เมนู

ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง 38 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐาน
ความเพียรมีองค์ 4 ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงทำให้แจ้งวิชชา 3 ในยาม
ทั้ง 3 ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม ทรง
ตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิ
ซึ่งบวชกับพระองค์ ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น. ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม เป็นยอดของสัตว์สอง
เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ
ก็ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้
ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มี
พระเดชที่ชั่งไม่ได้ อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่อง
ลอยความมืดอย่างใหญ่ มี 3 ครั้ง.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมํ สีลํ ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีล
ของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก
ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้. ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็น