เมนู

พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของ
พระองค์แผ่ไปทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ แผ่ไปโยชน์หนึ่งทั้ง
กลางวันกลางคืน ไม่มีระหว่างทุกเมื่อ.
สมัยนั้น ชนบางพวกจุดคบเพลิง และตาม
ประทีปให้ติดสว่าง ในที่รอบ ๆ โยชน์หนึ่งไม่ได้ เพราะ
พระพุทธรัศมีครอบงำไว้เสีย.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระนารท-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ข้ามโอฆสงสาร.
ท้องฟ้างามไพจิตร ด้วยดวงดาวทั้งหลายฉันใด
ศาสนาของพระองค์ก็งามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระนราสภพระองค์นั้น ทรงทำสะพานคือธรรม
เพื่อยังผู้ปฏิบัติที่เหลือให้ข้ามกระแสสังสารวัฎ แล้ว
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีผู้
เสมอ พระองค์นั้นก็ดี พระขีณาสพทั้งหลาย ผู้มีเดช
ที่ชั่งไม่ได้เหล่านั้นก็ดี ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร
ทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่ ผู้มี
รูปงามเหมือนรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทองที่วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ. บทว่า

ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุเจิดจ้ารุ่งเรือง ด้วยพระรัศมี
ของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความข้อนั้นนั่นแล จึงตรัส
ว่า พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไปทั้งทิศน้อยทิศ
ใหญ่. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยามปฺปกา กายา ได้แก่ เหมือน
พระรัศมีวาหนึ่ง เหตุนั้นจึงชื่อว่า พฺยามปฺปภา อธิบายว่า เหมือนพระรัศมี
วาหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา.
อักษรในคำว่า น เกจิ นี้ เป็นปฏิเสธัตถะ [ความปฏิเสธ] พึง
เห็นการเชื่อมความของ น อักษรนั้น กับศัพท์ว่า อุชฺชาเลนฺติ. บทว่า อุกฺกา
ได้แก่ ประทีปมีด้าม. ชนบางพวกไม่ยังคบเพลิงหรือดวงประทีปให้ติดโพลง
ไม่ให้ลุกโพลงได้. ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุไร. ก็ตอบได้ว่า เพราะแสงสว่าง
ของพระรัศมีแห่งพระพุทธสรีระ. บทว่า พุทฺธรํสีหิ แปลว่า พระพุทธรัศมี
ทั้งหลาย. บทว่า โอตฺถฏา ได้แก่ ทับไว้.
บทว่า อุฬูหิ แปลว่า ดวงดาวทั้งหลาย ความว่า ท้องฟ้างามวิจิตร
ด้วยดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็งดงามวิจิตรด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า สํสารโสตํ
ตรณาย
ได้แก่ เพื่อข้ามสาครคือสังสารวัฏ. บทว่า เสสเก ปฏิปนฺนเก
ความว่า ยังเสกขบุคคลที่เหลือกับกัลยาณปุถุชน เว้นพระอรหันต์ทั้งหลาย.
บทว่า ธมฺมเสตุํ ได้แก่ สะพานคือมรรค. ความว่า ทรงตั้งสะพานธรรม
เพื่อยังบุคคลที่เหลือให้ข้ามจากสังสารวัฎ ทรงทำกิจทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็ปริ-
นิพพาน. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะกล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง แล.
จบพรรณนาวงศ์พระนารทพุทธเจ้า

10. วงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ 10



ว่าด้วยพระประวัติของปทุมุตตรพุทธเจ้า



[11] ต่อจาก สมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่ง
สัตว์สองเท้า พระชินะผู้ไม่กระเพื่อม เปรียบดังสาคร.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในกัปใด กัปนั้น ชื่อว่า
มัณฑกัป หมู่ชนที่สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
ในการแสดงธรรมครั้งที่ 1 ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
แม้ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรม
ยังสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ 2 ก็ได้มีแก่
สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน.
ครั้งพระมหาวีระ เข้าเฝ้าพระเจ้าอานันทะ เสด็จ
เข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรี ทรงหลั่งฝนคือธรรม อภิสมัย
ครั้งที่ 3 ก็ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.
พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ทรงโอวาทให้
สัตว์รู้ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงยังหมู่
ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.