เมนู

ฟังธรรมของพระองค์ก็เลื่อมใส พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา. ครั้งนั้น
พระองค์อันภิกษุสองแสนแวดล้อมแล้วก็ทรงปวารณาพรรษา นั้นเป็นสันนิบาต
ครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาต 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการประชุมภิกษุแสน
โกฏิ.
ในสมัยกรานกฐิน เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ภิกษุ
ทั้งหลายเย็บจีวร เพื่อพระธรรมเสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ไร่มลทิน มีอภิญญา 6
มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิประชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้า
จำพรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้นเป็นการประชุมภิกษุ
สองแสนโกฏิ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฐินตฺถารสมเย ได้แก่ ในสมัย
กรานกฐินจีวร. บทว่า ธมฺมเสนาปติตฺถาย ได้แก่ เพื่อพระสาลเถระ
พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อปราชิตา ได้แก่ น ปราชิตา อันใคร ๆ
ให้แพ้ไม่ได้. พึงเห็นว่า ลบวิภัตติ. บทว่า โส ได้แก่ พระปทุมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. บทว่า ปวเน แปลว่า ป่าใหญ่. บทว่า วาสํ ได้แก่ อยู่
จำพรรษา. บทว่า อุปาคมิ แปลว่า เข้า. บทว่า ทฺวินฺนํ สตสหสฺสินํ
แปลว่า สองแสน. ปาฐะว่า ตทา อาสิ สมาคโม ดังนี้ก็มี. ผิว่า มีได้
ก็ดี.

ครั้งนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ ไพรสณฑ์นั้น พระโพธิสัตว์
ของเราเป็นราชสีห์ เห็นพระองค์ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ 7 วัน ก็มี
จิตเลื่อมใส ทำประทักษิณ เกิดปีติโสมนัส บันลือสีหนาท 3 ครั้ง ไม่ละปีติ
ที่มีพุทธคุณเป็นอารมณ์ 7 วัน ด้วยปีติสุขนั่นแล ก็ไม่ออกหาเหยื่อ ยอม
สละชีวิต ยืนอยู่ใกล้ ๆ. ครั้งนั้น ล่วงไป 7 วัน พระศาสดาก็ออกจากนิโรธ
สมาบัติ ผู้เป็นสีหะในนรชน ทรงตรวจดูราชสีห์ ทรงพระดำริว่า ขอราชสีห์
นั้น จงมีจิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์ ขอสงฆ์จงมา ภิกษุหลายโกฏิก็พากันมา
ทันทีทันใด ราชสีห์ก็ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสงฆ์. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง
ตรวจดูจิตของราชสีห์นั้น ก็ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ราชสีห์ตัวนี้ จัก
เป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้ามฤค ได้เห็นพระ-
ชินพุทธเจ้า ผู้เพิ่มพูนความสงัดอยู่ในป่าใหญ่.
เราใช้เศียรเกล้าบังคมพระบาท ทำประทักษิณ
พระองค์ บันลือสีหนาท 3 ครั้ง เฝ้าพระชินพุทธเจ้า
7 วัน.
7 วัน พระตถาคตก็ทรงออกจากนิโรธ ทรง
ดำริด้วยพระหฤทัย นำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระพระองค์นั้น ก็ทรง
พยากรณ์เราท่ามกลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จักเป็นพระ-
พุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้
บริบูรณ์.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกมนุพฺรูหนฺตํ ได้แก่ ทรงเข้า
นิโรธสมาบัติ. บทว่า ปทกฺขิณํ ได้แก่ ทำประทักษิณ 3 ครั้ง. บทว่า
อภินาทิตฺวา ได้แก่ บันลือสีหนาท 3 ครั้ง. บทว่า อุปฏฺฐหํ แปลว่า
บำรุง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่
ออกจากนิโรธสมาบัติ. บทว่า มนสา จินฺตยิตฺวาน ความว่า ทรงพระดำริ
ทางพระหฤทัยว่า ภิกษุทั้งหมดจงมาที่นี้. บทว่า สมานยิ แปลว่า นำมา
แล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมะ พระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่า
จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ พระชนนีพระนามว่า พระ-
นางอสมา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ. พุทธ-
อุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณะ คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธา และพระ
สุราธา. โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นมหาโสณะ อ้อยช้างใหญ่. พระสรีระ
สูง 58 ศอก พระชนมายุแสนปี. พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีพระรูปเป็นต้น พระโอรสของพระองค์น่ารื่นรมย์ยิ่ง พระ-
นามว่า พระรัมมกุมาร. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมพุทธเจ้าผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร
ชื่อว่าจัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอสมะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.