เมนู

10. วงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ 10



ว่าด้วยพระประวัติของปทุมุตตรพุทธเจ้า



[11] ต่อจาก สมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่ง
สัตว์สองเท้า พระชินะผู้ไม่กระเพื่อม เปรียบดังสาคร.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในกัปใด กัปนั้น ชื่อว่า
มัณฑกัป หมู่ชนที่สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
ในการแสดงธรรมครั้งที่ 1 ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แม้ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ยังสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่
สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน.
ครั้งพระมหาวีระ เข้าเฝ้าพระเจ้าอานันทะ เสด็จ
เข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรี ทรงหลั่งฝนคือธรรม อภิสมัย
ครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.
พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ทรงโอวาทให้
สัตว์รู้ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงยังหมู่
ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.

พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีสันนิบาตประชุม
สาวก 3 ครั้ง สาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 1.
ครั้งพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอ จำพรรษา ณ เวภารบรรพต สาวกเก้าหมื่นโกฏิ
ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2.
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก ผู้ออกจากคาม
นิคมและรัฐ บวชเป็นสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐชื่อ ชฎิล ได้ถวาย
ภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า แด่พระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้า
เป็นประธาน.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลาง
สงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า ในแสนกัป
นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาล-
นิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จไปยัง
แม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัด
แต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง
มายา พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ท่าน
ผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น พระ-
พุทธอุปัฏฐากชื่อพระอานันทะจักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระเขมา และ พระอุบล-
วรรณา ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา. พระ
โคดมผู้มีพระยศ พระองค์จักมีพระชนมายุ 100 ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้ม
ใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบ
มือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า.

ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเรา ก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสแม้ของพระองค์แล้วอธิษฐานข้อ
วัตรยิ่งยวดขึ้นไป ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อ
บำเพ็ญบารมี 10 ให้บริบูรณ์.
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ทั้งหมด มีใจผิดปกติ ใจ
เสีย ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างแล้ว บุรุษบาง
พวกของเดียรถีย์เหล่านั้น ไม่ยอมบำรุงบำเรอก็ขับไล่
เดียรถีย์เหล่านั้นออกไปจากรัฐ.
พวกเดียรถีย์ทั้งหมดประชุมกันในที่นั้น เข้าไป
ที่สำนักของพระพุทธเจ้า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหา-
วีระขอพระองค์โปรดเป็นสรณะ ด้วยเถิด.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เอ็นดู มีพระกรุณา
แสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ทรงตั้งเดียรถีย์ที่ประ-
ชุมกันทั้งหมด ไว้ในศีล 5.

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่
วุ่นวายอย่างนี้ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลายงดงามด้วย
พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญคงที่.
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีพระนครชื่อหังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนีพระ-
นามว่า พระนางสุชาดา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี ทรงมีปรา-
สาทชั้นเยี่ยม 3 หลัง ชื่อ นารี พาหนะ ยสวดี.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม จำนวนสี่หมื่น
สามพันนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวสุล-
ทัตตา พระโอรสพระนามว่า พระอุตตระ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงตั้งความเพียร 7 วัน.
พระมหาวีระ ปทุมุตตระ ผู้นำพิเศษ ผู้สงบ อัน
ท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม
ณ พระราชอุทยาน มิถิลาอันสูงสุด.
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า
พระเทวิละ และพระสุชาตะ พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระสุมนะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์เรียกว่า ต้นสลละต้นช้างน้าว.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า อมิตะ และติสสะ อัครอุปัฏ-
ฐายิกาชื่อว่า หัตถา และ สุจิตตา.

พระมหามุนี สูง 58 ศอก พระลักษณะประ-
เสริฐ 32 ประการ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป 12 โยชน์ โดย
รอบ ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลาคือ
ภูเขา ปิดกั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมุตตร-
พุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
แล้ว ตัดความสงสัยทุกอย่าง ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้ว ก็ดับไปฉะนั้น.
พระปทุมุตตรชินพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระ-
วิหารนันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์
ณ ที่นั้น สูง 12 โยชน์.

จบวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ 9

พรรณนาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ 10



พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าเป็นไปได้เก้าหมื่นปี ก็อันตรธาน.
กัปนั้นก็พินาศไป ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติในโลก ตลอด
อสงไขยแห่งกัปทั้งหลาย. ว่างพระพุทธเจ้า มีแสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า.
แต่นั้น เมื่อกัปและอสงไขยทั้งหลายล่วงไป ๆ ในกัปหนึ่ง ที่สุดแสนกัปนับแต่
กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพิชิตมาร ปลงภาระ มีพระเมรุเป็น
สาระ ไม่มีสังสารวัฏ มีสัตว์เป็นสาระ ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง พระนาม
ว่า ปทุมุตตระ ก็อุบัติขึ้นในโลก. แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระนางสุชาดาเทวี ผู้เกิดในสกุลที่มีชื่อเสียง อัครมเหสีของ พระเจ้า-
อานันทะ ผู้ทำความบันเทิงจิตแก่ชนทั้งปวง กรุงหังสวดี. พระนาง-
สุชาดาเทวี
นั้น อันทวยเทพอารักขาแล้ว ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติ
พระปทุมุตตรกุมาร ณ พระราชอุทยานหังสวดี. ในสมัยปฏิสนธิ และสมภพ
ก็มีปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง.
ดังได้สดับมา ในสมัยพระราชกุมารพระองค์นั้น ทรงสมภพ ฝนดอก
ปทุมก็ตกลงมา. ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามพระกุมาร พระประยูรญาติ
ทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า ปทุมุตตรกุมาร. พระกุมารพระองค์นั้นทรง
ครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี. พระองค์มีปราสาท 3 หลังเหมาะแก่ฤดูทั้งสาม ชื่อ
นรวาหนะ ยสวาหนะ และ วสวัตดี มีพระสนมนารีแสนสองหมื่นนาง มี
พระนางวสุทัตตาเทวี เป็นประมุข เมื่อ พระอุตตรกุมาร ผู้ยอดเยี่ยม
ด้วยพระคุณทุกอย่าง พระโอรสของพระนางวสุทัตตาเทวีทรงสมภพแล้ว