีด้วย
ไม้ ประสงค์จะขู่พระทศพลให้กลัวจึงทำอัตภาพของตนให้ร้ายกาจ ทำศีรษะ
เหมือนภูเขาเนรมิตดวงตาทั้งสองเหมือนดวงอาทิตย์ ทำเขี้ยวคมยาวใหญ่อย่าง
กับหัวคันไถ มีท้องเขียวใหญ่ยาน มีแขนอย่างกะลำต้นตาลมีจมูกแบนวิกลและ
คด มีปากแดงใหญ่อย่างกะปล่องภูเขา มีเส้นผมใหญ่เหลืองและหยาบ มีแวว
ตาน่ากลัวยิ่ง มายืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ บังหวน
ควัน บันดาลเพลิงลุกโชน บันดาลฝน 9 อย่าง คือ ฝนแผ่นหิน ภูเขา เปลว

ไฟ น้ำ ตม เถ้า อาวุธ ถ่านเพลิงและฝนทรายให้ตกลงมา ไม่อาจให้พระผู้มี
พระภาคเจ้าขับเขยื้อนแม้เท่าปลายขน คิดว่า จำเราจักถามปัญหาแล้วฆ่าเสีย
แล้วถามปัญหาเหมือนอาฬวกยักษ์ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำยักษ์ตน
นั้นเข้าสู่วินัยด้วยทรงพยากรณ์ปัญหา. เขาว่า วันที่ 2 จากวันนั้นพวกมนุษย์
ชาวแคว้น นำเอาราชกุมารพร้อมด้วยภัตตาหารที่บรรทุกมาเต็มเกวียน มอบ
ให้ยักษ์ตนนั้น ครั้งนั้น ยักษ์ได้ถวายพระราชกุมารแด่พระพุทธเจ้า พวก
มนุษย์ที่อยู่ประตูดงก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น ในสมาคมนั้น พระ-
ทศพลเมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่ใจของยักษ์ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิด
แก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ นั้นเป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
วันรุ่งขึ้น พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงทรมาน
ยักษ์กุมภกรรณ อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.

ครั้งที่ทรงประกาศสัจจะ 4 ณ สิรินันทราช อุทยาน อุปการีนคร
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อมาอีก พระผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ ก็ทรง
ประกาศสัจจะ 4 อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปด
หมื่นโกฏิ.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุเมธะ ก็ทรงมีสาวกสันนิบาต 3 ครั้ง ใน
สันนิบาตครั้งที่ 1 ณ กรุงสุทัสสนะ มีพระขีณาสพร้อยโกฏิ ในสันนิบาต
ครั้งที่ 2 เมื่อพวกภิกษุกรานกฐิน ณ ภูเขาเทวกูฏ มีพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ
ในสันนิบาตครั้งที่ 3 เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก มีพระอรหันต์แปด
สิบโกฏิ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีสันนิ-
บาตประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่
3 ครั้ง.
ครั้งพระชินพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปยังกรุงสุทัสสนะ
ภิกษุขีณาสพร้อยโกฏิประชุมกัน.
ต่อมา ครั้งภิกษุทั้งหลายช่วยกันกรานกฐิน ณ
ภูเขาเทวกูฎ พระขีณาสพเก้าสิบโกฏิประชุมกัน เป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2.
ต่อมา ครั้งพระทศพลเสด็จจาริกไป พระขีณาสพ
แปดสิบโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นมาณพที่เป็นยอดของคนทั้งปวง ชื่อ
อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝังเก็บไว้ ถวายมหาทานแด่พระสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธานฟังธรรมของพระทศพลในครั้งนั้น ก็ตั้งอยู่ในสรณะ
แล้วออกบวช พระศาสดาแม้พระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนาโภชนทาน ก็
ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่ออุตตระ เราสั่งสม
ทรัพย์ไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ.
เราถวายทรัพย์ทั้งหมดสิ้น แด่พระผู้นำโลก
พร้อมทั้งพระสงฆ์ ถึงพระองค์เป็นสรณะ และเรา
ชอบใจการบวชอย่างยิ่ง.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อ
ล่วงไปสามหมื่นกัป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.

พึงทำคาถาพยากรณ์ให้พิศดาร
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อม
ใสจึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี
10 ให้บริบูรณ์.
เราเล่าเรียนพระสูตรพระวินัย และนวังคสัตถุ-
ศาสน์ทุกอย่าง ยังศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งาม.
เราไม่ประมาทในพระศาสนานั้น. อยู่แต่ในอิริ-
ยาบถ นั่ง ยืน และเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญา เข้าถึง
พรหมโลก.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิจิตํ ได้แก่ เก็บไว้โดยการฝัง.
บทว่า เกวลํ แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพํ ได้แก่ ให้ไม่เหลือเลย. บทว่า
สสงฺเฆ ก็คือ พร้อมกับพระสงฆ์. บทว่า ตสฺสูปคญฺฉึ ก็คือ ตํ อุปคญฺฉึ
ฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า อภิโรจยึ ได้แก่ บวช. บทว่า
ตึสกปฺปสหสฺสมฺหิ ความว่า เมื่อสามหมื่นกัปล่วงแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะทรงมีพระนครชื่อว่าสุทัสสนะ พระชนก
พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนี พระนามว่า พระนางสุทัตตา คู่