เมนู

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
สงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็อธิษฐาน
ข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อ
บำเพ็ญบารมี 10 ให้บริบูรณ์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพุทฺธปฺปมุขํ สงฺฆํ ก็คือ พุทฺธปฺ-
ปมุขสฺส สงฺฆสฺส
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทุติยาวิภัตติ
ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. บทว่า สภตฺตํ ทุสฺสมทาสหํ ความว่า เราได้
ถวายภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร. บทว่า อุคฺคทฬฺหํ แปลว่า มั่นคงยิ่ง. บทว่า
ธิตึ ความว่า ได้ทำความเพียร.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมุตตระ ไม่มีพวกเดียรถีย์ เทวดาและ
มนุษย์ทุกคนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นสรณะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ ผู้มีใจผัดปกติ มีใจเสีย
ถูกกำจัดมานะหมด บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ยอมบำรุงบำเรอ ก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้น ออกไป
จากแว่นแคว้น.
ทุกคนมาประชุมกันในที่นั้น ก็เข้าไปที่สำนัก
ของพระพุทธเจ้า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอ

พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระจักษุ ขอ
พระองค์ทรงเป็นสรณะ.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเอ็นดู มีพระกรุณา
แสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ก็ทรงยังเดียรถีย์ที่
ประชุมกันทั้งหมดให้ตั้งอยู่ในศีล.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่อากูล
อย่างนี้ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลาย งดงามด้วยพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญ ผู้คงที่.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยาหตา ได้แก่ ผู้มีความถือตัวและความ
กระด้างถูกขจัดแล้ว ในคำว่า ติตฺถิยา นี้ พึงทราบว่าติตถะ พึงทราบว่าติตถกระ
พึงทราบว่าติตถิยะ. ใน 3 อรรถนั้น ชื่อว่า ติตถะ เพราะคนทั้งหลายข้ามไป
ด้วยอำนาจทิฏฐิมีสัสสตะทิฏฐิเป็นต้น ได้แก่ ลัทธิ. ผู้ยังลัทธินั้นให้เกิดขึ้น
ชื่อว่า ติตถกระ ผู้มีในลัทธิ ชื่อว่า ติตถิยะ. พึงทราบว่าที่ตรัสว่า พวก
เดียรถีย์ ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างเสียแล้วเป็นต้น ก็เพื่อแสดงว่า เขา
ว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระไม่มีเดียรถีย์ ถึงเดียรถีย์เหล่าใด ยังมี
เดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็เป็นเช่นนี้. บทว่า วิมนา ได้แก่ มีใจผิดแผกไป.
บทว่า ทุมฺมนา เป็นไวพจน์ของคำว่า วิมนา นั้นนั่นแหละ. บทว่า
น เตสํ เกจิ ปริจรนฺติ ความว่า บุรุษแม้บางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ทำการนวดฟั้น ไม่ให้ภิกษาหาร ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่
บูชา ไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่ทำอัญชลีกรรม. บทว่า รฏฺฐโต ได้แก่ แม้