เมนู

8. วงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ 8



ว่าด้วยพระประวัติของพระปทุมพุทธเจ้า



[9] ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
พระปทุมสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดของสัตว์สองเท้า ผู้ไม่
มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ ก็
ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐก็นับไม่ได้ ทั้ง
วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
อภิสมัย อันลอยเสียซึ่งความมืดใหญ่ของพระ-
องค์ผู้มีพระเดชอันชั่งไม่ได้ ในการประกาศพระธรรม
จักรมี 3 ครั้ง.
อภิสมัยครั้งที่ 1 พระพุทธเจ้าทรงยังสัตว์ร้อย
โกฏิให้ตรัสรู้ อภิสมัยครั้งที่ 2 พระจอมปราชญ์ทรง
ยังสัตว์เก้าสิบโกฏิให้ตรัสรู้.
ครั้งพระปทุมพุทธเจ้า ทรงโอวาทพระโอรสของ
พระองค์เอง อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์แปดสิบ
โกฏิ.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวก 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการ
ประชุมสาวกแสนโกฏิ.

เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้น ในสมัยกรานกฐิน ภิกษุ
ทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวร เพื่อพระสาลเถระพระธรรม
เสนาบดี.
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไร้มลทิน มีอภิญญา 6
มีฤทธิ์มาก ไม่แพ้ใคร จำนวนสามแสนโกฏิ ก็ประ-
ชุมกัน.
ต่อมาอีก พระนราสภพระองค์นั้น เสด็จเข้าจำ
พรรษา ณ ป่าใหญ่ ครั้งนั้น เป็นการประชุมพระสาวก
สองแสนโกฏิ.
สมัยนั้น เราเป็นราชสีห์เจ้าแห่งมฤค ได้เห็น
พระชินพุทธเจ้า ซึ่งกำลังเพิ่มพูนความสงัด ในป่า
ใหญ่.
เราใช่เศียรเกล้าถวายบังคมพระบาท ทำประทัก-
ษิณพระองค์ บันลือสีหนาท 3 ครั้ง บำรุงพระชิน
พุทธเจ้า 7 วัน.
7 วัน พระตถาคตทรงออกจากนิโรธสมาบัติ
ทรงพระดำริด้วยพระหฤทัย ก็ทรงนำภิกษุมานับโกฏิ.
แม้ครั้งนั้น พระมหาวีระก็ทรงพยากรณ์เราท่าน
กลางภิกษุเหล่านั้นว่า ผู้นี้จัดเป็นพระพุทธเจ้าในกัป
ที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.

ตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำ
เนรัญชรา.
พระชินพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จไปตามทางอันดีที่จัด
แต่งแล้ว เข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ก็ทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์
ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้นี้จักมี
พระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะ และพระ-
อุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุง
พระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระ-
อุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ
ตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกว่าต้นอัสสัตถะ อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และ
หัตถะอาฬวกะ.

อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ 100 ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ
พระปทุมพุทธเจ้า ที่ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอน ของพระโลก-
นาถพระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้า
ของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีใหญ่
บริบูรณ์.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมี
พระนครชื่อว่า จัมปกะ พระชนกพระนามว่า พระเจ้า
อสมะ พระชนนีพระนามว่า พระนางอสมา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี มีปราสาทชั้น
เยี่ยม 3 หลัง ชื่อ นันทะ วสุ และ ยสัตตระ.

มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามหมื่นสามพัน
นาง มีพระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางอุตตรา
พระโอรสพระนามว่า รัมมะ.
พระชินพุทธเจ้าทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออกอภิ-
เนษกรมณ์ ด้วยยานคือรถ ทรงตั้งความเพียร 8 เดือน
เต็ม.
พระมหาวีระ ปทุมพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรม
จักร ณ ธนัญชัยราชอุทยาน อันสูงสุด.
พระปทุมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระ
อัครสาวชื่อว่า พระสาละ และ พระอุปสาละ พระ
พุทธอุปัฏฐา ชื่อว่า พระวรุณะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระราชา และพระสุราธา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า
ต้นมหาโสณะ (ไม้อ้อยช้างใหญ่).
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สภิยะ และ อสมะ มีอัคร-
อุปัฏฐายิกา ชื่อว่า รุจิ และ นันทิมารา.
พระมหามุนีสูง 58 ศอก พระรัศมีของพระองค์
ไม่มีอะไรเสมอ แล่นออกไปทุกทิศ.
แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ แสงรัตนะ แสงไฟ
และแสงมณี เหล่านั้นพอถึงรัศมีพระชินเจ้าอันสูงสุด
ก็ถูกกำจัดไปสิ้น.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี พระองค์ทรงมี
พระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก
ให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระปทุมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทั้งพระสาวก ยัง
เวไนยสัตว์ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วให้ตรัสรู้ไม่เหลือ
เลย ส่วนที่เหลือ ก็ทรงพร่ำสอน แล้วก็ดับขันธ-
ปรินิพพาน.
พระองค์ทรงละสังขารทุกอย่าง เหมือนงูลอก
คราบ เหมือนต้นไม้สลัดใบเก่า แล้วก็ดับขันธ-
ปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ ฉะนั้น.
พระปทุมศาสดา พระชินะผู้ประเสริฐ ดับขันธ-
ปรินิพพาน ณ พระวิหาร ธัมมาราม พระบรมสารี-
ริกธาตุ ก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ณ ประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ 8

พรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ 8



ต่อจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ
แสนปีแล้วลดลงโดยลำดับจนมีอายุ 10 ปี แล้วเพิ่มขึ้นโดยลำดับอีก จนมี
อายุแสนปี. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่า ปทุม ทรงอุบัติขึ้นในโลก. แม้
พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจาก
นั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอสมา ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอด้วย
พระรูปเป็นต้น อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอสมราช กรุงจัมปกะ.
ครบกำหนดทศมาแล้ว พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ
จัมปกะราชอุทยาน. เมื่อพระกุมารสมภพ ฝนปทุมหล่นจากอากาศตกลงที่ท้าย
มหาสมุทรทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น ในวันขนานพระนามพระกุมารนั้น
พวกโหรและเหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามว่า มหาปทุมกุมาร
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาท 3 หลัง ชื่อว่านันทุตตระ
วสุตตระ และยสุตตระ. ปรากฏ พระสนมนารีสามหมื่นสานพันนาง มีพระนาง
อุตตราเทวีเป็นประมุข.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อ รัมมราชกุมาร ของพระนางอุตตรา
มหาเทวีสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า
บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น พระมหาสัตว์อัน
บุรุษเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่ง นางธัญญวดี ธิดาของ สุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี
ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ มหาสาลวัน เวลาเย็นทรงรับหญ้า 8 กำ
ซึ่ง ติตถกะอาชีวก ถวาย แล้วเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นมหาโสณะ