เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสนฺเต ได้แก่ ทรงหลั่งธารน้ำ คือ
ธรรมกถา. บทว่า ตปฺปยนฺเต ได้แก่ ให้เขาอิ่มด้วยน้ำฝน คืออมตธรรม.
อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเขาให้อิ่ม.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ทรงมีสาวกสันนิบาต 3 ครั้ง. ใน 3
ครั้งนั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระอรหันต์แปดแสน ซึ่งเลื่อมใส
ในธรรมที่ทรงแสดงโปรด พระเจ้าอิสิทัตตะ ณ กรุงโสเรยยะ แล้วบวช
ด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในเมื่อทรงแสดงธรรมโปรด พระสุนทรินธระ
กรุงราธวดี นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลาง
พระอรหันต์หกแสน ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา พร้อมกับ พระเจ้าโสเรยยะ
กรุงโสเรยยะ
อีก นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระ-
องค์นั้น ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระอรหันต์ผู้ ถึง
กำลังแห่งอภิญญาผู้บานแล้วด้วยวิมุตติ.
ครั้งนั้น ประชุมพระอรหันต์แปดแสน ผู้ละ-
ความเมาและโมหะ มีจิตสงบ คงที่.
ครั้งที่ 2 ประชุมพระอรหันต์เจ็ดแสน ผู้ไม่มี
กิเลส ปราศจากกิเลสดังธุลี ผู้สงบคงที่.
ครั้งที่ 3 ประชุมพระอรหันต์หกแสน ผู้ถึงกำลัง-
แห่งอภิญญา ผู้เย็น ผู้มีตบะ.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสาปิ จ มเหสิโน ได้แก่ แม้พระ
อโนมทัสสีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น. ปาฐะว่า ตสฺสาปิ

ทฺวิปทุตฺตโม ดังนี้ก็มี. ความว่าพระผู้เป็นเลิศกว่าสัตว์สองเท่า พระองค์
นั้น. พึงถือเอาลักษณะโดยอรรถแห่งศัพท์. บทว่า อภิญฺญาพลปฺปตฺตานํ
ได้แก่ ผู้ถึงกำลังแห่งอภิญญาทั้งหลาย อธิบายว่า ถึงความมั่นคงในอภิญญา
ทั้งหลาย โดยความพินิจอย่างฉับพลัน เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญ. บทว่า
ปุปฺผิตานํ ได้แก่ ถึงความงามอย่างเหลือเกิน เพราะบานสะพรั่งเต็มหมด.
บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ด้วยอรหัตผลวิมุตติ.
ในบทว่า อนงฺคณานํ นี้ อังคณศัพท์นี้ บางแห่งใช้ในกิเลสทั้ง
หลาย เช่น ตตฺถ กตมานิ ตีณิ องฺคณานิ. ราโค องฺคณํ โทโส
องฺคณํ โมโห องฺคณํ
ในข้อนั้น

อังคณะมี 3

คือ อังคณะคือราคะ
อังคณะคือโทสะ อังคณะคือโมหะ และเช่น ปาปกานํ โข เอตํ อาวุโส
อกุสลานํ อิจฺฉาวจรานํ อธิวจนํ ยทิทํ องฺคณํ
ผู้มีอายุ คำคือ
อังคณะ เป็นชื่อของอกุศลบาปธรรม ส่วนที่มีความอยากเป็นที่หน่วงเหนี่ยว
บางแห่งใช้ในมลทินบางอย่าง เช่น ตสฺเสว รชสฺส วา องฺคณสฺส วา
ปหานาย วายมติ
พยายามเพื่อละกิเลสธุลี หรือมลทินนั้นนั่นแล. บางแห่ง
ใช้ในภูมิภาคเห็นปานนั้น เช่น เจติยงฺคณํ ลานพระเจดีย์, โพธิยงฺคณํ
ลานโพธิ, ราชงฺคเณ พระลานหลวง ส่วนในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในกิเลสทั้ง
หลาย เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า วิรชานํ เป็นไวพจน์
ของคำว่า อนงฺคณานํ นั้นนั่นแหละ. บทว่า ตปสฺสินํ ความว่า ตบะ
กล่าวคืออริยมรรค อันทำความสิ้นกิเลสของภิกษุเหล่าใดมีอยู่ ภิกษุเหล่านั้น
ชื่อว่าตปัสสี ผู้มีตบะ. ภิกษุผู้มีตบะเหล่านั้นคือพระขีณาสพ.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็น เสนาบดียักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
มีฤทธานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์หลายแสนโกฏิ. พระโพธิสัตว์นั้น สดับ