เมนู

พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระจักษุ ขอ
พระองค์ทรงเป็นสรณะ.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเอ็นดู มีพระกรุณา
แสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ก็ทรงยังเดียรถีย์ที่
ประชุมกันทั้งหมดให้ตั้งอยู่ในศีล.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่อากูล
อย่างนี้ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลาย งดงามด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญ ผู้คงที่.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยาหตา ได้แก่ ผู้มีความถือตัวและความ
กระด้างถูกขจัดแล้ว ในคำว่า ติตฺถิยา นี้ พึงทราบว่าติตถะ พึงทราบว่าติตถกระ
พึงทราบว่าติตถิยะ. ใน 3 อรรถนั้น ชื่อว่า ติตถะ เพราะคนทั้งหลายข้ามไป
ด้วยอำนาจทิฏฐิมีสัสสตะทิฏฐิเป็นต้น ได้แก่ ลัทธิ. ผู้ยังลัทธินั้นให้เกิดขึ้น
ชื่อว่า ติตถกระ ผู้มีในลัทธิ ชื่อว่า ติตถิยะ. พึงทราบว่าที่ตรัสว่า พวก
เดียรถีย์ ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างเสียแล้วเป็นต้น ก็เพื่อแสดงว่า เขา
ว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระไม่มีเดียรถีย์ ถึงเดียรถีย์เหล่าใด ยังมี
เดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็เป็นเช่นนี้. บทว่า วิมนา ได้แก่ มีใจผิดแผกไป.
บทว่า ทุมฺมนา เป็นไวพจน์ของคำว่า วิมนา นั้นนั่นแหละ. บทว่า
น เตสํ เกจิ ปริจรนฺติ ความว่า บุรุษแม้บางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ทำการนวดฟั้น ไม่ให้ภิกษาหาร ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่
บูชา ไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่ทำอัญชลีกรรม. บทว่า รฏฺฐโต ได้แก่ แม้

จากรัฐทั่วไป. บทว่า นิจฺฉุภนฺติ ได้แก่ นำออกไป รุกราน อธิบายว่า
ไม่ให้ที่อยู่แก่เดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า เต ได้แก่ เดียรถีย์ทั้งหลาย.
บทว่า อุปคญฺฉุํ พุทฺธสนฺติเก ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์ แม้
ทั้งหมด ที่ถูกพวกมนุษย์ชาวแว่นแคว้นรุกราน อย่างนี้ มาประชุมแล้วก็ถึง
พระปทุมุตตรทศพลพระองค์เดียวเป็นสรณะ พากันกล่าวถึงสรณะอย่างนี้ว่า ขอ
พระองค์โปรดทรงเป็นศาสดา เป็นนาถะ เป็นคติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า เป็น
สรณะของพวกข้าพระองค์เถิด. ชื่อว่า อนุกัมปกะ เพราะทรงเอ็นดู. ชื่อว่า
การุณิกะ เพราะทรงประพฤติด้วยความกรุณา. บทว่า สมฺปตฺเต ได้แก่ พวก
เดียรถีย์ที่มาประชุมเข้าถึงสรณะ. บทว่า ปญฺจสีเล ปติฏฺฐหิ ความว่า ให้
ตั้งอยู่ในศีล 5. บทว่า นิรากุลํ ได้แก่ ไม่อากูล อธิบายว่า ไม่ปะปนด้วย
ลัทธิอื่น. บทว่า สุญฺญกํ ได้แก่ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า ตํ
พึงเติมคำลงไปว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. บทว่า วิจิตฺตํ
ได้แก่ งามวิจิตร. บทว่า วสีภูเตหิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า หังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุชาดาเทวี. คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระเทวิละ และพระสุชาตะ พระพุทธ
อุปัฏฐาก ชื่อ พระสุมนะ คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละ ช้างน้าว. พระสรีระสูง 58 ศอก พระรัศมีของ
พระองค์แผ่ไปกินเนื้อที่ 12 โยชน์ โดยรอบ พระชนมายุแสนปี พระอัครมเหสี
พระนามว่า พระนางวสุทัตตา พระโอรสพระนามว่า อุตตระ เล่ากันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
อันเป็นที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง. ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจาย

ทั่วไป พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป ชุมนุมกันช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วย
รัตนะ 7 ประการสูง 12 โยชน์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมุตตรศาสดา มีพระนคร ชื่อว่า หังสวดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนี
พระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มี
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา โพธิ-
พฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อต้นสลละ
(ต้นช้างน้าว).
พระมหามุนีสูง 58 ศอก พระลักษณะอันประ-
เสริฐ 32 เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปรอบๆ 12 โยชน์
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือภูเขา
ก็กั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมุตตระ
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ตัดความสงสัยทุกอย่างแล้ว ก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ
ฉะนั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคสิลุจฺจยา ได้แก่ กองศิลากล่าวคือ
ภูเขา. บทว่า อาวรณํ ได้แก่ ปกปิด ทำไว้ภายนอก. บทว่า ทฺวาทสโย-
ชเน
ความว่า พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า แผ่ไปในที่
12 โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน. ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่ง
ความชัดแล้วทั้งนั้นแล.
ตั้งแต่นี้ไป เราจักย่อความที่มาแล้วซ้ำซากมีการบำเพ็ญบารมีเป็นต้น
จะกล่าวแต่ความที่แปลกกันเท่านั้น ก็หากว่า เราจะกล่าวซ้ำซากความที่กล่าว
มาแล้วเมื่อไร จักจบ การพรรณนามีอย่างนี้แล.
จบพรรณาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า