เมนู

ต่อจากสมัยของพระนารทพุทธเจ้า พระสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
พระชินะผู้ไม่หวั่นไหว เปรียบดังสาครที่ไม่กระเพื่อม
ฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าได้อุบัติในกัปใด กัปนั้นเป็นมัณฑ-
กัป หมู่ชนผู้สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาครูปโม ได้แก่ มีภาวะลึกล้ำเสมือน
สาคร. ในคำว่า มณฺฑกปฺโป วา โส อาสิ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2
พระองค์อุบัติในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป.
จริงอยู่

กัปมี 2

คือ สุญญกัป และอสุญญกัป บรรดากัปทั้งสอง
นั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่อุบัติใน
สุญญกัป เพราะฉะนั้นกัปนั้น จึงเรียกว่า สุญญกัป เพราะว่างเปล่าจากบุคคล
ผู้ที่คุณ.
อสุญญกัปนี้ 5 คือ สารกัป มัณฑกัป วรกัป สารมัณฑกัป
ภัททกัป.

ในอสุญญกัปนั้นกัปที่ประกอบด้วยสาระคือคุณ เรียกว่า สารกัป เพราะ
ปรากฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียว. ผู้กำเนิดคุณสาร ยังคุณสาร
ให้เกิด
ส่วนในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป.
ในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ บรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง 3
พระองค์นั้น พระองค์ที่ 1 พยากรณ์พระองค์ที่ 2 พระองค์ที่ 2 พยากรณ์
พระองค์ที่ 3. ในกัปนั้น มนุษย์ทั้งหลาย มีใจเบิกบาน ย่อมเลือก โดยปณิธานที่
คนปรารถนา เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า วรกัป.

ส่วนในกัปเกิดพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑ-
กัป
เพราะประเสริฐกว่า มีสาระกว่า กัปก่อน ๆ
ในกัปใดเกิดพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า ภัททกัป.
ก็ภัททกัปนั้น หาได้ยากยิ่ง. ก็กัปนั้น โดยมาก สัตว์ทั้งหลาย เป็น
ผู้มากด้วยกัลยาณสุข. โดยมาก ติเหตุกสัตว์ย่อมทำความสิ้นกิเลส ทุเหตุกสัตว์
ย่อมถึงสุคติ. อเหตุกสัตว์ ก็ได้เหตุ. เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า
ภัททกัป. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อสุญญกัปมี 5 เป็นต้น. สมจริง
ดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
เอโก พุทฺโธ สารกปฺเป มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป ตโต นตฺถาธิกา ชินา.
ในสารกัป มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ ในมัณฑ-
กัป มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ ในวรกัป มีพระ
พุทธเจ้า 3 พระองค์ ในสารมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า
4 พระองค์ ในภัททกัป มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
พระพุทธเจ้ามากกว่านั้นไม่มี
ดังนี้.
ส่วนในกัปใด พระปทุมุตตรทศพลอุบัติ กัปนั้นแม้เป็นสารกัป ท่าน
ก็เรียกว่ามัณฑกัป เพราะเป็นเช่นเดียวกับมัณฑกัป ด้วยคุณสมบัติ. วาศัพท์
พึงเห็นว่า ลงในอรรถอุปมา. บทว่า อุสฺสนฺนกุสลา ได้แก่ ผู้สั่งสมบุญไว้.
บทว่า ชนตา ได้แก่ ชุมชน
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ. ผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงยับยั้ง ณ โพธิ-
บัลลังก์ 7 วัน ทรงย่างพระบาทเบื้องขวา ด้วยหมายพระหฤทัยว่า จะวาง
พระบาทลงที่แผ่นดิน. ลำดับนั้น ดอกบัวบกทั้งหลายมีเกสรและช่อละเอียดไร้

มลทิน มีใบดังเกิดในน้ำไม่หม่นหมองไม่บกพร่องแต่บริบูรณ์ ชำแรกแผ่นดินผุด
ขึ้นมา บัวบกเหล่านั้นมีใบชิดกัน 90 ศอก เกสร 30 ศอก ช่อ 12 ศอก เรณูของ
ดอกแต่ละดอกขนาดหม้อใหม่ ส่วนพระศาสดาสูง 58 ศอก ระหว่างพระพาหาสอง
ข้างของพระองค์ 18 ศอก พระนลาต 5 ศอก พระหัตถ์และพระบาท 11 ศอก.
พอพระองค์ทรงเหยียบช่อ 12 ศอก ด้วยพระบาท 11 ศอก เรณูขนาดหม้อ
ใหม่ ก็ฟุ้งขึ้นกลบพระสรีระ 58 ศอก แล้วกลับท่วมทับ ทำให้เป็นเหมือน
ฝุ่นมโนศิลาป่นเป็นจุณ. หมายเอาข้อนั้น พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีรสังยุตต-
นิกายจึงกล่าวว่า พระศาสดาปรากฏในโลกว่า พระปทุมุตตระ ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม ทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นดังภาชนะ
รองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เทวละ และ
สุชาตะ กรุงมิถิลา ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ทันใดก็เสด็จโดยทางอากาศ ลงที่พระ
ราชอุทยานกรุงมิถิลา
ใช้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานให้เรียกพระราชกุมาร
ทั้งสองพระองค์มาแล้ว ทั้งสองพระองค์นั้น ทรงดำริว่า พระปทุมุตตรกุมาร
โอรสของพระเจ้าอาของเรา ทรงผนวช. ทรงบรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณ
เสด็จถึงนครของเรา จำเราจักเข้าไปเฝ้าพระองค์พร้อมด้วยบริวาร ก็เข้าเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ นั่งแวดล้อม. ครั้งนั้น พระทศพล อันพระราชกุมาร
และบริวารเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงรุ่งโรจน์ดุจจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวด
ล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่
1 ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในการแสดงธรรมครั้งที่ 1 ของพระผู้มีพระภาค
เจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.

สมัยต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมหาชนให้ร้อน ด้วยความร้อน
ในนรก ทรงแสดงธรรมในสมาคมของสรทดาบส ทรงยังหมู่สัตว์นับได้สาม
ล้านเจ็ดแสน ให้ดื่มอมตธรรม ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากนั้น เมื่อทรงหลั่งฝนธรรม ให้สัตว์ทั้ง
หลายเอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์สามล้าน
เจ็ดแสน.

ก็ครั้ง พระเจ้าอานันทมหาราช ปรากฏพระองค์ในกรุงมิถิลา ใน
สำนักของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยบุรุษ [ทหาร] สองหมื่น
และอมาตย์ยี่สิบคน. พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ทรงให้ชนเหล่านั้นบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทุกคน อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว เสด็จไปทำการ
สงเคราะห์พระชนก ประทับอยู่ ณ กรุงหังสวดี ราชธานี ในที่นั้น พระองค์
เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ในท้องนภากาศ ตรัสพุทธวงศ์เหมือนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าของเรา ในกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์
ห้าล้าน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระมหาวีระ เข้าไปโปรดพระเจ้าอานันทะ
เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรีแล้ว ทรงหลั่งฝนคือ ธรรม
อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อานนฺทํ อุปสงฺกมิ ตรัสหมายถึง
พระเจ้าอานันทะ พระชนก. บทว่า อาหนิ แปลว่า ลั่น (ตี). บทว่า อาหเต
ก็คือ อาหตาย ทรงลั่นแล้ว. บทว่า อมตเภริมฺหิ ก็คือ อมตเภริยา เมื่อ