เมนู

ครั้งเวโรจนนาค ถวายทานแด่พระศาสดา ภิกษุ
ชินบุตร แปดล้านก็ประชุมกัน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสีติสตสหสฺสิโย แปลว่า แปดล้าน.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราบวชเป็นฤาษี เป็นผู้ชำนาญในอภิญญา
5 และสมาบัติ 8 สร้างอาศรมอาศัยอยู่ข้างภูเขาหิมพานต์ ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้านารทะ อันพระอรหันต์แปดสิบโกฏิและอุบาสกผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิ-
ผล หนึ่งหมื่นแวดล้อม เสด็จไปยังอาศรมนั้น เพื่ออนุเคราะห์ฤาษีนั้น. ดาบส
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็ปลื้มใจ สร้างอาศรมเพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวาร ประกาศพระคุณของพระศาสดาสิ้นทั้งคืน
ฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า วันรุ่งขึ้น ก็ไปอุตตรกุรุทวีป นำอาหาร
มาจากที่นั้น ได้ถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งบริวาร ถวายมหาทาน
อย่างนี้ 7 วัน นำจันทน์แดงที่หาค่ามิได้มาจากป่าหิมพานต์บูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าด้วยจันทน์แดงนั้น. ครั้งนั้น พระทศพลอันเทวดาและมนุษย์แวดล้อม
แล้ว ตรัสธรรมกถาแล้วทรงพยากรณ์ว่า ผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า
โคตมะ ในอนาคตกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นชฎิลมีตบะสูง ถึงฝั่งอภิญญา 5
ท่องเที่ยวไปในอากาศได้.
แม้ครั้งนั้น เราเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ พร้อมทั้งพระสงฆ์ ทั้ง
บริวารชน ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำแล้วบูชาด้วย
จันทน์แดง.

แม้ครั้งนั้น พระนารทพุทธเจ้าผู้นำโลกพระองค์
นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่
หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งร่าเริงใจ
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี 10 ให้
บริบูรณ์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตทาปาหํ ตัดบทว่า ตทาปิ อหํ.
บทว่า อสมสมํ ความว่า อดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า ไม่มีผู้เสมอ, ผู้
เสมอ คือวัดได้ด้วยอดีตพระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอ. อีกนัยหนึ่ง ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอ. สาธุ-
ชนผู้เสมอ ผู้ปราศจากผู้เสมอหามิได้. บรรดาผู้เสมอด้วยท่านผู้ไม่มีผู้เสมอเหล่า
นั้น ผู้เสมอ เมื่อควรจะกล่าวว่า อสมสมสโม ผู้เสมอเสมอกับท่านผู้ไม่มี
ผู้เสมอ พึงทราบว่า ท่านกล่าวลบ สมศัพท์เสียศัพท์หนึ่ง. ความว่า ผู้เสมอ
ด้วยผู้ไม่มีผู้เสมอ คือผู้ปราศจากผู้เสมอ. บทว่า สปริชฺชนํ ได้แก่ ทั้งชน
ผู้เป็นอุบาสก. ปาฐะว่า โสปิ มํ ตทา นรมรูนํ มชฺเฌ มชฺเฌ พฺยากาสิ จกฺขุมา
ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้น มีความง่ายเหมือนกัน. บทว่า ภุยโย หาเสตฺว มานสํ
ได้แก่ ยังหัวใจให้ร่าเริง ให้ยินดียิ่งขึ้นไป. บทว่า อธิฏฺฐหํ วตํ อุคฺคํ
ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตรสูงขึ้น. ปาฐะว่า อุตฺตรึ วตมธิฏฐาสึ ทสปารมิ-
ปูริยา
ดังนี้ก็มี.