เมนู

พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มีพระอัคร
สาวก ชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระพุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก
ว่าต้นมหาโสณะ.
พระมหามุนี ทรงสูง 58 ศอก พระรัศมีของ
พระองค์ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
แสงมณี แสงเหล่านั้น พอถึงพระรัศมีของพระชิน-
พุทธเจ้าอันสูงสุด ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระปทุมพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรง
ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงพระสาวก ยังสัตว์ทั้งหลายที่ใจอัน
กุศลอบรมให้แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ ไม่เหลือเลย ส่วนที่
เหลือ ก็ทรงพร่ำสอนแล้วเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทั้งปวง เหมือนงูละคราบ
เก่า เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตนคฺคิมณิปฺปภา ได้แก่ แสงรัตนะ
แสงไฟ และ แสงแก้วมณี. บทว่า หตา ได้แก่ ถูกครองงำ. บทว่า ชิน-

ปภุตฺตมํ ความว่า ถึงพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระชินพุทธเจ้าที่รุ่งเรืองยิ่ง
ก็ถูกกำจัด. บทว่า ปริปกฺกมานเส ได้แก่ เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า.
บทว่า วฑฺฒปตฺตํ แปลว่า ใบเก่า. บทว่า ปาทโปว ก็คือ ปาทโป วิย
เหมือนต้นไม้. บทว่า สพฺพสงฺขาเร ได้แก่ สังขารภายในภายนอกทุกอย่าง.
ปาฐะว่า หิตฺวา สพฺพสงฺขารํ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า
ยถา สิขี ความว่า เสด็จถึงอย่างดีซึ่งความดับเหมือนไฟไม่มีเชื้อ. คำที่เหลือ
ในที่นี้ ก็ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง ในคาถาทั้งหลายแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้า

9. วงศ์พระนารทพุทธเจ้าที่ 9



ว่าด้วยพระประวัติของพระนารทพุทธเจ้า



[10] ต่อจากสมัยของพระปทุมพุทธเจ้า พระ-
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า นารทะ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์
สองเท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เปรียบ.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระเชษฐโอรส
ที่น่าเอ็นดูของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสวมอาภรณ์มณี
เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน.
ในพระราชอุทยานนั้น มีต้นไม้ใหญ่ไพศาลงาม
สะอาดสะอ้าน ถึงต้นไม้นั้นแล้ว ประทับนั่งภายใต้
ต้นมหาโสณะ [ต้นอ้อยช่างใหญ่].
ณ ที่นั้น ญาณอันประเสริฐ ไม่มีที่สุด คมดุจ
วชิระ ก็เกิด ทรงพิจารณา ความเกิด ความดับแห่ง
สังขารทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.
ณ ที่นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายไม่เหลือเลย
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ และพระพุทธญาณ 14 สิ้น
เชิง.
ครั้น ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ก็ทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.